(ราชวงศ์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก)
สะท้อนความจงรักภักดีและเสียสละของปวงชนชาวไทยที่มีต่อราชวงศ์ไทย
ได้เป็นอย่างดี
กำเนิด : สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ที่สถาปนาแนวคิด “อำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรทั้งหลาย” นั้น พระมหากษัตริย์นั้นถือว่าเป็นทั้ง “เจ้าชีวิต/เจ้าทรัพย์สิน” ดังคำกล่าวที่ว่า “รัฐคือข้าพเจ้า” ต่อมาเมื่อมีการก่อร่างสร้างรัฐสมบูรณาญาสิทธิ์สยามขึ้นมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็มีแนวคิดในการจัดการทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์ขึ้นมาใหม่ขึ้น นั้นจึงเป็นที่มาของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ดังที่เรารับรู้ในปัจจุบัน
พระมหากษัตริย์ได้มีพระราชอำนาจเพิ่มขึ้น (ส่วนหนึ่งขุนนางตระกูลบุนนาคเริ่มมีอำนาจน้อยลง) ในฐานะเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในทางการบริหาร มีการปฏิรูประบบราชการโดยแบ่งส่วนราชการเป็นแบบกระทรวง ทบวง กรม รวมทั้งมีบริหารส่วนภูมิภาค/จังหวัดตามแบบประเทศตะวันตก
จากต้นทศวรรษ 2410 อำนาจของกษัตริย์และส่วนราชการได้เพิ่มขึ้นแทนที่อำนาจของเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ ในภูมิภาคต่างจังหวัด การก่อตั้งหอรัษฎากรในปี พ.ศ.2416ได้ส่งผลให้อำนาจการจัดเก็บภาษีมีความเป็นเอกภาพและรวมศูนย์อยู่ที่เมืองหลวง (ซึ่งก่อนหน้านั้นขึ้นอยู่กับเจ้าภาษีนายอากรและกระจัดกระจายอยู่ตามหน่วยงานต่าง ๆ) และส่งผลกษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์สามารถควบคุมอำนาจทางการคลังได้เพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ในทศวรรษ 2410 รัชกาลที่ 5 ได้พยายามบั่นทอนอำนาจการปกครองของภูมิภาคอื่น ๆ ซึ่งขึ้นตรงต่อเจ้าผู้ครองนคร โดยแต่งตั้งเจ้าเมืองหรือผู้ว่าราชการจังหวัดไปปกครองเมืองเชียงใหม่ ซึ่งส่งผลให้อำนาจการปกครองของกรุงเทพฯ ได้เพิ่มขึ้นและขยายตัวสู่ภูมิภาคอื่น ๆ
ในปีพ.ศ.2430 ได้มีการแต่งตั้งเจ้าเมืองจากกรุงเทพฯ หรือในบางกรณีได้ส่งเจ้าเมืองจากรัฐบาลกลางในกรุงเทพฯ เพื่อปกครองและบริหารเมืองต่าง ๆ คือเชียงใหม่ ภูเก็ต พระตะบอง หนองคาย การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่คือการปฏิรูปการปกครองและระบบราชการในปี พ.ศ.2435 ซึ่งมีการจัดรูปแบบการบริหารประเทศในรูปของเสนาบดี (หรือคณะรัฐมนตรี) ซึ่งมีหน้าที่การบริหารกระทรวงต่าง ๆ และแบ่งหน้าที่โดยชัดเจน ซึ่ง ณ ขณะนั้นมีกระทรวงทั้งสิ้น 12 กระทรวง ด้วยลักษณะการบริหารประเทศดังกล่าว
จึงมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของการรวมศูนย์อำนาจสู่ส่วนกลางนอกจากนี้ในทศวรรษ 2430 ได้มีการปฏิรูประบบการปกครองส่วนท้องถิ่นและการปกครองส่วนภูมิภาคโดยการควบคุมจากกรุงเทพฯ ภายใต้การนำของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย การสร้างทางรถไฟเชื่อมกรุงเทพฯ และภูมิภาคอื่น ๆ จากปี 2433 ก็มีผลต่อการสร้างการเติบโตของกรุงเทพฯ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง
