เมื่อการขยายตัวการก่อสร้างในกรุงเทพฯ กำลังขยายตัว เพราะการขยายตัวทางเศรษฐกิจในกรุงเทพฯ กรมพระคลังข้างที่นอกจากจะได้ลงทุนสร้างห้องแถวและตลาดขึ้นในย่านที่มีเศรษฐกิจใหม่และกำลังเจริญแล้วซึ่งมีผลต่อการขยายตัวของความต้องการปูนซีเมนต์สูงขึ้น กรมพระคลังข้างที่ได้ก่อตั้งบริษัทปูนซีเมนต์ไทย ในปี พ.ศ. 2456 โดยลงทุนเป็นจำนวนเงินห้าแสนบาทจากจำนวนเงิน 1 ล้านที่ต้องการใช้ในการก่อตั้ง (ผาสุก 2542 : 178) อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทยซึ่งดำเนินการโดยกรมพระคลังข้างที่เป็น
อุตสาหกรรมที่ผูกขาดรายเดียวมาเนิ่นนานจนกระทั่งทศวรรษ 2490 และมีบทบาทต่อการก่อสร้างและการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยจนถึงปัจจุบันด้วยลักษณะพิเศษที่กรมพระคลังข้างที่ที่เป็นทุนของราชสำนัก รวมทั้งเป็นหน่วยราชการที่เป็นอิสระไม่ได้ขึ้นอยู่กับเสนาบดีโดยตรง หากแต่ขึ้นอยู่กับพระมหากษัตริย์ รวมทั้งการได้รับเงินรายได้ของแผ่นดินในสัดส่วนค่อนข้างสูง
การลงทุนของกรมพระคลังข้างที่จึงขยายตัวอย่างรวดเร็วและนำมาซึ่งความมั่งคั่งของราชสำนัก ในช่วงปี 2430 - 2466 กรมพระคลังข้างที่ได้ใช้เงิน 11.5 ล้านบาท จากเงินลงทุนทั้งหมด 33.6 ล้านบาท ลงทุนในโครงการเอกชนถึง 13 โครงการ โดยเป็นการร่วมทุนกับชาวยุโรปและชาวจีน ในกิจการรถไฟ 13 โครงการ โดยเป็นการร่วมทุนกับชาวยุโรปและชาวจีน ในกิจการรถไฟ รถราง ธนาคาร ปูนซีเมนต์ การค้าสินค้านำเข้า การทำเหมืองแร่ และธุรกิจ เรือกลไฟ
บทบาทของการลงทุนของกรมพระคลังข้างที่มิเพียงจำกัดอยู่ในกรุงเทพฯ ดังได้กล่าวมาแล้ว แต่ทว่ามีบทบาทสำคัญในการลงทุนในภูมิภาคต่างจังหวัดด้วย โดยเฉพาะกิจการทางด้าน
อสังหาริมทรัพย์ คือ การตึกแถว ตลาด รวมทั้งที่ดินให้เช่าจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พระคลังข้างที่ได้จัดหาผลประโยชน์ดังกล่าวจากท้องที่ต่าง ๆ คือ ภูเก็ต สระบุรี นครศรีธรรมราช ราชบุรีปัตตานี กาญจนบุรี อุบลราชธานี นครปฐม เพชรบุรี พิษณุโลก นครสวรรค์ สงขลา
วิกฤติเศรษฐกิจและอวสานสมบูรณาญาสิทธิราชย์
เมื่อเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจ ที่เริ่มตั้งแต่รัชกาลที่ 6 การใช้จ่ายอย่างเกินตัวโดยเฉพาะของราชสำนักตลอดรัชกาล ภาวะฟ้าฝนแล้งส่งผลต่อวิกฤติการณ์การผลิตและส่งออกในปี 2458 (และก่อนหน้านั้น) วิกฤติการณ์ด้านการเงินและการคลัง (ในปี 2463- 2468) ปัญหาวิกฤติเงินคงคลัง การขาดทุนในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 (2457 – 2461) รวมทั้งการขาดทุนของธนาคารจีนสยาม (ในปี 2454-2455)และการขาดทุนของบริษัทเดินเรือสยาม (Siam Steamship Company) ในปี 2462 – 2467
