วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (Crown Property Bureau หรือย่อว่า CPB) เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามความใน พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479 เดิมมีฐานะเป็นหน่วยงานราชการ สังกัดกระทรวงการคลัง และได้ยกฐานะขึ้นเป็นนิติบุคคลเมื่อปี พ.ศ. 2491 มีหน้าที่ดูแลรักษาและบริหารทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่กำหนดให้แยกต่างหากจากทรัพย์สินส่วนพระองค์ (เช่น วังสระปทุม ที่ทรงได้รับสืบทอดมาจากพระราชบิดา) ซึ่งดูแลโดยสำนักงานจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน (เช่น พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน) ซึ่งอยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวัง

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กล่าวโดยสรุปแล้วก็คือพระราชทรัพย์ของราชวงศ์จักรีที่แยกต่างหากจากทรัพย์สินของราชการ เช่น เงินจากการแต่งสำเภาค้าขายต่างประเทศของรัชกาลที่ 3 หรือที่เรียกว่า "เงินถุงแดง" ซึ่งตกทอดมาถึงรัชกาลที่ 5 และใช้จ่ายค่าปฏิกรรมสงครามแก่ประเทศฝรั่งเศส หลังเหตุการณ์สงคราม ร.ศ. 112 ซึ่งมีส่วนช่วยให้ประเทศสยามรักษาเอกราชไว้ได้ หรือ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย ที่ก่อตั้งโดยรัชกาลที่ 6

ต่อมาภายหลังการปฏิวัติปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 เนื่องจากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นพระราชทรัพย์ของราชวงศ์จักรีที่แยกต่างหากจากทรัพย์สินของราชการ เพื่อความเหมาะสมจึงมีการออกกฎหมายกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบบริหารจัดการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ คือ พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479 และมีการแก้ไขปรับปรุงมาจนถึงปัจจุบัน

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้รับการยกเว้นภาษีอากรเช่นเดียวกับทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479 ในขณะที่ทรัพย์สินส่วนพระองค์ในความดูแลของสำนักงานจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีอากร
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีทรัพย์สินในความดูแลเป็นที่ดินกว่า 54 ตร.กม.ในกรุงเทพมหานคร และ 160 ตร.กม.ในจังหวัดอื่น โดยทำสัญญาให้เช่าแก่หน่วยงานราชการ องค์กรธุรกิจและบุคคลทั่วไปรวมประมาณ 36,000 สัญญา นอกจากนี้ยังมีหลักทรัพย์ลงทุนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยส่วนใหญ่เป็นหุ้นใน 3 บริษัทหลักคือ ปูนซิเมนต์ไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และเทเวศประกันภัย

เนื้อหา
[ซ่อน]
• 1 ที่ตั้ง
• 2 การบริหาร
• 3 บริษัทในเครือ
• 4 หลักทรัพย์ลงทุน
• 5 ผลการดำเนินงาน
• 6 อ้างอิง
• 7 แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้] ที่ตั้ง
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้ย้ายที่ทำการมาแล้วสี่ครั้ง ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2489 มาอยู่ที่ "วังลดาวัลย์" หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "วังแดง" ตั้งอยู่เลขที่ 173 ถนนราชสีมา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร อาคารสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์แห่งนี้ได้รับรางวัล อาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2525 จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

[แก้] การบริหาร
พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479 กำหนดให้มี คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่า 4 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์จะได้ทรงแต่งตั้ง และในจำนวนนี้จะได้ทรงแต่งตั้งให้เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หนึ่งคน

ปัจจุบัน คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ประกอบด้วย

• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง
• นายเชาวน์ ณ ศีลวันต์ เป็นกรรมการ
• นายสุธี สิงห์เสน่ห์ เป็นกรรมการ
• เรืออากาศโทศุลี มหาสันทนะ เป็นกรรมการ
• นายพนัส สิมะเสถียร เป็นกรรมการ
• นายเสนาะ อูนากูล เป็นกรรมการ
• นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นกรรมการ และ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ผู้บริหารอีกคนหนึ่งที่มีบทบาทในสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์คือ ม.ร.ว. ยงสวาสดิ์ กฤดากร ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็น รองผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
[แก้] บริษัทในเครือ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น