วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ความไม่พอเพียงของxxหลวง5

ปี 2519–2528 ช่วงที่นายสมหมาย ฮุนตระกูลและนายจรัส ชูโตเป็นผู้จัดการใหญ่เครือซิเมนต์ไทย ได้มีการเข้าซื้อกิจการเป็นจำนวนมาก เช่น บริษัทสยามคราฟท์ ผู้ผลิตกระดาษ คราฟท์ รายแรกของไทย

ตั้งบริษัทเซรามิค อุตสาหกรรมไทยและเข้าซื้อกิจการของโรยัลโมเสค

ซื้อกิจการบริษัท สยามบรรจุภัณฑ์ ซึ่งผลิตกระดาษลูกฟูก บริษัท ยางไฟร์สโตน (ประเทศไทย)

บริษัท แพนซัพพลาย ตัวแทนขาย รถขุด และรถเครน

อามิเกจแซงค์ (กรุงเทพฯ) ผู้ผลิตสุขภัณฑ์ หรือ สยาม ซานิตารีแวร์

อินเตอร์เนชั่นแนลแอนยิเนียริ่ง(ไอ อี ซี) จำหน่ายเครื่องจักรกล สื่อสารและโทรคมนาคม

บริษัทท่อซีเมนต์ใยหิน ไทยวนภัณฑ์ซื้อกิจการไม้อัดจากศรีมหาราชาและไทยทักษิณป่าไม้

กระเบื้องทิพย์ ผลิตกระเบื้องมุงหลังคาของบริษัทกระเบื้องซูเปอร์

กระดาษสหไทยผลิตกระดาษพิมพ์เขียน เอส
พี แบตเตอรี หรือ สยามฟูรูกาวา

ไทยอินดัสเตรียลฟอร์จจิงส์ผลิตอะไหล่มอเตอร์ไซต์ ฯลฯ

ในช่วง 2535 -2540 เครือซีเมนต์ไทยมีบริษัทร่วมลงทุนกว่า 130 บริษัท พนักงานกว่า 35,000 คน

ประกาศการลงทุนในต่างประเทศ 27 โครงการ ต่อมาได้ลดเหลือ 3 โครงการเท่านั้น

ธุรกิจในเครือซีเมนต์ไทยได้รับความคุ้มครองจากรัฐบาลมานานในทุกๆด้านจึงไม่ต้องพัฒนาปรับปรุงและผูกขาดขายในประเทศได้กำไรกว่าส่งออก คุณภาพก็ไม่จำเป็นต้องดีนัก และเข้าไปมีบทบาทสำคัญในกลุ่มสมาคมและสภาหอการค้าไทย มีการขยายตัวขนานใหญ่จากการกู้หนี้ต่างประเทศ ในปี 2539 บริษัทมีหนี้ต่างประเทศกว่า 60,000 ล้านบาท พอเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี 2540 ทำให้ขาดทุนกว่า 50,000 ล้านบาท

ส่วนธนาคารไทยพาณิชย์ใหญ่เป็นอันดับ 4 ได้รับอนุญาตประกอบกิจการวิเทศธนกิจ (BIBF) เป็นแห่งแรกของไทย ขยายการเปิดสาขาของธนาคารในต่างประเทศ ขยายการลงทุนอย่างขนานใหญ่จำนวน 87 บริษัท วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 ทำให้ขาดทุนมากกว่า 35,000 ล้านบาทในปี 2542

สำนักงานทรัพย์สินฯได้ขยายการลงทุนสู่ธุรกิจปิโตรเคมีที่ไทยมีศักยภาพและความพร้อม สามารถสร้างผลกำไรได้เร็ว ขณะที่ธุรกิจปูนซิเมนต์เริ่มอิ่มตัวและมีคู่แข่งมากขึ้น โดยถือหุ้นร้อยละ 10 ของบริษัทบางจากปิโตรเลียม ลงทุนวางท่อส่งแก๊สธรรมชาติกับ ปตท. ลงทุนร่วมกับแทรคเทเบิ้ลของเบลเยี่ยม Tractebel of Belgiumและบริติชแก๊สของอังกฤษ British Gas (International Gas Report 1996) ร่วมทุนกับบริษัทสยามเคมิคัลในโครงการปิโตรเซนไทยแลนด์ Petro Chain (Thailand) ถือหุ้นในบริษัทไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ (ทีพีซี) ผลิต PVC รายแรกและใหญ่ที่สุด

ของไทย ร่วมทุนกับMitsui Chemical ของญี่ปุ่น กับ Dow Chemical ของสหรัฐ และได้กลายเป็นธุรกิจหลัก Core Business ในเวลาอันรวดเร็วโดยมีธุรกิจปิโตรเคมีในเครือทั้งหมด 27 บริษัท

สำนักงานทรัพย์สินฯ มีสินทรัพย์ในเครือเกือบ 500,000 ล้านบาท ในปี 2540 มีการร่วมมือกับกลุ่มธุรกิจชั้นนำ ถือหุ้นไขว้กันระหว่างบริษัทในเครือ เช่น เยื่อกระดาษสยาม ไทยเศรษฐกิจประกันภัย อ่าวขาวไทย ทุ่งคาร์ฮาเบอร์ ไทยอินดัสเตรียลแก๊ส เงินทุนหลักทรัพย์บุคคลัภย์

ธนสยาม เงินทุนสินอุตสาหกรรม ยางสยาม อะโรเมติกส์ สยามสินธร ฯลฯ มีการเกาะกลุ่มกรรมการเพื่อรักษาอำนาจ สร้างสายสัมพันธกับกลุ่มธุรกิจและตระกูลต่าง เช่น

ธนาคารกสิกรไทยของล่ำซำ ธนาคารไทยทนุของทวีสิน

ธนาคารนครธนของหวั่งหลี ธนาคารเอเซียของเอื้อชูเกียรติ/ภัทรประสิทธิ์

ธนาคารนครหลวงไทย ของ มหาดำรงกุล/กาญจนพาสน์ อิตัลไทยของกรรณสูต

บุญรอดบริวเวอรี ของภิรมย์ภักดี ดุสิตธานีของปิยะอุย สยามเฆมี/ฟินิกซ์ปิโตรเลียม ของรัตนรัตน์

อ่าวขามไทย ของชาญวีรกุล ทุ่งคาร์ฮาเบอร์ ของกาญจนะวนิชย์

คริสเตียนีและนีลเส็น ของ อัศวโภคิน/เอื้อชูเกียรติ แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ของอัศวโภคิน

ศุภาลัยของตั้งมติธรรม สยามซินเทคคอนสตรัคชัน ของ ลีสวัสดิ์ตระกูล

ชินวัตรแซทเทลไลท์และชินวัตรคอมพิวเตอร์ ของชินวัตร

ทางด่วนกรุงเทพฯของ วิศวเวทย์ สามัคคีประกันภัย ของสารสิน ฯลฯ

กลุ่มธุรกิจเหล่านี้เติบโตภายใต้โครงสร้างที่เอื้อสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองทางกฎหมายจากนโยบายรัฐบาลที่โอบอุ้มคุ้มครองกันมาตลอด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น