ซึ่งหมายถึง สินทรัพย์ที่ใช้เพื่อผลประโยชน์ส่วนของแผ่นดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวังต่าง ๆ (นิยามของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทรัพย์สินส่วนพระองค์ และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติ
คอร์รัปชั่นของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างคณะรัฐบาลกับราชสำนักได้เพิ่มขึ้นตามลำดับ นอกจากจะพยายามริดรอนอำนาจทางการเมืองและการบริหารประเทศจากพระมหากษัตริย์ รัฐบาลในขณะนั้นได้ตั้งคนเข้าไปควบคุมการเงินและการใช้จ่ายของสำนักงานทรัพย์สินอีกด้วย อาทิเช่น การแต่งตั้งนายชุณห์ บินณทานนท์ นาวาเอก หลวงกาจสงคราม พันตรีเผ่า ศรียานนท์ ไปเป็นผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ ซึ่งในบางกรณีได้นำสำนักงานทรัพย์สินฯ
ไปร่วมลงทุนในกิจการรัฐวิสาหกิจของคณะราษฎร์และเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นฐานทางเศรษฐกิจแก่คณะราษฎรด้วยอำนาจทางเศรษฐกิจของสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ลดลงต่อไปอีกเมื่อรัฐบาลได้ตรวจสอบทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และพบว่าเงินจำนวนถึง 4.19 ล้านบาทในบัญชีของกรมพระคลังข้างที่ได้ถูกสั่งจ่ายไปโดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก่อนที่จะสละราชสมบัติในปี พ.ศ. 2475– 2477
เมื่อการตรวจสอบเสร็จสิ้นลงในปี พ.ศ. 2482 กระทรวงการคลังก็ได้มอบเรื่องราวให้อัยการเป็นโจทย์ยื่นฟ้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าได้ทรงโอนทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ไปเป็นของส่วนพระองค์ โดย “ไม่มีอำนาจที่จะทำได้โดยชอบด้วยกฎหมายและโดยไม่มีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ” คดีนี้ใช้เวลา 2 ปีเศษ และในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2484 ศาลก็ได้ตัดสินให้พระองค์ทรงแพ้คดี พระองค์จะต้องคืนเงิน 4.19 ล้านบาท รวมทั้งดอกเบี้ยซึ่งเป็นเงินทั้งสิ้นเท่ากับ 6.2 ล้านบาท ให้กับรัฐบาล
สรุปสำนักงานทรัพย์สินฯ ในยุคคณะราษฎร
กล่าวโดยสรุป รัฐบาลคณะราษฎรได้ออกพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479 ซึ่งเป็นการแบ่งแยกทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
1. ทรัพย์สินส่วนพระองค์ ซึ่งหมายความว่า “ทรัพย์สินหรือสิทธิอันติดอยู่กับทรัพย์สินซึ่งมีอยู่หรือเกิดขึ้นในส่วนใดๆ แห่งราชอาณาจักร ถ้า
(ก) ทรัพย์สินหรือสิทธิเช่นว่านั้น เป็นของพระมหากษัตริย์อยู่แล้วในเมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ และพระองค์ทรงมีสิทธิที่จะจำหน่ายสิ่งเหล่านั้นได้ก่อนครองราชสมบัติ
(ข) ทรัพย์สินหรือสิทธิเช่นว่านั้น ได้ตกมาเป็นของพระองค์ในเมื่อหรือภายหลังแต่เวลาที่ครองราชสมบัติโดยทางใดๆ จากบรรดาพระราชบุพการีใดๆ หรือจากบุคคลใดๆ ซึ่งไม่ได้เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรนี้
(ค) ทรัพย์สินหรือสิทธิเช่นว่านั้น ได้มาหรือได้ซื้อมาจากเงินส่วนพระองค์”
2. ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งหมายความว่า “ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ ซึ่งใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่าพระราชวัง”
3. ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งหมายความว่า “ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์นอกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังกล่าว”
นัยสำคัญของการแบ่งทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ออกเป็น 3 ส่วนดังกล่าว ก็คือ ได้มีการแบ่งแยกทรัพย์สินที่พระมหากษัตริย์ทรงถือครองในฐานะ “บุคคล” (ทรัพย์สินส่วนพระองค์) และทรัพย์สินที่พระมหากษัตริย์ทรงถือครองในฐานะที่ดำรงตำแหน่ง “ประมุข” ของประเทศ (ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์) “
ขณะเดียวกัน พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479 ได้มีการกำหนดให้ “ทรัพย์สินส่วนพระองค์ ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บรรดาที่เป็นเครื่องอุปโภคบริโภคนั้น ให้อยู่ในความดูแลรักษาของสำนักพระราชวัง” ส่วน “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นอกจากที่กล่าวไว้ในวรรคก่อน (บรรดาที่เป็นเครื่องอุปโภคบริโภค) ให้อยู่ในความดูแลรักษาของกระทรวงการคลัง
นอกจากนี้ ใจความสำคัญของพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479 ...... และการกำหนดให้ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และทรัพย์สินส่วนพระองค์ได้รับการยกเว้นการเก็บภาษีอากร
รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 กับการกลับมาคืนอำนาจทางเศรษฐกิจให้กษัตริย์
ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2490 – เมษายน 2491 เป็นระยะเวลาที่ฝ่ายอนุรักษ์ – กษัตริย์ ซึ่งมีแกนกลางอยู่ที่พรรคประชาธิปัตย์ได้กลับขึ้นมามีอำนาจอีกครั้งได้มีการเสนอแก้ไข
“พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479” และต่อมาได้กลายเป็น
พระราชบัญญัติจัดระเบียบฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2491 ซึ่งได้มีการแก้ไข พ.ร.บ.ฉบับเก่าหลายมาตราซึ่งส่งเสริมและสนับสนุนให้อำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์เข้มแข็งขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขให้สำนักงานทรัพย์สินมีสภาพเป็นนิติบุคคลที่เป็นอิสระจากรัฐบาล
การที่องค์กรเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย จึงมีอำนาจกระทำนิติกรรมต่าง ๆ ด้วยตัวเองได้ และอำนาจในการกระทำนิติกรรมต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กระทำได้โดยผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มอบอำนาจสมบูรณ์ผูกพันสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ นอกจากนี้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ยังสามารถเป็นโจทย์ฟ้องคดีเอง หรือถูกฟ้องในคดีต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่ดิน ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากที่มีทั้งเป็นโจทย์และเป็นจำเลยได้
ในขณะเดียวกันการเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายย่อมมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการและลงทุนในกิจการทางเศรษฐกิจต่างๆ เพื่อนำมาซึ่งการแสวงหารายได้และผลประโยชน์อื่น ๆ อาทิเช่น โดยการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์(ที่ดิน และ/หรืออาคาร) และการลงทุนซื้อหุ้นต่าง ๆ เช่น บริษัทปูนซีเมนต์ไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นต้น
ลักษณะของความเป็นนิติบุคคลและความคล่องตัว ตลอดจนเป็นการคืนอำนาจให้กับกษัตริย์ ดังจะเห็นได้จากในมาตราที่ 4 ที่ให้ “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นนิติบุคคลและเป็นอิสระจากรัฐบาล โดยตั้ง “คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” ทำหน้าที่บริหารกิจการ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการคลังเป็นประธาน โดยตำแหน่ง และกรรมการอีกไม่น้อยกว่า 4 คน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์”
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น