วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

พระทรงเหนื่อยยาก แต่ไทยจมปลักลงทุกที2


ในหลวงยังทรงแทรกแซงการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยพลเอกเปรมคอยจัดการ การชนะเลือกตั้งของนายชวนในปี
2535 ทำให้นายชวนต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น

แต่วุฒิสภายังเต็มไปด้วยคนของรสช.

เมื่อรัฐบาลนายชวนยืนยันแก้ไขรัฐธรรมนูญ พวกปีกขวาก็ออกมาข่มขู่แบบปี
2519 กล่าวหาว่าเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพราะเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างการปกครองที่รัชกาลที่ห้าได้ทรงวางหลักเอาไว้ เป็นการแสดงว่าสส.สามารถเป็นตัวแทนของประชาชนได้ดีกว่าพระเจ้าอยู่หัว

ทั้งๆที่สส.ที่มาจากการเลือกตั้งนั้น สกปรกและทุจริตคอรัปชั่น ขณะที่การ รัฐประหารยึดอำนาจเป็นเรื่องที่ถูกต้องชอบธรรม ลูกเสือชาวบ้านและกลุ่มอภิรักษ์จักรีประกาศว่า
ประเทศไทยต้องไม่ทิ้ง ระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์เป็นประมุข ต้องไม่เป็นเหมือนสหรัฐฯ ฝรั่งเศส หรือประเทศคอมมิวนิสต์ ราชวงศ์จักรีไม่ใช่ไดโนเสาร์

เดือนธันวาคมรัฐบาลนายชวนได้ยื่นญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญชนิดที่อ่อนลงมา

พลเอกชวลิตถอนพรรคจากการร่วมรัฐบาลโดยหวังว่ารัฐบาลคงจะล้ม และตนเองจะได้เป็นนายกฯคนต่อไปพร้อมด้วยการสนับสนุนจากกองทัพ แต่พลเอกเปรมได้เกลี้ยกล่อมพลเอกชาติชายหัวหน้าพรรรคชาติพัฒนาให้เข้าร่วมรัฐบาลนายชวน และให้วุฒิสมาชิกสายทหารหันมาลงคะแนนสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลนายชวนซึ่งเป็นเพียงประเด็นปลีกย่อย แสดงให้เห็นว่าวัง ไม่ไว้ใจพลเอกชวลิต มากกว่านายชวนเสียอีก

ในหลวงทรงเชื่อว่าจีน พม่าและเวียตนามคิดยึดครองไทยตลอดเวลา โดยเฉพาะเวียตนามได้แผ่อิทธิพลครอบงำลาวและกัมพูชา จึงเป็นภัยคุกคามต่อราชอาณาจักรไทย ทรงแสดงออกในเรื่องนี้เป็นประจำต่อนักการทูตและนักวิชาการต่างประเทศ รวมทั้งผู้นำทหารของไทย

สมัยนั้นกองทัพไทยเป็นผู้กำหนดนโยบายต่อประเทศเพื่อนบ้าน

โดยคงความสัมพันธ์ร่วมมือกันอย่างดีกับ รัฐบาลทหารสล้อค
Slorc ของพม่า และสนับสนุนกองกำลังของเขมรแดง ที่เคยฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวกัมพูชาเพื่อต่อสู้กับรัฐบาลฮุนเซนที่ได้รับการหนุนหลังจากเวียตนาม ความสัมพันธ์ที่ไม่จริงใจต่อประเทศเพื่อนบ้านเช่นนี้ไม่เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทยเลย มีแต่พวกทหารระดับสูงของไทยไม่กี่คนที่ได้กอบโกยเงินหลายพันล้านบาทจากการตัดไม้ ขุดแร่อัญมณีและธุรกิจอื่นๆ ร่วมกับรัฐบาลทหารสล้อคของพม่าและกองกำลังเขมรแดง

เดือนกุมภาพันธ์
2536 ผู้เคยได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ 8 คน

มาเยือนประเทศไทยในฐานะเพื่อนบ้านใกล้ที่สุดของพม่า ในหลวงภูมิพลมีพระบรมราโชวาทแก่พวกเขาว่า อองซานซูจีควรจะเลิกต่อสู้และกลับไปเลี้ยงลูกที่อังกฤษเสีย แล้วปล่อยให้สล้อคหรือรัฐบาลทหารพม่า ปกครองประเทศไป รัฐบาลทหารเหมาะกับประเทศกำลังพัฒนา ทรงยืนยันว่าไม่ควรสนับสนุนฝ่ายค้านของพม่า