พร้อมกันนั้นกรมพระคลังข้างที่ (The Privy Purse Bureau) ( ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์) ได้ก่อตั้งอย่างเป็นทางการในฐานะเป็นกรมอิสระในสังกัดกระทรวงพระมหาสมบัติ ในปี 2433 โดยกรมพระคลังข้างที่ทำหน้าที่ในการบริหารตลอดจนการลงทุนพระราชทรัพย์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยได้รับงบประมาณเท่ากับ
ร้อยละ 15 ของรายได้แผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 5
จุดมุ่งหมายที่สำคัญของการก่อตั้งกรมพระคลังข้างที่
นอกจากเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 5 การรวมศูนย์อำนาจสู่ส่วนกลาง การปฏิรูปการคลังโดยการดึงอำนาจควบคุมบริหารงบประมาณแผ่นดินและพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จากกลุ่มบุนนาค แต่ทว่ามีบทบาทสำคัญหรือเป็นหน่วยงานที่สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจการเงินของ
สถาบันพระมหากษัตริย์ (The Principal arm of the monarchy’s financial strength)
บุคคลที่ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพระคลังข้างที่คนแรก คือ พระเจ้าน้องยาเธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงษ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งในช่วงปี 2433 – 2435 หลังจากนั้นก็มีผู้ดำรงตำแหน่งอีกหลายคน แต่ผู้ที่มีบทบาทในแง่การสร้างรายได้โดยผ่านการลงทุนต่าง ๆ ให้แก่กรมพระคลังข้างที่ที่สำคัญที่สุดคือ พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นสมมตอมรพันธ์ซึ่งดำรงตำแหน่งในช่วงปี 2435 – 2454
ก้าวกระโดดและการเติบโตในยุคต้น
ขอบเขตงานของการจัดการลงทุนและจัดหาผลประโยชน์ได้เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย มีผลให้การบริหารงานของกรมพระคลังข้างที่ได้มีข้าราชการเพิ่มขึ้นจากเพียง 3 คน ในปี 2435 และเพิ่มขึ้นเป็นทั้งหมด 26 คน ในปี 2438 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 กรมพระคลังข้างที่ได้ขยายหน่วยงานรับผิดชอบออกไปอีก โดยมี ฝ่ายเวรบัญชาการ กรมการผลประโยชน์ กรมการโยธากรมการบัญชี กรมการคลัง และหุ้นส่วน โดยมีข้าราชการและพนักงานกว่า 200 คน และในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้เพิ่มหน่วยงานในสังกัดกรมการผลประโยชน์ในเขตต่างจังหวัด คือ คือ จังหวัดฉะเชิงเทรา นครปฐม และราชบุรี
การก่อตั้งกรมพระคลังข้างที่ภายใต้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีหลักการที่สำคัญคือ
การพยายามแบ่งแยกฐานะทางการคลังหรือรายได้รวมทั้งผลประโยชน์อื่น ๆ ระหว่างพระมหากษัตริย์กับรัฐโดยเด็ดขาด (แม้ในทางปฏิบัติอาจจะไม่สามารถแบ่งแยกโดยเด็ดขาดก็ตาม)
อำนาจ งบประมาณ และความเป็นอิสระของกรมพระคลังข้างที่ได้เริ่มปรากฏอย่างจริงจัง จากทศวรรษ 2430 พร้อม ๆ กับการขยายตัวของเศรษฐกิจในกรุงเทพฯ ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของกรมพระคลังข้างที่หรือแหล่งที่มาของรายได้หรือพระราชทรัพย์มาจาก 2 แหล่งใหญ่คือ
(1) รายได้จากการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีจากรัฐบาล และ
(2) รายได้จากค่าเช่า กำไร และผลประโยชน์จากการลงทุนในกิจการต่าง ๆ ของกรมพระคลังข้างที่ เช่น ที่ดิน ค่าเช่าห้องแถว ตลาดสด โรงสีข้าว ธนาคาร สายการเดินเรือ โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ รถราง เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น