ศาสตราจารย์Suehiro Akira มีความเห็นว่า “กรมพระคลังข้างที่เปรียบเสมือนธนาคารเพื่อการลงทุน (protoinvestment bank) ซึ่งเป็นองค์กรหลักในการดำเนินธุรกิจในนามของพระมหากษัตริย์”
รายได้ของกรมพระคลังข้างที่ที่ได้รับจากงบประมาณแผ่นดินโดยผ่านกระทรวงพระคลังมหาสมบัติเพิ่มขึ้นจาก 1.49 ล้านบาทในปี 2435 และเพิ่มเป็นเท่ากับ 6.1 ล้านบาทในปี 2445 และเพิ่มเป็นเท่ากับ 9.0 ล้านบาทในปี 2465 ในบางปี เช่นในปี 2434-2435 รายได้ของกรมพระคลังข้างที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20 ของภาษีอากรของประเทศที่จัดเก็บได้ทั้งหมด
รายได้ของกรมพระคลังข้างที่ที่ได้รับการจัดสรรจากกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ พ.ศ. 2435-2478
ปี รายได้ (ล้านบาท)
2435 1.49
2445 6.1
2455 8.7
2465 9.0
2475 0.479
2478 0.409
นอกจากรายได้ที่ได้รับการจัดสรรจากงบประมาณแผ่นดินในแต่ละปีแล้ว รายได้ส่วนสำคัญของกรมพระคลังข้างที่มาจาก ค่าเช่าห้องแถว ตลาดสด กำไรและเงินผลตอบแทนจากการลงทุนในกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ รายได้ส่วนนี้น่าจะเป็นส่วนสำคัญของกรมพระคลังข้างที่ นับแต่ปี 2433 เป็นต้นมา เพราะมีการขยายตัวอย่างขนานใหญ่ของการลงทุนใหม่ ๆ ของกรุงเทพฯ ทั้งเป็นการลงทุนโดยตรงของกรมพระคลังข้างที่ เช่น การก่อสร้างตึกแถวและตลาดสด หรือการร่วมลงทุนในกิจการการผลิตการค้าและอุตสาหกรรมของชาวจีน ชาวยุโรป และชาวตะวันตกอื่น ๆ
กรมพระคลังข้างที่กับบทบาท “เจ้าที่ดิน” รายใหญ่ที่สุดของประเทศ
การเติบโตของเศรษฐกิจกรุงเทพฯ ส่งผลให้การเพิ่มขึ้นของราคาที่ดินกรมพระคลังข้างที่ได้เข้าครอบครองที่ดินย่านที่สำคัญในกรุงเทพฯ อย่างขนานใหญ่ในปลายทศวรรษ 2440 พระคลังข้างที่ได้กลายเป็นผู้ถือครองที่ดินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ และที่ดินได้กลายเป็น “ทุน” ทางเศรษฐกิจที่สำคัญเพื่อการลงทุนทางธุรกิจของกรมพระคลังข้างที่และสำหรับเชื้อพระวงศ์ในการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์และกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่น ๆ กรมพระคลังข้างที่สามารถจับจองหรือครอบครองที่ดินได้หลายวิธี อาทิเช่น ครอบครอง ที่ดินสาธารณะอันประกอบไปด้วย ที่ว่างเปล่าหรือที่ที่เป็นของกระทรวงต่าง ๆ หรือที่ที่เป็นที่ตั้งของวังและพระราชวัง
นอกจากนั้นกรมพระคลังข้างที่สามารถรับจำนองจากเอกชน โดยที่กรมพระคลังข้างที่ให้เงินกู้แก่ผู้เอาอสังหาริมทรัพย์มาจำนอง ลูกค้าส่วนใหญ่ ได้แก่ พ่อค้าชาวจีน เจ้าภาษีนายอากร ขุนนาง และเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ถ้าหากว่าลูกค้าส่วนใหญ่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดเวลา ทรัพย์สินย่อมตกอยู่แก่กรมพระคลังข้างที่ นอกจากนี้กรมพระคลังข้างที่ได้ซื้อที่ดินจากราษฎรทั่วไปโดยตรง
ข้อมูลวงใน ผลประโยชน์ทับซ้อนของพระคลังข้างที่ :กรณีการตัดถนน
