ในปี 2539 พระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุย่าง 69 ชันษาอันเป็นวัยที่คนส่วนใหญ่ต้องเกษียณอายุ
เป็นวัยที่ควรพักผ่อนหรือหันหน้าเข้าวัด หากเป็นข้าราชการก็ถือว่าได้ปลดเกษียณมาเก้าปีแล้ว ถ้าเป็นกษัตริย์ก็น่าจะวางมือประทับสบายๆในหอพระเกียรติยศ แต่ หนังสือพระมหาชนก ฉบับพระราชนิพนธ์กลับสะท้อนพระราชประสงค์ว่าพระราชกรณียกิจของพระองค์ ยังไม่เสร็จสิ้น
ปลายปี 2539 เศรษฐกิจไทยเริ่มทรุดฮวบ เงินทุนสำรองของประเทศ 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯหรือกว่าหนึ่งล้านล้านบาทได้ลดต่ำลงมาก ต้องลอยตัวค่าเงินบาทในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 วันแรกจาก 25 บาทลงไปเป็น 32 บาทต่อดอลลาร์ และอ่อนค่าที่สุดเมื่อเดือนมกราคม 2541 ลงไปถึง 56 บาทต่อดอลลาร์ ทำให้ธุรกิจต้องล้มกันระเนระนาด โดยเฉพาะคนที่กู้เงินดอลลาร์มาดอลลาร์ละ 25 บาท แต่ใช้หนี้ดอลลาร์ละ 56 บาท คนทั้งประเทศรวมทั้งวังอยู่ในอาการช็อคเมื่อเศรษฐกิจพังพาบในปีถัดมา ธนาคารขาดสภาพคล่องไม่มีเงินให้กู้ บริษัทนับพันแห่งล้มละลาย เกิด พิษต้มยำกุ้ง ระบาดไปทั่วโลก
สะท้อนถึงการบริหารงานที่ผิดพลาดเเละการใช้เส้นสายที่ทุจริตฉ้อฉลมาหลายปี
โดยไม่สนใจคำเตือนจากนักเศรษฐศาสตร์และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ มีทั้งนักการเมือง ข้าราชการระดับสูงและนายธนาคารที่ได้ใช้ระบบการเงินเพื่อประโยชน์แก่ตนเองและพวกพ้อง รวมถึงพวกเจ้า ข้าราชการในวังและธุรกิจของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เครือซีเมนต์ไทยกู้เงินต่างประเทศเกือบ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือกว่าสองหมื่นล้านบาทและได้ล้มละลายไปแล้วในทางบัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์ในเครือของพระมหากษัตริย์ก็กู้เงินต่างประเทศจำนวนมหาศาล เช่นเดียวกับลูกค้ารายใหญ่ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ประเมินราคาสูงเกินจริงอย่างมาก
ตลาดอสังหาริมทรัพย์ก็พังทลาย ขายไม่ออก มูลค่าลดลงมาก ราคาเหลือไม่ถึงครึ่ง ปัญหาของธนาคารไทยพาณิชย์พันกันเป็นงูกินหางหรือล้มละลายกันเป็นลูกโซ่ เพราะธนาคารปล่อยกู้แก่บริษัทพัฒนาที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินฯ
โดยใช้ผู้รับเหมาที่กู้เงินจากธนาคารไทยพาณิชย์เช่นกัน และซื้อวัสดุก่อสร้างจากเครือซีเมนต์ไทยที่กู้เงินจากธนาคารไทยพาณิชย์เหมือนกัน และขายให้กับลูกค้าที่จำนองหลักทรัพย์ไว้กับธนาคารไทยพาณิชย์หรือบริษัทลูก พอเกิดวิกฤต กระแสเงินที่หมุนเวียนของโครงการก็ต้องหยุดชะงัก แต่ละขั้นก็เกิดหนี้เสียขึ้นมาเรื่อยๆ ธนาคารจึงไม่เหลืออะไรที่จะยึดฉวยไว้ได้เลย มันเป็นสูตรหายนะที่ธนาคารไทยส่วนใหญ่ประสบ แต่ธนาคารไทยพาณิชย์ดูจะถลำลึกไปไกลกว่าธนาคารอื่นๆเพราะ ผูกโยงกันไปหมด แทบไม่เหลืออะไรเลย รายได้ของวังหายไปหมด จากเดิมในระดับสองสามพันล้านบาทต่อปี
ก็ไม่มีเงินปันผลเพราะขาดทุน ผู้เช่าที่ดินจำนวนมากก็หยุดจ่ายค่าเช่า วังไม่มีทุนที่จะไปอุ้มกิจการที่สำคัญๆของตน รายได้จากเงินการกุศลก็ลดน้อยลง กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟเสนอให้เงินกู้ฉุกเฉินกว่า 15 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือกว่าหกแสนล้านบาท โดย มีเงื่อนไขเข้มงวด สำหรับการปฏิรูประบบการเงินและการบริหารเศรษฐกิจ ต้องยอมให้ธุรกิจใหญ่ๆล้ม และลงโทษผู้กระทำผิด ธุรกิจใหญ่หลายรายจ่อคิวล้มละลาย และต้องรับผิดชอบต่อหนี้สินของตนเอง
แต่กลุ่มนักอุตสาหกรรมขอให้พลเอกเปรมเข้ามาปกป้องรัฐบาล รัฐบาลพลเอกชวลิตก็ซื้อเวลาด้วยการยอมรับเงื่อนไขของ ไอเอ็มเอฟ และเสนอชื่อนายวีระพงษ์ รามางกูรที่ปรึกษาของพลเอกเปรมมาเป็นผู้แก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ พลเอกชวลิตกับรัฐมนตรีเศรษฐกิจได้เข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวปรากฏตัวร่วมกับผบ.สามเหล่าทัพ โดยมีพลเอกเปรม ตัวแทนของในหลวงเป็นผู้ประสานงาน เป็นการขัดจังหวะกระบวนการทางรัฐสภา เนื่องจากพรรคประชาธิปัตย์ของนายชวนประกาศตัวว่าสามารถบริหารประเทศอย่างมีความรับผิดชอบมากกว่า และก็เป็นไปตามคาดคือเศรษฐกิจทรุดหนักลงไปอีกจนเอาไม่อยู่ แต่ในงานวันเกิด 25 สิงหาคม พลเอกเปรมได้เรียกร้องให้มีความร่วมมือและความสามัคคี ตามสำนวนของพระเจ้าอยู่หัว แต่มรว.สุขุมพันธ์ บริพัตร
สส.ประชาธิปัตย์ ตอบโต้ว่าองคมนตรีต้อง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง นายสุรินทร์ พิศ สุวรรณส.ส.ประชาธิปัตย์ชี้ว่า ทหารกำลังปกครองประเทศ เป็นการทิ่มแทงไปที่พลเอกเปรม และแถมไปถึงพระเจ้าอยู่หัวด้วยเช่นเดียวกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น