วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

พระทรงเหนื่อยยาก แต่ไทยจมปลักลงทุกที3


การแทรกแซงอีกอย่างหนึ่งของพระเจ้าอยู่หัวก็คือ

การที่ทรงรื้อฟื้นโทษประหารชีวิต จากเดิมที่ นักโทษประหารแต่ละรายมีสิทธิถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษจากพระเจ้าอยู่หัว ส่วนให
ญ่ทรงดึงฎีกาไว้และยืดการประหารออกไป และก็จะพระราชทานลดโทษ มีน้อย ครั้งมากที่จะทรงปล่อยให้มีการประหารชีวิตด้วยการคืนฎีกาคำร้องกลับไป

ทำให้พระองค์ทรงมีภาพลักษณ์ของพระผู้ทรงพระเมตตามหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น แต่ประเทศไทยก็ยังคงมีปัญหาอาชญากรรมที่รุนแรง ซึ่งพระองค์ไม่เคยได้สนพระทัยในเรื่องนี้เลย ทรงอ้างหลักพุทธศาสนาว่าเป็นแค่บาปเฉพาะตัวของอาชญากร แต่ในปี 2538 มีการประหารชีวิตเพิ่มขึ้นกรณีฆ่าคนตายและค้ายาเสพติดโดยในหลวง ทรง ปฏิเสธฎีกาและได้สร้างบรรทัด ฐานแก่กระบวนการยุติธรรมโดยทั่วไป มีการ วิสามัญฆาตกรรม ผู้ ต้องสงสัยเกิดขึ้นบ่อยครั้ง คล้ายยุคเผด็จการสฤษดิ์


พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลทรงแสดงบทบาททางโทรทัศน์บ่อยขึ้น


มีพระบรมราโชวาทแก้ปัญหาจราจรแก่ กทม.และตำรวจ ให้จัดการเดินรถทางเดียว โทรทัศน์แพร่ภาพข้าราชการนั่งพับเพียบฟังกระแสรับสั่งที่ทรงชี้บนแผนที่ตรง นั้นตรงนี้ ทั้งๆที่มีทีมงานและผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศทำงานกันอยู่แล้ว ภาพที่ปรากฏจึงเหมือนกับว่ามีแต่พระเจ้าอยู่หัวเท่านั้นที่ทรงกำลังแก้ปัญหา

นี้ เดือนตุลาคม
2536 ในหลวงทรงมอบหมายงานให้อธิบดีกรม ตำรวจเป็นรายการยาวเหยียด เช่น สร้างอุโมงค์ลอดทางแยก 23 แห่ง เพิ่มการขนส่งทางเรือ จัดหารถจักรยานยนต์ตำรวจ ปรับปรุงเฮลิค็อปเตอร์ตำรวจ ทรงสั่งการให้กทม.ทำตาม แผนแม่บทที่จัดทำโดยสถาบันเทคโนโลยีแมสสาจูเซทหรือเอมไอที Massachusetts Institute of Technology

ทรงแสดงความไม่สบพระอารมณ์เพราะมีคนมองว่าขบวนรถเสด็จของพระองค์ทำให้รถติด

แต่มีการปล่อยข่าวว่าทรงแอบขับรถออกมาตอนรถติด และทรงสำรวจการจราจรบนเฮลิค็อปเตอร์ รวมทั้งรับสั่งพระโอรสพระธิดาไม่ให้ใช้ขบวนรถ ให้ทนสภาพรถติดเหมือนคนอื่นๆซึ่งไม่เป็นความจริง
แม้แต่ น้อย ทรงพระราชทานเงินเก้าสิบล้านบาทเพื่อซื้อมอเตอร์ไซค์ให้ตำรวจจราจร โดยโหมโฆษณาว่าเป็นความยิ่งใหญ่ของ พระเจ้าอยู่หัว ทรงสั่งให้รัฐบาลเร่งแก้ ปัญหาจราจรให้ได้

เดือนธันวาคม
2537 ทรงตรัสว่า เราต้องแก้ไขต้นทางไป

ปลายทางหมายความว่า จัดให้ต้นทางกับปลายทางอยู่ในระยะที่ใกล้ขึ้น ถ้าใกล้ขึ้นแล้ว การใช้ถนนก็จะน้อยลง การใช้ถนน จำนวนของถนนหรือความยาวของถนนที่ถูกใช้นั้นก็น้อยลง ก็เท่ากับถนนมีมากขึ้น และรถน้อยลงหมายความว่าให้บ้านและที่ทำงานอยู่ ใกล้กัน ซึ่งฟังดูดีแต่ไม่ได้มีความหมาย เพราะส่วนใหญ่ซ้ำซ้อนกับสิ่งที่กำลังทำกันอยู่แล้ว ทรงให้ทำอุโมงค์ลอดทางแยกหลายแห่งขณะที่ทรงคัดค้านการขึ้นภาษีรถยนต์ แต่พระองค์ไม่เคยตรัสถึงปัญหาหลัก เช่นการก่อสร้างที่ไร้การวางผังควบคุม ไม่มีระบบขนส่งมวลชนที่ดี การเพิ่มจำนวนรถอย่างรวดเร็ว การที่ทรงนำเสนอสู่สาธารณะก็เพียงเพื่อเอา ความดีความชอบเป็นของพระองค์แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น


