วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ความไม่พอเพียงของxxหลวง2

เมื่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จตอนปลายเดือนสิงหาคมในช่วงกลางวิกฤต

พรรคความหวังใหม่ของพลเอกชวลิตต่อสู้เพื่อล้มร่างรัฐธรรมนูญนี้ โดยกล่าวหาว่ารัฐธรรมนูญนี้ลดอำนาจของพระมหากษัตริย์และกองทัพ พลเอกชวลิตพยายามบีบให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แต่วิกฤตเศรษฐกิจทำให้ในหลวงทรงหลีกเลี่ยงไม่กล้าซ้ำเติมสถานการณ์ที่ย่ำแย่อยู่แล้ว ทรงมีรับสั่งให้นายสุเมธ ตันติเวชกุลออกมาพูดว่าวังไม่มีปัญหากับร่างรัฐธรรมนูญเพราะไม่มีกฎหมายใดที่จะสามารถสั่นคลอนความจงรักภักดีของประชาชนที่มีต่อพระเจ้าอยู่หัวได้

ทำให้พลเอกชวลิตต้องรับรองร่างรัฐธรรมนูญและกราบบังคมทูลถวายพระเจ้าอยู่หัวในวันที่
11 ตุลาคม 2540

วันที่ 6 ตุลาคม พลเอกเปรมได้เรียกบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ชั้นนำของประเทศมาพบที่บ้านสี่เสาและบอกว่าฝ่ายค้านในสภาควรเห็นชอบกับการตั้ง รัฐบาลแห่งชาติ ที่เป็นเอกภาพไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย ไม่ใช่นักการเมือง มีผู้นำที่เป็นอิสระ ซึ่งหมายถึงตัวพลเอกเปรมหรือตัวแทนของเปรมไม่มีวาระซ่อนเร้น พลเอกเปรมพูดแบบเดียวกับในหลวงว่าสภาไม่มีประโยชน์ โดยชี้ว่ารัฐบาลแห่งชาติคือพลเมืองไทยที่ดีที่สุด ได้เอ่ยชื่อพวกของตนว่าเป็นมือดีที่สุดสำหรับแก้ปัญหาของเศรษฐกิจ คือ

รองนายกรัฐมนตรีนายวีระพงษ์ รามางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายทนง พิทยะ และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยนายไชยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ และการสนับสนุนคนเหล่านี้เท่ากับเป็นการรักชาติ
โดยที่พลเอกเปรมเป็นประธานองคมนตรีที่ปฏิบัติตามพระประสงค์ของในหลวงนั่นเอง

มรว.สุขุมพันธ์ บริพัตรเขียนลงในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ว่าแนวคิดเรื่องรัฐบาลเเห่งชาติมีความเป็นประชาธิปไตยน้อย

เป็นแค่การชูรัฐบาลเทคโนแครตของนายอานันท์ ปัญญารชุนในสมัย รสช.
ให้เป็นอุดมคติที่เลอเลิศ ขณะที่ประเทศไทยก็มีทั้งรัฐธรรมนูญและรัฐสภาอยู่แล้วแต่พลเอกเปรมทำเกินหน้าที่ เพราะเป็นองคมนตรีต้องไม่ข้องเกี่ยวกับการเมืองหรือว่าพลเอกเปรมกำลังเตรียมตัวจะกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก โดยไม่น่าเชื่อว่ารัฐบาลแห่งชาติจะสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ดีกว่ารัฐบาลอื่น การที่อ้างว่าสถาบันกษัตริย์ของอังกฤษได้ตั้งรัฐบาลแห่งชาติในปี 2474 เพื่อรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจโลกเพราะได้รับการเห็นชอบจากสภามาก่อนแล้ว คือต้องให้รัฐสภาได้ข้อยุติก่อน ซึ่งในหลวงและพลเอกเปรมไม่เคยมีความอดทนดังกล่าวเลย

ในที่สุดพระเจ้าอยู่หัวก็จำต้องเปิดทางให้กับรัฐบาลนายชวน รัฐธรรมนูญใหม่และการปฏิรูปตามใบสั่งของไอเอ็มเอฟที่เข้มงวด ดูเหมือนพระองค์ทรงได้ทราบบทเรียนที่เกิดสมัยรัชกาลที่ 7 และทรงต้องเลือกเส้นทางปฏิรูปเพื่อหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงแบบสมัย 2475

พอวันที่ 3 พฤศจิกายน 2540 พลเอกชวลิตก็ลาออก เสียงเรียกร้องให้มีรัฐบาลพระราชทานของพลเอกเปรมก็เงียบหายไป

