สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ปรับนโยบายค่าเช่า รวมทั้งการนำอสังหาริมทรัพย์มาแสวงหารายได้ในเชิงพาณิชย์มากขึ้น
เช่น ที่ดินบริเวณโรงเรียนเตรียมทหารเดิม จำนวน 120 ไร่และโครงการพัฒนาบริเวณถนนราชดำเนินกลาง รวมถึงการทำสัญญาให้บริษัทวังเพชรบูรณ์ของเตชะไพบูลย์ พัฒนาโครงการเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์บนที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินฯบริเวณวังสระปทุม ต่อมามีปัญหาการเงินจนถูกถอดถอนสิทธิต้องจ่ายค่าเสียหายกว่า 6 พันล้านบาท และได้เซ็นสัญญาใหม่กับ บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา (Central Pattana Plc) ของจิราธิวัฒน์ อายุสัญญา 30 ปี ค่าเช่าระยะยาว 2,000 ล้านบาท พัฒนาให้เป็นคอมเพล็กซ์ สำนักงานให้เช่า 45 ชั้น ชื่อ เซนทรัลเวิร์ลพลาซ่า
มีการต่อสัญญาเช่าที่ดินโรงแรมดุสิตธานีอีก 15 ปี มูลค่า 1,100 ล้านบาท
มีชุมชนแออัดที่อยู่ในที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินฯ 73 ชุมชน
ที่ดินของทรัพย์สินฯราว 30% ในกรุงเทพฯ ให้ราชการเช่าโดยค่าเช่าต่ำมากและมักอยู่ในทำเลย่านธุรกิจ เช่น ถนนพระราม 6 (บริเวณองค์การเภสัชกรรม) ถนนราชวิถี (ทุ่งพญาไท) ถนนพระราม 1 (ที่ตั้งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติใกล้สยามสแควร์) ฯลฯ ส่งผลให้ผู้เช่าอยู่อย่างแออัดเนื่องจากได้ค่าเช่าราคาถูก เมื่อต้องการนำที่ดินมาทำธุรกิจก็ต้องไล่ที่ผู้เช่าหรือผู้อยู่อาศัยเดิม
เช่น บริเวณราชวิถีใกล้อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เขตเทพประทานคลองเตย และชุมชนแออัดตรงข้ามกับศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์
ทำให้การพัฒนาเมืองและการใช้ที่ดินเพื่อประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจในกรุงเทพฯถูกปล่อยไปตามยถากรรม และยังมีที่ดินกระจายไปในย่านธุรกิจทั่วกรุงเทพ เช่น ย่านสะพานขาว ย่านเฉลิมโลกตรงข้ามศูนย์การค้าราชประสงค์ ถนนวรจักรแขวงจักรวรรดิ ถนนพระราม4 แขวงสีลม ถนนจักรพรรดิพงษ์ แขวงบ้านบาตรป้อมปราบ ถนนเจริญกรุงแขวงป้อมปราบ ถนนสีลมแขวงสีลม ซอยหลังสวนถนนเพลินจิตแขวงลุมพินี ถนนพิษณุโลกแขวงสวนจิตรลดา ซอยต้นสนถนนเพลินจิต ซอยพิพัฒน์ถนนสีลม ถนนวิสุทธิ์กษัตริย์บางขุนพรหม ซอยสนามคลีหรือซอยโปโลถนนวิทยุ ถนนสามเสนแขวงวชิระ
สำนักงานทรัพย์สินฯได้ถือหุ้นโรงแรมหลายแห่ง เช่น
1.รีเจนท์ สยามอินเตอร์คอนติเนนตัล
2.ฮิลตัน ปรินเซส ดุสิตธานี
3.แอร์พอร์ต รอยัลออคิด
4.บางกอกอินเตอร์คอนติเนนตัล
5.โอเรียลเต็ล เป็นต้น
6.โรงแรมดุสิตธานี
ได้ขยายกิจการทั้งในรูปของบริษัทย่อยและบริษัทร่วมเป็นกลุ่มดุสิตธานีและรีสอร์ท
กลุ่มโรงแรมธานีและรีสอร์ท มีเครือข่าย Franchise และได้ร่วมทุนกับโรงแรมต่างประเทศและในประเทศ เข้าซื้อกิจการโรงแรมเคมพินสกี้ Kempinski 23 แห่ง ในประเทศต่าง ๆ ตั้งบริษัทฟิลลิปปินโฮเตลไลเออร์ Phillipine Hotelier Inc. มีโรงแรมที่ฟิลลิปปินส์ ถือหุ้นในดุสิตแปซิฟิค Dusit pacific NV. ถือหุ้นบริษัทโรงแรมเมลโรสที่อเมริกาMelrose USA บริษัท ดีพีเอ็มเอ็น อินดัสตรี จำกัด ประกอบธุรกิจรับซักรีด และบริษัท เวิลด์ คลาส เรนท์ อะคาร์ จำกัด ให้ธุรกิจเช่ารถ
มีโครงการอาคารเช่า เช่น อาคารซิกโก้(บริษัทเงินทุนสินอุตสาหกรรม จำกัด มหาชน The Siam Industrial Credit Public Company Limitedของธนาคารไทยพาณิชย์) เสริมมิตรทาวเวอร์ สามยอด เทพประทาน ตลาดเจริญผล บางกอกบาซาร์ อาคารสินธรถนนวิทยุ ให้เช่าที่ดินแก่หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ ประชาชนทั่วไป ในย่านพญาไท เจริญผล เยาวราช แพร่งสรรพศาสตร์ ถนนพระอาทิตย์ เป็นต้น
ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมทั้งสิ้นเกือบ 300 บริษัท โดย 43 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
1. มีอุตสาหกรรม 37 แห่ง สถาบันการเงิน 11 แห่ง ประกันภัย/คลังสินค้า 8 แห่ง โรงแรม 8 แห่ง
2. พัฒนาที่ดิน/ก่อสร้าง 6 แห่ง ธุรกิจบริการ/สื่อสารมวลชน 9 แห่ง
3. รายได้บริษัทปูนซีเมนต์และบริษัทในเครือสูงเกินหลักแสนล้านบาทเป็นครั้งแรก ในปี 2538
4. ได้ร่วมลงทุนกับทุนต่างประเทศ เช่น กลุ่มโอบายาชิบริษัทก่อสร้างยักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่น ในนามบริษัท นันทวัน หรือไทยโอบายาชิ
5. ร่วมกับบริษัทเซโรกราฟฟิค ซิสเต็ม หรือไทยฟูจิ ซีรอค ขายเครื่องถ่ายเอกสารอุปกรณ์สำนักงาน ลงทุนกับบริษัทไทยโอยาเล็นซ์
6. สยามคูโบตาดีเซล วาย เค เค ซิปเปอร์ ไว เค เค เทรดดิ้ง
7. ร่วมลงทุนกับกิจการขนาดใหญ่ เช่น
7.1 ธนาคารกรุงไทย
7.2 ปิโตรเคมีแห่งชาติ ปุ๋ยแห่งชาติ
7.3 ไทยออยส์ ที่ควบคุมปัจจัยการผลิตสำคัญของประเทศ และขยายตัวเร็วมาก เช่น
7.4 บริษัทปิโตรเคมีแห่งชาติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น