ด้วยเหตุที่กรมพระคลังข้างที่มีข้อมูลเกี่ยวกับการตัดถนน ราคาที่ดิน และข้อได้เปรียบในเรื่องแหล่งที่ตั้งและทำเลการค้า ส่งผลให้กรมพระคลังข้างที่ได้สะสมซื้อที่ดินในเขตพื้นที่เขตธุรกิจที่เหมาะแก่การลงทุนและค้าขาย ผลที่ตามมาก็คือ กรมพระคลังข้างที่ได้ครอบครองพื้นที่ที่เหมาะแก่การพาณิชยกรรมในกรุงเทพฯ นับแต่ทศวรรษ 2440 เป็นต้นมากรมพระคลังข้างที่ได้สะสมที่ดินเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะกรุงเทพฯ เขตชั้นใน ในปี2445 กรมพระคลังข้างที่ได้ครอบครองพื้นที่ธุรกิจที่สำคัญในกรุงเทพฯ เท่ากับ 4,083 ไร่ โดยกระจายอยู่ที่ย่านธุรกิจในสำเพ็ง 1,831 ไร่) บางรัก (458 ไร่) ดุสิต (4,083 ไร่) และภายในประตูเมือง หรือย่านวัดชนะสงคราม ย่านพระราชวัง ยานสำราญราษฎร์ และย่านพาหุรัด (86 ไร่) อำเภอดุสิต (1,708 ไร่) (กจช. ร.5 กระทรวงเกษตรฯ 6/6153 (2456))
ในขณะที่เอกสาร “ร.5 นครบาล 41.1/221 (2442 – 2444)” ระบุว่า กรมพระคลังข้างที่มีที่ดินรวมกันเท่ากับ 1,850 ไร่ ในช่วง พ.ศ.2442 - 2444 หรือเท่ากับร้อยละ 22.2 ของพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งหมดในช่วงเวลาเดียวกัน โดยที่การกระจายตัวของการถือครองที่ดินในย่านที่สำคัญของกรุงเทพฯ คือ อำเภอดุสิต(กระจุกตัวย่านสามเสน – บางขุนพรม) 1,615.5 ไร่ อำเภอสำเพ็ง (กระจุกตัวย่านสามแยก – ตลาด น้อย) 63.57 ไร่ อำเภอบางรัก (กระจุกตัวยานถนนสี่พระยา) 172.97 ไร่ ตามลำดับ
ที่ดินจึงกลายเป็นแหล่งที่มาของรายได้ที่สำคัญของกรมพระคลังข้างที่ เพราะกรมพระคลังข้างที่ได้สร้างตึกแถวและตลาดสดเป็นจำนวนหลายร้อยห้องเพื่อเก็บค่าเช่า โดยเฉพาะริมถนนสาย
สำคัญตามย่านที่สำคัญทางธุรกิจ เช่น เจริญกรุง จักรวรรดิ เยาวราช ราชวงศ์ หัวลำโพง สี่พระยาสามเสน ซางฮี้นอก ดวงเดือนนอก ดาวข่าง เป็นต้น ตึกแถวนั้นใช้สำหรับเป็นที่อยู่อาศัยหรือใช้
ดำเนินธุรกิจค้าขาย ตลอดจนเป็นที่ตั้งของสำนักงาน บริษัท ห้างร้านต่าง ๆ อัตราค่าเช่าของห้องแถวจะแตกต่างกันตามชนิดของห้องแถว และย่านธุรกิจ
กลุ่มทุน “พระคลังข้างที่” กับการลงทุนด้านเศรษฐกิจ
ในฐานะเป็นกลุ่มทุนของคนไทยกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด กรมพระคลังข้างที่มีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจการเงินและการธนาคาร รวมทั้งกิจการการผลิตทางเศรษฐกิจอื่น ๆ กรมพระคลังข้างที่ได้ก่อตั้งธนาคารสยามกัมมาจลหรือธนาคารไทยพาณิชย์ ในปี พ.ศ.2449ซึ่งถือว่าเป็นธนาคารของคนไทยแห่งแรก โดยกรมพระคลังข้างที่ได้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ธนาคารไทยพาณิชย์มิเพียงแต่มีบทบาทที่สำคัญต่อการเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับกรมพระคลังข้างที่เพื่อใช้ในการลงทุนทางธุรกิจ แต่ทว่ามีบทบาทสำคัญต่อการเป็นแหล่งเงินกู้ และหรือร่วมลงทุนกับธุรกิจอื่น ๆทั้งชาวไทย ชาวจีน และชาวตะวันตกอื่น ๆ ในแง่นี้จึงกล่าวได้ว่า กรมพระคลังข้างที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาธุรกิจและมีผลต่อการเจริญเติบโตของกลุ่มทุนทางเศรษฐกิจ เพราะบทบาทที่สำคัญของธนาคารซึ่งก่อตั้งโดยกรมพระคลังข้างที่คือ นำมาซึ่งเงินทุนเพื่อการประกอบการทางธุรกิจนั่นเอง
ปูนซีเมนต์ไทยกับการผูกขาดทางเศรษฐกิจ
บทบาทของพระคลังข้างที่ยังเป็นผู้บุกเบิกและพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตในภาคอุตสาหกรรมคือ ปูนซีเมนต์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น