ซูจีเป็นแค่ตัวสร้างปัญหา และยังได้ทรงชักชวนนักการทูตอเมริกันและนักวิชาการต่างชาติให้ยอมรับรัฐบาลทหารพม่าว่าเป็นผู้สร้างเสถียรภาพแก่พม่า ทรงมีพระราชดำรัสไม่ต่างจากรัฐบาลทหารพม่าว่า ซูจีแต่งงานกับฝรั่งและร่ำเรียนที่เมืองนอก เธอไม่ได้เป็นตัวแทนคุณค่าดั้งเดิมของพม่า เธอควรกลับไปอยู่กับครอบครัวที่อังกฤษ

แต่นโยบายของรัฐบาลนายชวนที่เพิ่งชนะการเลือกตั้งได้ให้การสนับสนุนขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยของอองซาน ซูจี

แต่รัฐบาลนายชวนได้ร่วมกับนานาชาติสนับสนุนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของอองซานซูจี และได้สั่งกองทัพไทยตัดความสัมพันธ์กับเขมรแดงเพื่อนำนายพอลพตผู้นำเขมรแดงเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามแรงกดดันของนานาชาติ ขณะที่สหประชาชาติกำลังเตรียมการเลือกตั้งในกัมพูชา และเขมรแดงก็ข่มขู่จะขัดขวางการเลือกตั้ง แต่กองทัพไทยปฏิเสธที่จะเปลี่ยนแปลงท่าทีทั้งสองกรณี คือกองทัพไทยยังคงทำธุรกิจกับคณะรัฐบาลทหารพม่าต่อไป

ขณะที่เขมรแดงยังปฏิบัติการโจมตีจากฐานที่มั่นในฝั่งไทยก่อนถึงวันเลือกตั้งในกัมพูชา ทำให้นานาชาติพากันประณามรัฐบาลไทย รัฐบาลนายชวนปฏิเสธว่ามันไม่ใช่นโยบายของรัฐบาล แต่พระเจ้าอยู่หัวทรงปกป้องกองทัพ ทรงกล่าวกับนักการทูตไทยว่าประเทศไทยควรให้ความร่วมมือกับเพื่อนบ้านเช่นพวกเขมรแดงและไม่ควรใส่ใจกับตำรวจโลก ซึ่งทรงหมายถึงสหรัฐอเมริกาทรงตรัสว่า พม่ากำลังถูกปฏิบัติเหมือนเป็นสิ่งปฏิกูล หากเราผูกมิตรกับคนอย่างนี้

ตำรวจก็ต้องจับเรา ดังนั้นเมื่อเราช่วยพม่า หรือติดต่อสัมพันธ์กับพม่า

ประชาคมโลกก็จะปฏิบัติต่อเราเหมือนคนเลวไปด้วย
... หากเรายึดตามแนวคิดตะวันตกและเฮโลตามไปกับเขาด้วย โดยบอกว่าพม่าเลว เราก็จะมีเพื่อนบ้านอย่างบอสเนีย-เฮอร์เซโกวินา เขมรแดงควรมีส่วนแบ่งในอำนาจ เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่แบบที่พวกยุโรปได้สร้างขึ้นที่บอสเนีย ที่เราต้องการให้เกิดน้อยที่สุดคือการที่กำลังของสหประชาชาติมาใช้ดินแดนของไทยเพื่อแทรกแซงทางการทหารในพม่า

กองทัพไทยยังคงร่วมมือกับรัฐบาลทหารของพม่าและพวกเขมรแดงของพอลพตต่อไป

ด้วยการสนับสนุนให้ท้ายของ พระเจ้าอยู่หัว เดือนพฤษภาคม
2537 อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยนายมอร์ตัน อับบราโมวิทช์ Morton Abramovitz ได้วิจารณ์ในหลวงภูมิพลในหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ Washington Post ว่าไทยบ่อนทำลายเพื่อนบ้านและขัดขวางประชาคมโลก จะทำให้เกิดแรงกดดันต่อกองทัพ รวมถึงคนระดับสูงและพระมหากษัตริย์

การกล่าวพาดพิงถึงในหลวงไม่น่าจะเป็นเรื่องร้ายแรงเพราะพระองค์ก็ได้ทรงประพฤติตามที่ถูกพาดพิงจริงๆ

แต่อาจเป็นที่ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ทำให้บางคนต้องแสดงอาการเดือดดาลเพื่อแสดงความจงรักภักดีโดยกล่าวหานายอับ บราโมวิทซ์ว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและเรียกร้องให้เนรเทศออกนอกประเทศ ขณะที่กองบัญชาการทหารสูงสุดปฏิเสธว่ากองทัพไม่ได้ให้ความช่วยเหลือเขมรแดง

และแก้ตัวแทนพระเจ้าอยู่หัวว่าไม่ทรงยุ่งเกี่ยวกับการเมือง แต่กระทรวงต่างประเทศของไทยออกแถลงการณ์เห็นด้วยกับอเมริกาทำให้เกิดแรงกดดันต่อกองทัพจนต้องถอนการสนับสนุนเขมรแดงตลอดปีต่อมา เป็นการตัดกำลังเขมรแดง
ที่สำคัญ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น