นอกจากนั้นผู้อำนวยการสำนักงานฯ ยังมีหน้าที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ซึ่งคณะกรรมการของสำนักงานฯ ก็ได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์เช่นเดียวกัน ในขณะที่ พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ฉบับ พ.ศ. 2479
ในสมัยคณะราษฎรเรืองอำนาจนั้นได้ใช้คำว่า “พระบรมราชานุมัติ” คณะกรรมการที่ปรึกษาจัดระเบียบทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เท่านั้น (พ.ร.บ. ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ 2479)การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกประการหนึ่งของพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2491 ซึ่งมีผลต่อการเพิ่มอำนาจทางเศรษฐกิจของสถาบันพระมหากษัตริย์ คือการโอนทรัพย์สินต่าง ๆ จากกระทรวงการคลังมาอยู่ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การโอนเปลี่ยนชื่อโฉนดที่ดินจากสำนักงานพระคลังข้างที่มาเป็นสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ในมาตราที่ 3 ของพ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2491 ได้มีการแก้ไขและเปลี่ยนคำจำกัดความของ “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” โดยให้มีความหมายและขอบเขตกว้างขวางขึ้น เมื่อเทียบกับในพ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2491 ดังจะเป็นว่า “ทรัพย์สินส่วนพระองค์”นั้นหมายรวมถึง “ทรัพย์สินที่รัฐบาลทูลเกล้าถวาย” ด้วย นอกจากนั้นทรัพย์สินที่ได้มานอกจากที่ได้มาในฐานะที่เป็นพระมหากษัตริย์ก็มีการเปลี่ยนแปลงให้เป็น “ทรัพย์สินนั้นเป็นส่วนของพระองค์” ซึ่งทรงได้มาไม่ว่าในทางใดและเวลาใด
นอกจากนั้นตามมาตราที่ 6 และที่ 7 ของพระราชบัญญัติฉบับนี้ยังกล่าวว่าการดูแลผลประโยชน์ของ “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” ให้เป็นไปตามเห็นชอบโดยอิสระของพระมหากษัตริย์ (พ.ร.บ. ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ 2491) และเพื่อให้มีการบริหารจัดการทรัพย์สินส่วนนี้ยังได้มีการจัดตั้ง “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์”ขึ้นมาเพื่อควบคุมทรัพย์สินส่วนนี้อีกด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานนี้แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ผู้อำนวยการคนปัจจุบัน คือ พลตรี หม่อมหลวงอัสนี ปราโมช
การเพิ่มขึ้นของอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์มิเพียงแต่กระทำโดยผ่านการแต่งตั้งผู้อำนวยการและคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เพื่อให้ปฏิบัติภารกิจในอันที่จะสนองนโยบายการลงทุนและเพิ่มรายได้ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในฐานะนิติบุคคลแล้ว ในทางกฎหมายพระมหากษัตริย์สามารถจะใช้พระราชอำนาจในการใช้รายได้หรือทรัพยากรอื่น ๆ ของสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ตามพระราชอัธยาศัย เพราะจากการแก้ไข พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479 นั้น ในมาตราที่ 6 ของ พ.ร.บ. ฉบับแก้ไข พ.ศ.2491 (ฉบับที่ 3) ระบุว่า “รายได้จากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่กล่าวในมาตรา 5
วรรค 2 นั้นจะจ่ายได้ก็แต่เฉพาะในประเภทที่ต้องจ่ายตามข้อผูกพัน รายจ่ายที่จ่ายเป็นเงินเดือน บำเหน็จ บำนาญเงินรางวัล เงินค่าใช้สอย เงินการจร เงินลงทุน และรายการในพระราชกุศล เหล่านี้เฉพาะที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้วเท่านั้น รายได้ซึ่งได้หักรายจ่ายตามความในวรรคก่อนแล้ว จะจำหน่ายใช้สอยได้ก็แต่เฉพาะพระมหากษัตริย์ตามพระราชอัธยาศัย ไม่ว่ากรณีใด ๆ หรือโดยคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เฉพาะในกรณีเกี่ยวกับพระราชกุศลอันเป็นการสาธารณะหรือในทางศาสนาหรือราชประเพณีบรรดาที่เป็นพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์เท่านั้นการเปลี่ยนแปลง
