วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

พระทรง เหนื่อยยาก แต่ไทยจมปลักลงทุกที8

พระบรมราโชวาท ธันวาคมปี 2538 ตลอดสองชั่วโมงกว่า

ทรงบรรยายพระอัจฉริยภาพในการจัดการเรื่องน้ำ การพัฒนาเศรษฐกิจ ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรชั้นยอด เป็นนักบริหารที่อุทิศพระองค์และมีประสิทธิภาพ เป็นธรรมราชาผู้ปราดเปรื่องสารพัดเรื่อง
หลังจากรับถวายพระราชสดุดีอย่างท่วมท้นพร้อมรับการถวายพระพุทธรูปทองคำจากนายกบรรหาร ทรงเริ่มพระราชทานพระบรมราโชวาทว่าคนควรจะเห็นคุณค่าของน้ำ

ทรงยกโครงการสุริโยทัยที่อยุธยา ทรงร่ายยาวตัวเลขต่างๆ


ปริมาณน้ำ ระดับน้ำ อัตราการไหล ซึ่งฟังดูเหมือนว่าทรงเชี่ยวชาญมาก จากนั้นทรงโยงเข้าเรื่องทฤษฎีใหม่ หรือเกษตรยั่งยืน ระบบจัดการไร่นาสวนผสม พึ่งตนเองขนาดเล็ก
15 ไร่ต่อครอบครัวจะมีผลิตผลที่พอเพียง มีชีวิตเป็นอิสระจากตลาด ทรงสถาปนาทฤษฎีใหม่ให้เป็นนโยบายแห่งชาติโดยบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปี 2538 มีการแจกจ่ายหนังสืออธิบายทฤษฎีใหม่แก่ผู้ฟัง

ทรงมีโครงการพระราชดำริสร้างแหล่งเก็บน้ำย่อยๆ

เรียกว่า แก้มลิง จากที่ได้ทอดพระเนตรลิงเก็บกล้วยไว้ในกระพุ้งแก้มก่อนจะกินเข้าไป ทรงอ้างสถิติตัวเลขเรื่องน้ำปริมาณน้ำในแม่น้ำ อัตราการเกิดฝนและระดับน้ำท่วม ทรงใช้ตัวเลขเหล่านี้เพื่อพิสูจน์ว่าเขื่อนป่าสักมีความจำเป็น และน่าจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนได้ เพราะจะมีน้ำ
800 ล้านลูกบาศก์เมตรเก็บไว้ ทรงบรรยายแผนที่ แผนภูมิและสถิติต่างๆ แสดงให้เห็นว่าทรงรอบรู้ มีรายละเอียดน่าประทับใจ

ทรงเน้นถึงคุณค่าของโครงการแก้มลิง

รับสั่งสารพัดให้ทำอย่างโน้นอย่างนี้ ทรงมีวิธีการเสนอที่ค่อนข้างวกวนและมักจะทรงสอดแทรกอารมณ์ขันนอกเรื่องนอกราวอยู่เรื่อยๆ
มีทั้งวิทยาศาสตร์และไสยศาสตร์ พสกนิกรต้องเชื่อต้องศรัทธาในพระองค์ ข้าราชการก็ต้องรีบเร่งทำโครงการทฤษฎีใหม่ หรือติดป้ายทฤษฎีใหม่ให้กับโครงการที่มีอยู่แล้ว แม้แต่โครงการที่ริเริ่มและสนับสนุนโดยหน่วยงานพัฒนาของต่างประเทศ

พระเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให้จัดพิมพ์หนังสือเล่มที่สามที่ทรงใช้นิทานชาดกเรื่องพระมหาชนก

เปรียบเทียบเชื่อมโยงกับแผ่นดินของพระองค์ โดยทรงปรับปรุงใหม่ในรูปนิทานสำหรับเด็ก วาดภาพประกอบโดยศิลปินชั้นนำของประเทศ เป็นเรื่องของเจ้าชายที่ราชบัลลังก์มิถิลาของพระราชบิดาได้ถูกพระเจ้าอาผู้ชั่วร้ายแย่งชิงไป พระมหาชนกได้ออกเดินทางค้าขายเพื่อระดมทุนสร้างกองทัพทวงราชบัลลังก์คืน เมื่อเรือของพระองค์อับปาง ทรงรอดพระชนม์ด้วยพละกำลังและสติปัญญา หลังลอยคออยู่ในทะเลเจ็ดวันก็ได้รับการช่วยเหลือจากนางมณีเมขลาที่อุ้มพระองค์ไปส่งยังสวนในเมืองมิถิลาขณะที่พระเจ้าอาสิ้นพระชนม์ไปแล้ว พระมหาชนกสมรสกับพระธิดาของพระเจ้าอาเป็นกษัตริย์ปกครองมิถิลานครเป็นเวลาเจ็ดพันปี

