วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ค่าจงรัก ภักดี 6,000 ล้านบาท7

ของสำนักงานทรัพย์สินมาจาก 2 แหล่งใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ

(1) รายได้จากการจัดประโยชน์ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ อันประกอบไปด้วย ตึกแถว อาคาร และที่ดิน ซึ่งมีอยู่ทั้งพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด โดยได้รายได้
หรือผลตอบแทนเป็นค่าเช่าและค่าธรรมเนียมจากการเช่า และ

(2) รายได้จากเงินปันผลรายปีจากการเป็นผู้ถือหุ้น หุ้นสามัญจำนวนหนึ่งของบริษัทต่าง ๆ

(3) รายได้จากดอกเบี้ย จากการบริหารการเงินโดยนำเงินคงคลังซึ่งเป็นเงินหมุนเวียนที่เคยฝากบัญชีกระแสรายวันไปซื้อตั๋วลงทุน(พันธบัตร หุ้นกู้ ตราสารหนี้ระยะปานกลางและระยะยาวของสถาบันการเงิน)

ที่ดินกับการลงทุนทางธุรกิจ

“ในฐานะเป็นเจ้าของที่ดินที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ซึ่งประมาณว่า 1 ใน 3 ของที่ดินในกรุงเทพฯ เป็นของสำนักงานทรัพย์สินในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 สำนักงานทรัพย์สินมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในภาคเศรษฐกิจการก่อสร้าง โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการเช่าซื้อระยะยาว ยกตัวอย่างเช่น ในปลายทศวรรษ 1960 ในพื้นที่ย่านสะพานขาวได้มีการทุบทิ้งและทำลายตึกห้องแถวที่เก่าแก่และผุพัง เพื่อสร้างเป็นศูนย์การค้าเชิงพาณิชย์ และที่พักอาศัยที่หนาแน่นต่อพื้นที่เป็นจำนวนมากด้วยการสร้างตึกสำนักงานสูง 20 ชั้น ห้องแถว 356 คูหา แฟลตจำนวน 1,156หน่วย รวมทั้ง 2 โรงภาพยนตร์....ในย่านเฉลิมโลกซึ่งตรงข้ามกับศูนย์การค้าราชประสงค์ก็มีการสร้างตึกอีกมากมาย และได้กลายเป็นศูนย์การค้าชั้นนำด้วย” (Investor, February 1971 : 124)

ในช่วงทศวรรษ 2490 สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้กระจายการลงทุนไปในกิจกรรมที่หลากหลายทางเศรษฐกิจมากขึ้นที่สำคัญคือ กิจการประกันภัย ได้มีการเข้าไปก่อตั้งบริษัทประกันภัยได้ก่อตั้งบริษัทเทเวศประกันภัย ในปี พ.ศ. 2490 ด้วยการเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และมีทุนจดทะเบียนเท่ากับ 40 ล้านบาท นอกจากการประกันอัคคีภัยทรัพย์ส่วนพระมหากษัตริย์ในระยะแรกๆ แล้ว ในระยะต่อมาบริษัทยังได้ขยายกิจการรับประกันอัคคีภัยทั่วไป รับประกันภัยทางทะเลและขนส่ง ประกันภัยรถยนต์ และรับประกันภัยเบ็ดเตล็ด สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่มาอย่างต่อเนื่องและกิจการเทเวศประกันภัยก็ได้ขยายตัวมาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากธุรกิจประกันภัยเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันน้อยราย สำนักงานทรัพย์สินฯ

ได้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่มาโดยตลอดจนกระทั่งปัจจุบัน นอกจากบริษัทเทเวศประกันภัยแล้ว สำนักงานทรัพย์สินฯ ยังได้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทไทยเศรษฐกิจประกันภัย ซึ่งก่อตั้งในปี 2485 อีกด้วย สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้มีบทบาทสำคัญเป็นผู้ก่อตั้งและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในภาคธุรกิจการผลิตอื่น ๆ ที่สำคัญคือ อุตสาหกรรมการผลิตและการค้า ได้แก่ บริษัทศรีมหาราชา (ก่อตั้งในปี 2490) ซึ่งเป็นธุรกิจควบคุมการผลิตและค้าไม้รายใหญ่ของไทย บริษัทอุตสาหกรรมทำเครื่องแก้ว (2456) ซึ่งเป็นบริษัททำธุรกิจเกี่ยวกับโรงงานผลิตแก้ว บริษัทหินอ่อน (2499)

ดำเนินธุรกิจเป็นผู้ขายหินอ่อน เป็นต้นแม้ว่าสำนักงานทรัพย์สินฯ จะได้เข้าไปเพิ่มทุนและขยายกิจการการลงทุนของธุรกิจดั้งเดิมอาทิเช่น ปูนซีเมนต์ไทย และไทยพาณิชย์ และได้ก่อตั้งรวมทั้งเข้าไปลงทุนถือหุ้นในกิจการต่าง ๆดังได้กล่าวมาแล้ว แต่ทว่าการขยายตัวในกิจการดังกล่าวยังอยู่ในขอบเขตที่จำกัด เพราะว่าเศรษฐกิจไทยก่อนทศวรรษ 2500 ยังคงเป็นลักษณะเศรษฐกิจที่พึ่งพาภาคการเกษตร ทั้งการผลิตและการส่งออกและตลาดคับแคบ

