วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

พระทรง เหนื่อยยาก แต่ไทยจมปลักลงทุกที7

นักโฆษณาสถาบันกษัตริย์


นักสดุดีพระมหากษัตริย์รายแรกเป็นผู้ดูแลโครงการส่วนพระองค์คือ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ(กปร.) เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา และอดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ได้พูดสดุดีพระราชกรณียกิจในการพัฒนาชนบท ความเพียรพยายาม เสียสละอุทิศพระองค์เอาชนะความยากจน

ในหนังสือเล่มใหญ่ชื่อ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช
:ประทีปนำทางของประเทศไทย King Bhumibol Adulyadej : Thailand’s Guiding Light พิมพ์ในวาระพระราชพิธีกาญจนาภิเษก 2539 บรรยายว่าในหลวงทรงตรากตรำทำงานหนักเพื่อเอาชนะ พลังความโลภที่เป็นความร่วมมือกันระหว่างนายทุน นักการเมืองและข้าราชการ


มีบทเทิดพระเกียรติให้ทรงเป็นนักสิ่งแวดล้อมมีพระปรีชาสามารถในการ


ที่ทรงสร้างสมดุลระหว่างความต้องการของประชาชนและสิ่งแวดล้อม ทรงมีประสิทธิภาพในการทรงงานมากกว่าระบบราชการ เพราะทรงมองปัญหาทั้งระบบ ความผาสุกของประชาชนไม่จำเป็นต้องใช้เงินเป็นตัวชี้วัด ทรงเสนอแนวทางแก้ไขไว้นานแล้วแต่ว่าไม่มีใครสนใจ ประชาพิจารณ์ก็ไม่จำเป็นเพราะทรงทำประชาพิจารณ์มา
30 ปีแล้ว จากการเสด็จเยี่ยมพสกนิกรทั่วประเทศ เท่ากับมีการปรึกษาหารืออย่างมาก่อนแล้ว จึงเป็นเหตุผลรองรับการสร้างเขื่อนป่าสักและเขื่อนท่าด่าน ทรงใช้เวลาหลายชั่วโมงหลายครั้งพูดคุยกับชาวบ้าน จึงเป็นประชาพิจารณ์ที่บริสุทธิ์ เป็นธรรมชาติ คือประชาธิปไตยที่แท้จริง


นายอานันท์ ปันยารชุน


ได้ย้ำว่าพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรีรัชกาลที่
9 ทรงรักษาประเทศและสร้างความเจริญ โดยเสด็จไปทั่วประเทศทำความรู้จักพระราชอาณาจักรและพสกนิกรของพระองค์ ทรงเป็นนักอ่านแผนที่ตัวฉกาจ หลังจากเสด็จเยือนต่างประเทศ ก็ได้ทรงชี้แจงให้รัฐบาลเริ่มจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรกปี 2504 ขึ้นมา

(ซึ่งที่จริงได้ร่างขึ้นตามการชี้นำของ ธนาคารโลกกับที่ปรึกษาจากสหรัฐฯ ก่อนที่พระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการครั้งแรก) ทรงมีวินัยในพระองค์เองอย่างเข้มงวด ตอนที่พระองค์ผนวช ได้ทรงศึกษาธรรมอย่างลึกซึ้ง เข้าใจความจริงของชีวิต ทรงไม่มีอัตตา ทรงไม่หลงตัวเองทรงปล่อยวางไม่ยึดติดโดยสิ้นเชิง ทำเพื่อประโยชน์ของชุมชน
และส่วนรวมเท่านั้น

อาจมีแต่จักรพรรดิญี่ปุ่นเท่านั้นที่ได้รับการเทิดทูนจากประชาชนมากกว่านี้

แต่จักรพรรดิญี่ปุ่นประทับอยู่แต่ในวัง ต่างจากพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงใกล้ชิดกับประชาชนของพระองค์ ถึงแม้จะไม่มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ คนก็ยังรู้ว่าเรามีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นที่รักของคนทั้งชาติ ทรงเป็นของแท้ที่ไม่มีวันผิดพลาด จากประสบการณ์ทางการเมืองที่มีต่อเนื่องยาวนานทำให้ทรงต้องเข้ามาแทรกแซงการเมืองบ่อยครั้ง

เพราะทรงรับรู้ข้อมูลเป็นอย่างดีและทรงใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์ ในฐานะกษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ อำนาจถูกถวายให้เป็นของพระมหากษัตริย์ด้วยเจตจำนงของประชาชน การแทรกแซงของในหลวงภูมิพล
เกิดจากการร้องขอจากประชาชน โดยทรงทราบจังหวะเวลาเหมาะสมและประเทศชาติไม่สามารถทนต่อสถานการณ์ได้อีกต่อไป แล้วพระองค์ก็จะ ทรงลงมา แก้วิกฤตทั้งหมด