จนได้บรรลุการรู้แจ้ง ทรงพบต้นมะม่วงต้นหนึ่งไร้ผลแต่เขียวงาม

อีกต้นออกผลมีรสหวานอร่อย แต่ถูกดึงถูกโค่นโดยคนที่มารุมแย่งชิงผลมะม่วง ทำให้ทรงระลึกว่าการมั่งมีทรัพย์มีแต่จะนำมาซึ่งความทุกข์ และการไม่มีทรัพย์กลับนำมาซึ่งความสุข พระองค์จึงสละราชสมบัติและพระมเหสี ทรงปลงพระเกศาเป็นนักพรต เร้นกายหายลับเข้าป่า ในหลวงได้เน้นถึงความเพียรพยายามของพระมหาชนกขณะทรงลอยคออยู่ในทะเลโดยทรงถือเป็นการปฏิบัติธรรม
แต่ในหลวงทรงดัดแปลงเรื่องพระมหาชนกตอนที่ทรงเห็นต้นมะม่วง แทนที่พระมหาชนกจะออกบวชเป็นนักพรตตามต้นฉบับเดิม แต่พระมหาชนกฉบับในหลวงกลับทรงใช้เทคโนโลยีการเกษตรรักษาต้นมะม่วงเอาไว้และทรงเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนด้วยการให้การศึกษา

นับตั้งแต่อุปราชเสนาอำมาตย์ ถึงคนเลี้ยงช้างเลี้ยงม้า

มีมหาวิทยาลัยถ่ายทอดภูมิปัญญาของพระองค์ ทรงนำชีวิตและความเขียวขจีกลับคืนสู่ประเทศที่รกร้างถูกทำลาย ทำให้คนไทยต้องนึกถึงในหลวงในบทบาทของพระมหาชนก
ที่ทรงปฏิเสธที่จะเกษียณเพื่อแสวงหาความหลุดพ้นเนื่องจากพระองค์ยังไม่บรรลุเป้าหมายหรือจุดสูงสุด คือต้องทรงบรรลุภารกิจทางโลกย์โดยสมบูรณ์ก่อน วังสั่งพิมพ์หนังสือทั้งในภาษาไทยและอังกฤษ และจัดงานเปิดตัวหนังสือสำหรับนักข่าวทั้งไทยและเทศ ครั้งแรกเป็นฉบับนักสะสมปกแข็งเล่มใหญ่ ขายเอาเงินสมทบทุนการกุศลราคา 2,000 และ 200 เหรียญสหรัฐฯหรือเล่มละกว่าห้าหมื่นบาทและกว่าห้าพันบาท

โดยแถมเหรียญทองคำและเหรียญเงินที่ปลุกเสกโดยพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร

แต่พอทำยอดขายไม่ได้ ธนาคารแห่งชาติก็บีบให้ธนาคารของรัฐและเอกชน
15 แห่งขายทำยอดให้ได้ 15 ล้านบาท บางธนาคารต้องจ่ายเงินซื้อแจกลูกค้าชั้นดี ปีถัดมาก็ออกฉบับปกอ่อนสี่สีราคา
250 บาท และถัดไปอีกปีก็เป็นหนังสือการ์ตูนราคาย่อมเยาว์สำหรับเด็กเขียนภาพโดยชัย ราชวัตร (นายสมชัย กตัญญุตานันท์) บริษัทห้างร้านต่างๆ พากันเหมาซื้อไปแจก ได้ทั้งบุญได้ทั้งการลดหย่อนภาษี บางรายมอบให้วัดไปแจกต่อ กลายเป็นการทำบุญถวายเป็นพระราชกุศล

พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลทรงยกเรื่องพระมหาชนกเพื่อสะท้อนถึงพระวิริยะอุตสาหะของพระองค์ที่ได้ทรงปฏิบัติเพื่อพสกนิกรมาโดยตลอด แต่ก็ยังทรงเถลไถลมิได้สำนึกว่าทรงใช้เวลาปกครองประเทศไทยมานานเต็มทีจนได้รับการบันทึกว่านานที่สุดในโลก

ในหลวงทรงโอ้อวดมาตลอดถึงพระอัจฉริยภาพสารพัดขณะที่ประเทศไทยก็ไม่ได้เจริญก้าวหน้าไปถึงไหน แต่ทรงเชื่อว่าพระองค์ยังต้องปกครองประเทศไทยต่อไปเพื่อบรรลุพระราชภารกิจที่สมบูรณ์ ในขณะที่ประเทศชาติมีแต่จะจมปลักลงไปทุกที ไม่ได้ดีเลิศอย่างที่ทรงอวดอ้างแต่อย่างใด....


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น