วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์2

เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการสินทรัพย์ต่าง ๆ สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้มีการจัดตั้งบริษัทในเครือขึ้น 2 บริษัท คือ

• บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด ทำหน้าที่บริหารการลงทุนในหุ้นอื่น ๆ นอกจาก ปูนซิเมนต์ไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และ เทเวศประกันภัย

• บริษัท วังสินทรัพย์ จำกัด ทำหน้าที่ดูแลการลงทุนอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่

ทั้งสองบริษัทเสียภาษีอากรเช่นเดียวกับบริษัททั่วไป
[แก้] หลักทรัพย์ลงทุน
หลักทรัพย์ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ส่วนใหญ่เป็นหุ้นใน 3 บริษัทหลักคือ ปูนซิเมนต์ไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และ เทเวศประกันภัย บริษัทเหล่านี้เสียภาษีอากรเช่นเดียวกับบริษัททั่วไป มีข้อมูลปัจจุบันดังนี้

• SCC : บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 1,200 ล้านบาท ราคาตลาดประมาณหุ้นละ 200 บาท
o สนง.ทรัพย์สินฯ ถือหุ้นประมาณ 30% จำนวนประมาณ 360 ล้านหุ้น มูลค่ารวมประมาณ 72,000 ล้านบาท
o ทุนลดาวัลย์ ถือหุ้นประมาณ 2% จำนวนประมาณ 23 ล้านหุ้น มูลค่ารวมประมาณ 4,600 ล้านบาท
• SCB : ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ทุนจดทะเบียนชำระแล้วประมาณ 15,000 ล้านบาท ราคาตลาดประมาณหุ้นละ 100 บาท
o สนง.ทรัพย์สินฯ ถือหุ้นประมาณ 8% จำนวนประมาณ 150 ล้านหุ้น มูลค่ารวมประมาณ 15,000 ล้านบาท
o ทุนลดาวัลย์ ถือหุ้นประมาณ 4% จำนวนประมาณ 80 ล้านหุ้น มูลค่ารวมประมาณ 8,000 ล้านบาท
• บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด เป็นบริษัทขนาดกลาง ทุนจดทะเบียน 120 ล้านบาท
o สนง.ทรัพย์สินฯ ถือหุ้นประมาณ 87% จำนวนประมาณ 10 ล้านหุ้น มูลค่ารวมประมาณ 87 ล้านบาท

[แก้] ผลการดำเนินงาน
บทความนี้ต้องการแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม เพื่อให้บทความน่าเชื่อถือและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
คุณสามารถช่วยพัฒนาวิกิพีเดีย โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงที่เหมาะสม ไม่ควรปล่อยให้งานเขียนของคุณปราศจากแหล่งอ้างอิง
รายละเอียดเพิ่มเติม การอ้างอิงแหล่งที่มา - การพิสูจน์ยืนยันได้ - วิธีการเขียน - ป้ายนี้มีไว้เพื่ออะไร

ภายหลังจากมีฐานะเป็นนิติบุคคลในปี พ.ศ. 2491 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีการบริหารงานเช่นเดียวองค์กรทั่วไป จนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ในปี พ.ศ. 2540 ซึ่งบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่สำนักงานทรัพย์สินฯ ถือหุ้นอยู่ได้รับความเสียหายอย่างหนัก จึงได้มีการปรับปรุงการบริหารงาน โดยยึดหลัก เศรษฐกิจพอเพียง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 และกิจการต่าง ๆ ที่ลงทุนเริ่มฟื้นตัวได้ในปี พ.ศ. 2546 ซึ่งทำให้สำนักงานทรัพย์สินฯ มีรายได้ในปี พ.ศ. 2546 ประมาณ 3,800 ล้านบาท

จากการแถลงข่าวประจำปี พ.ศ. 2548 ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดย นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้แจ้งว่าในปี พ.ศ. 2547 สำนักงานทรัพย์สินฯ มีรายได้ประมาณ 5 พันล้านบาท โดยประมาณ 90% เป็นรายได้จากเงินปันผลของหุ้นใน บริษัทปูนซิเมนต์ไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และเทเวศประกันภัย ที่เหลืออีกประมาณ 8% หรือประมาณ 400 ล้านบาท เป็นรายได้จากค่าเช่า ที่ได้รับจากประชาชน และหน่วยงานของราชการ ที่เช่าที่ดินของ สำนักงานทรัพย์สินฯ

[แก้] อ้างอิง
• พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479
• พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2484
• พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2491

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
• เว็บไซต์ สำนักงานทรัพย์ส่วนพระมหากษัตริย์
• แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
o ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย หรือ กูเกิลแมป
o แผนที่ จาก มัลติแมป หรือ โกลบอลไกด์

ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์






ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลัพระบาท ปกเกล้าปกกระหม่อม

ด้วยปวงข้าพระพุทธเจ้า รู้สึกน้อมสำนึกในพระมหากรุณาเป็นล้นพ้น จึงใคร่ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตนำเสนอพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ และพระราชบุญญาธิการอันเกริกไกรของพระองค์ท่านผู้เป็นกษัตริย์เหนือกษัตริย์ทั่วสากลโลก น้อมถวายพระเกียรติให้ปรากฎไปทั้งสากลจักรวาล

ด้วยว่าพระราชบุญญาธิการ และพระราชกรณียกิจดังกล่าว หน่วยงานราชการ และภาคเอกชนต่างทราบกันดี เพราะมีบันทึกไว้ทั้งเอกสารราชการและเอกสารชั้นต้นต่างๆ แต่จะหาใครถวายความจงรักภักดีถวายพระเกียรตินั้น หาไม่ได้เลย ปวงข้าพระพุทธเจ้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น