วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

พระทรงเหนื่อยยาก แต่ไทยจมปลักลงทุกที1


นายกอานันท์ได้ย้ายบรรดานายพลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ


ไปไว้ในตำแหน่งที่ไม่มีอำนาจ บรรดานักเขียนและปัญญาชนพากันถวายราชสดุดีแด่พระเจ้าอยู่หัวให้เป็นยอดวีรกษัตริย์ผู้ทรงพระอัจฉริยะเหนือการเมืองและความขัดแย้ง

ทรงสามารถไกล่เกลี่ยแก้สถานการณ์วิกฤตได้เป็นอย่างดีไม่มีที่ติ ด้วยการที่ทรงลดคุณค่าของเหตุการณ์ทั้งหมดให้เป็นเพียงการขัดแย้งต่อสู้กัน ส่วนตัว ระหว่างคนมักใหญ่ใฝ่สูงสองคนแล้วก็ทรงสั่งยุติการต่อสู้เรียกร้อง ทรงหลีกเลี่ยงการประณามกองทัพที่เป็นเสมือนกองกำลังส่วนพระองค์ และยังทรงหลีกเลี่ยงประเด็นหลักจริงๆ คือเรื่องรัฐธรรมนูญอีกด้วย

พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลทรงบ่อนทำลายพัฒนาการของสถาบันอื่นๆ มาโดยตลอด

โดยทรงมองว่าสถาบันทางการเมืองเป็น คู่แข่งบารมี กับพระองค์ แทนที่ทรงมองว่าสถาบันทางการเมืองช่วยให้สถาบันพระมหากษัตริย์รอดจากความขัดแย้ง การแทรกแซงการเมืองของในหลวงยิ่งเป็นการซ้ำเติมเสถียรภาพของรัฐบาลและรัฐสภา ในหลวงทรงสรรหารัฐบาลเองโดยที่ ทรงมีอคติต่อนักการเมือง

ทรงมีความคิดล้าหลังทั้งๆที่มีนักการเมืองที่ได้รับความนิยมจากประชาชน

อย่างพลตรีจำลองและนายกชาติชาย แต่ในหลวงก็ยังทรงยึดมั่นเหนียวแน่นอยู่กับบรรดาเหล่านายพลของพระองค์ ซึ่งเป็นพวกทหารที่ทุจริตละโมบมักใหญ่ใฝ่สูงอย่างพลเอกอาทิตย์ พลเอกชวลิตและพลเอกสุจินดาซึ่งล้วนผงาดขึ้นมาภายใต้บารมีของพลเอกเปรมผู้เป็นขุนพลคู่พระบารมี

พระเจ้าอยู่หัวและพระราชินียังทรงโปรดปรานพวก
นายทหารทุจริต เหล่านี้มากกว่าพวกนักการเมืองมือสะอาดเสียด้วยซ้ำ เมื่อในหลวงภูมิพลทรงแสดงความโปรดปรานต่อทหารในเดือนธันวาคม
2533 ได้ทำให้พลเอกสุจินดามีข้ออ้างที่จะทำการยึดอำนาจ


บรรดาองครักษ์พิทักษ์เจ้ามักจะช่วยแก้ตัวว่าพระเจ้าอยู่หัวไม่มีทางเลือก

ต้องยอมรับการยึดอำนาจของรสช
.ขณะเดียวกันก็ยังยืนยันว่ามันเป็นการรัฐประหารที่ประชาชนสนับสนุนซึ่งเป็นผลจากการกล่าวหาโจมตีของพระเจ้าอยู่หัวเอง ขณะที่ทรงเพิกเฉย ปฏิเสธการใช้พระราชอำนาจยุบสภาและกำหนดการเลือกตั้งใหม่ เพื่อ แก้ไขวิกฤติการณ์ ทางการเมือง อีกทั้งยังทรงเงียบเฉยต่อการเตรียมแผนไพรีพินาศ และการสั่งเปลี่ยนเส้นทางขบวนเสด็จของฟ้าหญิงสิรินธรเพื่อให้ร้ายฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตย ตลอดจนการโฆษณาชวนเชื่อของสื่อของพวกรับใช้เจ้าอย่างนายปีย์ มาลากุลเพื่อกล่าวหาโจมตีกลุ่มของพลตรีจำลอง