ต้นปี
2538 ทรง วิตกอาการประชวรของพระราชชนนี

แต่ในหลวงเองก็หวุดหวิดแทบพระทัยวายต้องเสด็จรับการผ่าตัดขยายหลอดเลือดพระ หทัย
ในช่วงประทับโรงพยาบาลศิริราชกลับทรงปรากฏพระองค์ทางโทรทัศน์รับสั่งให้เจ้าหน้าที่เข้าเฝ้าในช่วง ค่ำและหลังเที่ยงคืน ทำให้ประชาชนเข้าใจว่าพระองค์ทรงงานแก้ไขปัญหาทั้งวันทั้งคืน แต่มีน้อยคนที่รู้ว่าในหลวงมักจะบรรทมตอนเช้าและทำงานเฉพาะช่วงบ่ายและกลาง คืน พระองค์บรรทมดึกและ ตื่นราวๆเที่ยงวัน


13
กรกฎาคม 2538 พรรคประชาธิปัตย์ถูกมรสุมเรื่องทุจริตสปก.4-01


และการอภิปรายลงมติไม่ไว้วางใจ รัฐบาลนายชวนถูกแทนที่ด้วยรัฐบาลผสมที่นำโดยนายบรรหาร ศิลปอาชา โดยมีพรรคร่วมรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช พลเอกชวลิตและเศรษฐีรุ่นใหม่ พตท.ทักษิณ ชินวัตร

ในหลวงทรงออกหน้าจอโทรทัศน์ มีพระสุรเสียงที่หงุดหงิดต่อว่าเจ้าหน้าที่ กระทั่งพระราชชนนีสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2538

จึงได้เสด็จงานพระบรมศพเป็นเวลาหลายเดือนเกือบทุกวัน แต่ในเวลาที่พระสวดพระอภิธรรม จะเห็นในหลวงทรงศึกษารายงานการจราจรและร่วมประชุมอย่างคร่ำเครียดกับเจ้าหน้าที่ ทรงโปรดเกล้าฯให้นายกบรรหารเข้าเฝ้า
90 นาที เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาการจราจร ขณะที่รองนายกรัฐมนตรีสมัครกับพ.ต.ท.ทักษิณขัดแย้งกันเรื่องการแก้ปัญหาจราจร ในหลวงได้ช่องตำหนิรองนายกรัฐมนตรี

ทั้งสองคนว่าแก้ไขปัญหาจราจรไม่ได้เลยว่า ระหว่างสองฝ่าย มีแต่พูดพูดพูด

และก็เถียงเถียงเถียง เป็นข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ นายกบรรหารประกาศน้อมใส่เกล้าฯประสานรองนายกฯทั้งสอง โดยสี่วันต่อมาพวกเขาเข้าเฝ้าฯเป็นเวลาหลายชั่วโมง ไล่ดูแผนที่กรุงเทพฯ ลงรายละเอียดแต่ละพื้นที่ พตท.ทักษิณกล่าวยอมรับอย่างสิ้นสภาพว่าไม่เคยคิดในสิ่งที่พระเจ้าอยู่หัวทรงให้การแนะนำมาก่อนเลย

พระเจ้าอยู่หัวทรงแสดงความเกรี้ยวกราดเหยียดหยามนักการเมืองว่าเป็นพวกไร้ความสามารถและไม่ใส่ใจประชาชนซึ่งไม่ใช่เรื่องปกติธรรมดาและออกจะไม่งาม โดยทรงอ้างสิทธิตามรัฐธรรมนูญในฐานะพลเมืองที่จะตำหนิผู้นำ มีพระราชดำรัสว่าที่พูดอย่างนี้ก็ไม่ค่อยดีนัก เพราะเกือบจะเป็นการพูดเรื่องการเมือง และพวกเขาก็อาจไม่พอใจได้ว่า ทำไมกษัตริย์พูดเรื่องการเมือง ในความเป็นจริง กษัตริย์ก็มีสิทธิ ในความเป็นจริง กษัตริย์ก็เป็นพลเมืองไทยที่มีสิทธิและเสรีภาพภายใต้รัฐธรรมนูญ...

ตามรัฐธรรมนูญ ทุกๆ คนมีสิทธิและเสรีภาพที่จะพูด

ก็เลยขอใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญที่จะพูดอย่างนี้ ถ้าพวกเขาอยากจะหาความผิดทางกฎหมาย ก็เชิญ อยากได้ยินข้อหา เมื่อเสด็จเข้าโรงพยาบาลอีกครั้งเพื่อรักษาแผลที่กำเริบจากการผ่าตัด ผู้คนพากันพูดว่านายกบรรหารทำให้พระอาการโรคพระหทัยของพระองค์กำเริบต้นเดือนกันยายน 2538 กรุงเทพฯ เกิดน้ำท่วมหนัก

พระเจ้าอยู่หัวที่ยังทรงอ่อนระโหยจากการผ่าตัดได้โปรดเกล้าฯให้เจ้าหน้าที่ กทม
.และกรมชลประทานเข้าเฝ้าเป็นเวลาสามชั่วโมงซึ่งได้รับการเผยแพร่ทางโทรทัศน์ ทรงชี้ไปที่แผนที่ที่กองเป็นตั้ง ทรงอยากรู้ว่าทำไมคนที่อยู่ชานกรุงเทพฯ จึงไม่ได้รับการ ป้องกันจากภัยน้ำท่วม ซึ่งเป็นโวหารที่ทรงสรรหาถ้อยคำมาเชือดเฉือน

บ่อนทำลายรัฐบาลและนักการเมืองที่พระองค์ทรงปฏิบัติมาโดยตลอด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น