พ.ร.บ. ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นมิเพียงแต่ได้ส่งผลต่อการคล่องตัวและการบริหารจัดการสินทรัพย์และการลงทุนของสำนักงานทรัพย์สินฯ ที่เพิ่มขึ้นเป็นอันมาก แต่ทว่ายังเป็นการได้มีการถ่ายเทการบริหารจัดการทรัพยากร ซึ่งในอดีตทรัพย์สินเกือบทั้งหมดของสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ในความดูแลของกรมพระคลังข้างที่ (ทั้งทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และส่วนพระองค์) ไปสู่การบริหารจัดการของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์ ตามลำดับ ซึ่งมีฐานะเป็นอิสระและคล่องตัวมากกว่าการดูแลรักษา และจัดผลประโยชน์ของกรมพระคลังข้างที่ (และต่อมาคือ สำนักงานพระคลังข้างที่) ซึ่งมีฐานะเป็นหน่วยราชการและมีข้อจำกัดในการดูแลรักษาและจัดการผลประโยชน์ของทรัพย์สินที่เป็นของสถาบันพระมหากษัตริย์และส่วนพระองค์ อันเทียบเท่ากับทรัพย์สินของเอกชนนั่นเอง
กล่าวโดยสรุปนับแต่ปี พ.ศ. 2491 เป็นต้นมาจึงถือว่าเป็นการเติบโตอย่างแท้จริงของการเพิ่มขึ้นของอำนาจทางเศรษฐกิจของพระมหากษัตริย์เพราะมีการปรับปรุงกฎหมายเพื่อสร้างอำนาจและผลประโยชน์ให้แก่สถาบันพระมหากษัตริย์ โดยผ่านการบริหารสำนักงานทรัพย์สินฯ (และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์)โดยผ่านการใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ รวมทั้งการโอนทรัพย์สินของสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในความดูแลของรัฐบาลและหน่วยงานราชการ (โดยเฉพาะในช่วงที่พระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ได้ลดลงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ถึงปีพ.ศ. 2490) สำนักงานทรัพย์สินฯ (และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์)
จึงสามารถใช้ประโยชน์เปลี่ยนสภาพเป็นสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในฐานะนิติบุคคล ในปี พ.ศ. 2491 ย่อมมีผลต่อการระดมทุนของกษัตริย์ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ จากกลุ่มทุนที่มีขอบเขตการลงทุนจำกัดในเฉพาะข้าราชบริพาร ผู้ประกอบการชาวจีนฯลฯ มาสู่การประกอบการที่เป็นมหาชน และใช้การจัดการบริหารแบบเอกชนและสากลทั่วไปรวมทั้งมีทิศทางการบริหารที่เน้นผลกำไรจากการลงทุนมากขึ้น และในฐานะที่สำนักงานทรัพย์สินฯ มีการสะสมทุนและสะสมความมั่งคั่งนับแต่ทศวรรษ 2430 เป็นต้นมา จึงได้เปรียบกว่ากลุ่มทุนอื่น ๆ ในประเทศไทย ดังนั้นเมื่อเศรษฐกิจไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลงจึงเปิดโอกาสให้ “ทุน” ของพระมหากษัตริย์เจริญเติบโตเพิ่มขึ้นตามลำดับ
การลงทุนทางธุรกิจของสำนักงานทรัพย์สินฯ พ.ศ. 2491 – 2540
ในช่วง พ.ศ. 2491 – 2540 การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากภาคเกษตรกรรมมาสู่อุตสาหกรรมและบริการ การเติบโตของเมืองกรุงเทพฯ การหันเหแนวทางการพัฒนาประเทศตามแนวทางเสรีนิยมของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์(ภายหลังปี 2502) บทบาทของสังคมเวียตนามต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย (ปี 2503 - 2515) การเพิ่มขึ้นของพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ ตลอดจนลักษณะพิเศษของการบริหารจัดการของสำนักงานทรัพย์สินฯ ภายใต้พระราชบัญญัติการจัดระเบียบของสำนักงานทรัพย์สินฯ(พ.ศ. 2491)
เป็นปัจจัยสำคัญต่อ “การสะสมทุน” ของสำนักงานทรัพย์สินฯ และ “ทุน” ของสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้กลายเป็น “ทุน” ที่ทรงอิทธิพลและชั้นแนวหน้าต่อการเศรษฐกิจและสังคมไทย นิตยสารฟอร์บส์ ได้ระบุว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 มีทรัพย์สินมากถึง 2,000 ล้านดอลลาร์ โดยประเมินจากที่ดินในเขตกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด อีกทั้งหลักทรัพย์ในบริษัทต่าง ๆการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมและบริการรวมทั้งการเจริญเติบโตของเมืองกรุงเทพฯ มีผลต่อการขยายตัวของตลาดและโอกาสในการลงทุนของสำนักงานทรัพย์สินฯ เพื่อแสวงหารายได้ โดยที่รายได้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น