นับแต่ปี 2503 การลงทุนของธุรกิจของสำนักงานฯ ได้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องทั้งในแง่การลงทุนโดยตรงและโดยอ้อม ทั้งในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่มีอำนาจควบคุมการบริหารและจัดการ และผู้ถือหุ้นรายย่อยในฐานะเป็นผู้ลงทุนรายย่อยและบริษัทในเครือหรืออื่น ๆ มูลค่าของการลงทุนได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งส่งผลให้รายได้จากการประกอบการเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวในระดับสูงโดยเฉพาะช่วงปี 2503 – 2540 สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้กระจายการลงทุนไปอย่างกว้างขวางตามสาขาเศรษฐกิจต่าง ๆ ในปี 2540 ประมาณว่าสำนักงานทรัพย์สินฯ

ได้เข้าไปถือหุ้นโดยตรงของบริษัทต่าง ๆ มากกว่า 70 บริษัท ซึ่งครอบคลุมในกิจการต่าง ๆ ที่สำคัญคือปูนซีเมนต์ ธนาคารพาณิชย์ โรงแรม พลังงาน เหมืองแร่ อสังหาริมทรัพย์ ประกันภัย/ประกันชีวิต ชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นต้น นอกจากการลงทุนโดยตรงในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทต่าง ๆ แล้วสำนักงานทรัพย์สินฯ ยังได้ลงทุนโดยอ้อมในรูปของบริษัทในเครือบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมทุน
ด้วย ในปี พ.ศ. 2539/40 สำนักงานทรัพย์สินฯ มีการลงทุนในบริษัทต่าง ๆ ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมทั้งสิ้นเกือบ 300 บริษัท และในจำนวนนี้ 43 บริษัท ได้เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ในช่วงก่อนปี 2540 ในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวอยู่ในระดับสูง ทศวรรษ 2530 รายได้และผลกำไรจากบริษัทปูนซีเมนต์อยู่ในระดับที่สูงมาก ในปี 2538 รายได้ของบริษัทปูนซีเมนต์และบริษัทในเครือสูงขึ้นถึง 114,144 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายได้ที่แตะหลักแสนล้านบาทเป็นครั้งแรก นับแต่ต้นทศวรรษ 2520 (โดยที่บริษัทปูนซีเมนต์และบริษัทในเครือใช้เงินลงทุนปีหนึ่ง ๆ ราว 20,000 ล้านบาท และทะลุขึ้นไป 30,000 ล้านบาท ในบางปี โดยเงินทุนที่ใช้ส่วนใหญ่ถูกนำเข้าจากต่างประเทศ และประมาณว่าในระหว่างปี พ.ศ. 2538 – 2539 เครือซีเมนต์มีหนี้ต่างประเทศประมาณร้อยละ 80 ของยอดหนี้รวม) ส่งผลให้กำไรจากการประกอบการอยู่ในระดับสูงมากประมาณ 5,000 – 6,000 ล้านต่อปี ในช่วงปี พ.ศ. 2533 – 2539 ระดับกำไรอยู่ในระดับสูงส่งผลให้รายได้จากเงินปันผลของบริษัทปูนซีเมนต์อยู่ในระดับสูงประมาณ 600 – 700 ล้านต่อปี ช่วง พ.ศ. 2533 – 2539

กรณีศึกษาปูนซิเมนต์ไทยกับการคอร์รัปชั่นในเชิงนโยบาย

สถานการณ์การเมืองในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ในทศวรรษ 2500 มีส่วนสนับสนุนการเจริญเติบโตของบริษัทปูนซีเมนต์ไทยอย่างไม่หยุดยั้ง ในช่วงสงครามเวียตนาม (2503 – 2518)นอกจากจะมีการขยายตัวในการก่อสร้างอย่างขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯ ดังที่กล่าวมาแล้ว ยังมีการสร้างถนนทางหลวงเชื่อมกรุงเทพฯ กับภูมิภาคอื่น ๆ อย่างขนานใหญ่ และเงินก่อสร้างเกือบทั้งหมดมาจากเงินกู้และความช่วยเหลือจากต่างประเทศโดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกาเป็นสำคัญ ถนนทางหลวงแผ่นดินที่ลาดยางแล้วเพิ่มขึ้นจาก 8,466 กิโลเมตร ในปี 2503 เพิ่มเป็น 12,658 กิโลเมตร ในปี 2513

และการขยายตัวอย่างขนานใหญ่ของทางหลวงแผ่นดินรวมทั้งการก่อสร้าง เช่น ท่าเรือและการลงทุนพื้นฐานทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ในช่วงการเร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในแผนพัฒนาที่ 1 และที่ 2 ได้มีผลต่อ “การสะสมทุน” และการขยายการผลิตของการผลิตปูนซีเมนต์อย่างขนานใหญ่ สินทรัพย์ของบริษัทเพิ่มขึ้นจาก 444 ล้านบาท ในปี 2503 และเพิ่มเป็น 3,018 ล้านบาท ในปี 2513 และ 5,813 ล้านบาท ในปี 2518 โดยยอดขายเพิ่มจาก 1,421 ล้านบาท ใน ปี 2513 เป็น 4,620 ล้านบาท ในปี 2518

ภายหลังปี 2513 เป็นต้นมา บริษัทฯ ได้ขยายการผลิตไปยังธุรกิจหลายประเภท(Diversification) ทั้งในส่วนของผลิตภัณฑ์ก่อสร้างที่ไม่ใช้ปูนซีเมนต์เป็นวัตถุดิบในการผลิต เช่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น