ในหลวงทรงมอบหมายให้พลเอกเปรมและองคมนตรีคนอื่นๆให้ติดตามสถานการณ์

โดยสื่อสารกับ รสช
.รวมทั้งกลุ่มอื่นๆและคอยรายงานต่อพระองค์ จึงทรงรับรู้สถานการณ์เป็นอย่างดี แต่ในหลวงทรงรักกองทัพมากกว่าประชาชน โดยทรงกล่าวโทษพลตรีจำลองเป็นส่วนใหญ่ ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2535 พลตรีจำลองถูกตำหนิที่ไม่ฟังคำชี้แนะเรื่องรัฐธรรมนูญที่ทรงตรัสในเดือนธันวาคม แต่พลเอกสุจินดากลับได้รับคำชมจากในหลวงที่ยอมตกลงว่าการแก้รัฐธรรมนูญทำได้

ทั้งๆที่พวกทหารได้ปิดทางแก้ไขแล้วและพลเอกสุจินดายังตระบัดสัตย์เรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ในหลวงทรงปกป้องไม่ยอมรับว่ากองทัพไทยมีปัญหาใหญ่หลวงเชิงหลักการ แต่กลับทรงเล่นงานผู้ที่วิจารณ์กองทัพ ว่าไร้ความสามารถแต่เต็มไปด้วยนายพล

ในเดือนธันวาคม 2535 พระเจ้าอยู่หัวทรงโทษพลตรีจำลอง พลเอกชวลิตและผู้ประท้วงอีกครั้ง โดยทรงเล่าความเรื่องเด็กคนที่กำลังเผชิญปัญหา แต่กลับไปยั่วยุช้างจนโกรธ หมายถึงขบวนเรียกร้องประชาธิปไตย ที่หาเรื่องไปแหย่ทหารที่อยู่ดีๆ จนเกิดปัญหาใหญ่โต

ในหลวงยังทรงปฏิเสธข้อสรุปของนักวิชาการไทยและต่างประเทศที่ว่า ความวุ่นวายเกิดขึ้นจากระบบการเมืองที่ไม่พัฒนาต้องพึ่งพาสถาบันพระมหากษัตริย์และกองทัพมากเกินไป

ผลการเลือกตั้งเดือนกันยายน
2535 ทำให้พรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับรสช.ได้รับชัยชนะจัดตั้งรัฐบาล นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ของนายชวน และพรรคความหวังใหม่ของพลเอกชวลิต พระเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มตำหนิรัฐบาลนายชวนว่าทำงานผิดพลาดและเห็นแก่ตัว หลังการแก่งแย่งตำแหน่งกันกลางปี 2536 โดยมีพลเอกชวลิตเป็นหัวหน้าทีม ได้รับสั่งแกนนำรัฐบาลให้หยุดกัดกันเอง พูดอย่างนี้ก็คงพอเข้าใจว่าหมายถึงอะไร ไม่ใช่หมายถึงเรื่องอะไร….

ท่านถึงหัวเราะ หัวร่อหมายถึงท่านเองก็รู้ ว่าการเถียงกันอย่างข้างๆ คูๆ นี้ไม่ดี

เดี๋ยวนี้ข้างคู ทำคูแล้ว ก็ต้องระบายน้ำออก เพราะถ้าขุดคูกลางถนนมันก็ไปไม่ได้ ไม่ถูก อันนี้ก็คงพอเข้าใจ ไม่ต้องพูดให้ยืดยาวเกินไป แต่ว่า ความสามัคคีหรือความปรองดองนั้น ก็ให้เหตุว่า อันไหนควรจะพูด อันไหนไม่ควรจะพูด พูดไปแล้วให้ยอมรับว่าพูดอย่างนั้น ไม่ถูกก็บอกว่าไม่ถูก ไม่ต้องมาหัวชนฝาว่าถูกๆๆ ลงท้าย ตัวเองก็รู้ว่าไม่ถูก…


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น