สิ่งที่พระองค์ทรงปฏิบัติ สาธารณชนก็ได้เห็นโดยทั่วกัน

แม้ไม่ได้เป็นการตรวจสอบในทางกฎหมาย แต่เป็นความโปร่งใส (คงเป็นความโปร่งใสที่ตรวจสอบไม่ได้และห้ามตรวจสอบโดยเด็ดขาด)พระเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงปฏิบัติพระภารกิจมายาวนานที่สุด ทรงเป็นนักการเมืองที่ปฏิบัติหน้าที่มายาวนานที่สุด รัฐบาลมาแล้วก็ไป ผบ.ทบ. มาแล้วก็ไป กิจกรรมเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในวิสัยปกติของพระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญ แต่เนื่องจากพระองค์ได้ทรงมุ่งมั่นปฏิบัติพระราชกรณียกิจเหล่านี้เพื่อประโยชน์อันยั่งยืนของประชาชนไทย
.. คนไทยทั่วไปจึงเต็มใจมอบความเชื่อมั่นต่อพระองค์อย่างที่ไม่เคยมีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในประวัติศาสตร์ของเราหรือของทั้งโลกทรงเคยได้รับมาก่อน..

ทรงเป็นเหมือนไฟส่องนำทางสำหรับประชาชนในความมืด


ส่วนนักอธิบายความรายที่สามก็คือพระเจ้าอยู่หัวเอง ทรงมีคำอธิบายยุคสมัยรัชกาลของพระองค์หลายครั้งที่แตกต่างกันสำหรับกลุ่มผู้ฟังที่ต่างกัน พระนิพนธ์แปลเรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
A Man Called Intrepid ของวิลเลียมสตีเวนสัน William Stevensonนักข่าวกรองชาวแคนาดาที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของฝ่ายพันธมิตร อ้างว่าเป็นเรื่องจริงที่เขียนยกย่องตนเองเป็นวีรบุรุษที่เสี่ยงชีวิตปฏิบัติราชการลับเพื่อประเทศชาติช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นเรื่องที่ เกินจริงและคลาดเคลื่อน มาก แต่ในหลวงก็ทรงแปลเพราะมีพระประสงค์ให้ผู้อ่านมองคนที่ทำงานหนักโดยไม่หวังผลตอบแทนเหมือนที่พระองค์ได้ทรงปฏิบัติ

ทรงเล่าว่าประธานาธิบดีรูสเวลท์
Roosevelt ของวอชิงตัน

กับนายกรัฐมนตรีเชอร์ชิลและพระเจ้าจอร์จที่หกของลอนดอน ต้องแอบปราบพวกนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งที่ต่อต้านการลุกขึ้นต่อสู้กับพวกนาซี นายกรัฐมนตรีเชอร์ชิลขาดอำนาจจากสภาจึงต้องอาศัยอำนาจจากกษัตริย์ ซึ่งเป็นอำนาจที่สูงกว่าที่เข้ามาแทรกแซงได้ในช่วงที่เกิดวิกฤต จึงมีการจัดสรรงบประมาณให้วังนำมาใช้สนับสนุนผู้ทำราชการลับเพื่อปกป้องชาติแบบลับๆ

โดยกษัตริย์ต้องเก็บให้เป็นความลับจากประชาชน และต้องมีผู้นำพิเศษที่สูงกว่าผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งที่ไม่เสียสละอุทิศตนเมื่อเกิดปัญหาทางการเมือง โดยอ้างการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ด้านข่าวกรองและสืบราชการลับของอังกฤษที่ต้องได้รับการเห็นชอบจากกษัตริย์ ระบบพิเศษของอังกฤษนี้เป็นข้อพิสูจน์ถึงความสำคัญของกษัตริย์ต่อความมั่นคงของชาติ พระราชนิพนธ์งานแปลนี้ได้รับการตีพิมพ์ในปี
2536 ถึง 100,000 เล่ม เป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดในประเทศไทยในเวลานั้น

พระราชนิพนธ์แปลเรื่อง ติโตของ ฟิลลิส ออตี้ Phyllis Auty

เป็นประวัติของ ติโต หรือ โยชิบ โบรช
(Josif Broz) ผู้นำที่ต่อสู้กอบกู้ยูโกสลาเวีย ให้พ้นวิกฤตการณ์ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมาได้เป็นประธานาธิบดี มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ทั้งๆที่ท่านเป็นคอมมิวนิสต์และเป็นผู้ล้มเลิกระบอบกษัตริย์ ปีถัดมาทรงโปรดฯให้มีการพิมพ์งานแปลเรื่อง ติโต เพราะทรงเห็นว่าติโตทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อความเจริญ สันติภาพและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน ทรงชื่นชมติโตที่รักษาความเป็นปึกแผ่นและเอกราชของประเทศเป็นเวลาถึง 35 ปี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น