เปิดทางให้นายชวนเป็นนายกรัฐมนตรี ขณะที่วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจได้แผ่ลามขยายไปทั่วเอเชีย
และหนักหนาสาหัสเกินจะเยียวยาได้ในเวลาอันสั้น รัฐบาลนายชวนต้องกระเสือกกระสนและหัวทิ่มหัวตำไม่เป็นท่าในขณะที่ในหลวงทรงใช้โอกาสวิพากษ์วิจารณ์โดยวางพระองค์เสมือนผู้ทรงพระปรีชาญาณและพระปัญญาที่ล้ำเลิศโดยยังทรงเล่นบทเดิมๆอีกเช่นเคย

คือมูลนิธิต่างๆในพระบรมราชูปถัมถ์ต่างก็รับเอาชื่อเสียงและความดีความชอบไปเกือบทั้งหมด
เมื่อโรงงานเริ่มลอยแพคนงานจำนวนมาก ทางวังก็ประกาศว่ามูลนิธิชัยพัฒนาของพระเจ้าอยู่หัวจะประสานหน่วยงานราชการกับภาคเอกชนเพื่อหางานให้ใหม่ ทั้งๆที่ไม่มีตำแหน่งงานเหลืออีกแล้วและต้นเหตุคือการขาดการจัดระบบประกันสังคม แต่วังทำเป็นห่วงคนตกงานมากกว่ารัฐบาลเสียอีก

รัฐบาลชวนทำงานไปได้เพียงเดือนเดียว พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาทในวันเฉลิมพระชนมพรรษาโดยสรุปว่า บอกแล้วไม่ฟัง ทรงโจมตีผู้นำทางการเมืองที่นำพาประเทศไทยไปบนเส้นทางทุนนิยมและการบริโภคนิยมที่เสรีและไม่มีการยับยั้งชั่งใจ ถ้ายอมรับแนวพระราชดำริว่าด้วยเรื่องสังคมที่เรียบง่าย ก็จะหลีกเลี่ยงวิกฤตไปได้ ทรงเปรียบเทียบประสิทธิภาพอันยอดเยี่ยมของ

โครงการพระราชดำริโดยทรงหยามหยันงานของรัฐบาล

ทรงโจมตีทุนนิยมและตลาดโลกสมัยใหม่ ทรงตำหนิความอยากได้ใคร่มีในทางวัตถุมากเกินไปทรงตรัสว่า
การกู้เงิน ที่นำมาใช้ในสิ่งที่ไม่ทำรายได้นั้นไม่ดี อันนี้เป็นข้อสำคัญ เพราะว่าถ้ากู้เงิน และทำให้มีรายได้ ก็เท่ากับ จะใช้หนี้ได้ ไม่ต้องติดหนี้ ไม่ต้องเดือดร้อน ไม่ต้องเสียเกียรติ ..อย่างคนที่สร้างโรงงานใหญ่โตขณะที่โรงงานเล็กๆ ก็พอเพียงแล้ว..ความจริง เคยพูดเสมอ ในที่ประชุมอย่างนี้ว่า การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ

สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน


แบบพอมีพอกินนั้น
หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง อันนี้ก็เคยบอกว่า ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัว จะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้น มันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมี ความพอเพียง พอสมควร บางสิ่งบางอย่าง ที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก ..

แต่ถ้าทำแบบที่เคยมีนโยบายมา
คือผลิตสิ่งของทางอุตสาหกรรมมากเกินไปก็จะไม่สำเร็จ

โดยที่ในเมืองไทยตลาดมีน้อยลงเพราะคนมีเงินน้อยลง
แต่ข้อสำคัญ นักเศรษฐกิจบอกว่า ให้ส่งออก ส่งออกไปประเทศอื่นๆ ซึ่งก็เดือดร้อนเหมือนกัน เขาก็ไม่ซื้อ ถ้าทำผลิตผลทางอุตสาหกรรม และไม่มีผู้ซื้อ ก็เป็นหมันเหมือนกัน..ต้องถอยหลังเข้าคลอง จะต้องอยู่อย่าง ระมัดระวัง และต้องกลับไปทำกิจการที่อาจจะไม่ค่อยซับซ้อนนัก คือใช้เครื่องมืออะไร ที่ไม่หรูหรา. แต่ก็ อย่างไรก็ตาม มีความจำเป็นที่จะถอยหลัง เพื่อที่จะก้าวหน้าต่อไป ถ้าไม่ทำอย่างที่ว่านี้ ก็จะแก้วิกฤตการณ์นี้ยาก แต่ถ้าสามารถที่จะเปลี่ยนไปทำให้กลับเป็นเศรษฐกิจแบบพอเพียง ไม่ต้องทั้งหมด แม้แค่ครึ่งก็ไม่ต้อง อาจจะสักเศษหนึ่งส่วนสี่ ก็จะสามารถอยู่ได้ การแก้ไขอาจจะต้องใช้เวลา ไม่ใช่ง่ายๆ

โดยมากคนก็ใจร้อน
เพราะเดือดร้อน แต่ว่าถ้าทำ ตั้งแต่เดี๋ยวนี้ ก็สามารถที่จะแก้ไขได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น