ปัญหาดังกล่าวส่งผลซึ่งกันและกัน ภาวะวิกฤติการณ์ดังกล่าวข้างต้นส่งผลต่อการขยายตัวของรายได้และการลงทุนของกรมพระคลังข้างที่เป็นอันมากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจที่ถือว่าบั่นทอนอำนาจและความเข้มแข็งของพระคลังข้างที่มาก ที่สุด คือ การล้มละลายของธนาคารจีนสยาม (Chino – Bank) ซึ่งเป็นพันธมิตรของธนาคารสยามกัมมาจล และการขาดทุนของบริษัทพาณิชย์นาวีสยามเกิดจากการยักยอกเงินของ นายฉลอง ไนยนารถหรือ นาย ซ. ยุเสง (ซึ่งเป็นผู้บริหารของธนาคารสยามกัมมาจลและธนาคารจีนสยาม) รวมทั้งปัญหานี้เสียและตั๋วปลอมของธนาคารดังกล่าวได้ส่งผลต่อความเสียหายของธนาคารสยามกัมมาจล โดยคิดเป็นมูลค่าถึง 5,747,000 บาท ในปี 2454/55
เมื่อรัชกาลที่ 6 เสด็จสวรรคตในเดือนพฤศจิกายน 2468 หนี้สินส่วนพระองค์เท่ากับ 5.5 ล้านบาท นอกเหนือจาก 4.6 ล้านบาทจากที่เคยกู้จากพระคลังมหาสมบัติ ความอ่อนแอฐานะทางการเศรษฐกิจและการเงินของพระคลังข้างที่ยังคงดำรงอยู่แม้จะล่วงเข้าสู่รัชสมัยรัชกาลที่ 7 เนื่องจากภาวการณ์เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ได้ส่งผลต่อการขยายตัวของรายได้จากงบประมาณแผ่นดินและการลงทุนของพระคลังข้างที่ ดังจะเห็นว่า รายได้ของพระคลังข้างที่ที่ได้รับจากการจัดสรรจากงบประมาณแผ่นดินประมาณ 7 ล้านบาท ในช่วงปี 2468 – 2473 (ในขณะที่ในปี 2467 กรมพระคลังข้างที่ได้รับการจัดสรรสูงถึง 11 ล้านบาท) และลดลงประมาณ 4 ล้านบาท ในปี 2474 (Batson 1984 : 92) ภายหลังการเปลี่ยนการปกครองในปี 2475 จนถึงปี 2480 กรมพระคลังข้างที่ได้รับการจัดสรรเฉลี่ยเพียงปีละ 440,000 บาทเท่านั้น
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 – 2491
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 รัฐบาลคณะราษฎรได้เข้าไปจัดการทรัพย์สินของกรมพระคลังข้างที่ โดยในเบื้องต้นการแบ่งทรัพย์สินของกรมพระคลังข้างที่ออกเป็น 2 ส่วน คือ ทรัพย์สินส่วนพระองค์ และทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยที่ทรัพย์สินส่วนพระองค์ต้องเสียภาษี ส่วนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้นให้มีการยกเว้นภาษีอากร
คณะรัฐมนตรีได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งโดยมีพระยานิติศาสตร์ไพศาลย์เป็นประธานกรรมการเพื่อพิจารณาเรื่องทรัพย์สินอะไรบ้างที่เป็นของพระมหากษัตริย์รัฐบาลในขณะนั้นพยายามที่จะลดบทบาทและอำนาจของกรมพระคลังข้างที่ โดยที่สำคัญ
คือ ในปี 2476 รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติการจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม โดยมีจุดมุ่งหมายประการสำคัญเพื่อการยุบรวมกรมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถาบันพระมหากษัตริย์หรือราชสำนักเข้าด้วยกันภายใต้ชื่อใหม่ว่า “ศาลาว่าการพระราชวัง” ซึ่งกรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชสำนักมีทั้งสิ้น 10 กรม คือ (1) กรมพระคลังข้างที่ (2) กรมราชเลขานุการในพระองค์(3) กรมปลัด (4) กรมวัง (5) กรมพระราชพิธี (6) กรมโขลน (7) กรมวังนอก (8) กรมมหาดเล็กหลวง (9) กรมราชพาหนะ และ (10) กรมทหารรักษาวัง
อย่างไรก็ตาม ในเดือนธันวาคมปีเดียวกันนั้นได้มีการตั้งกระทรวงวังขึ้นมาใหม่ (หลังจากยุบเลิกไปเดือนมิถุนายน 2475) กรมพระคลังข้างที่จึงได้ย้ายมาสังกัดกระทรวงวัง และในปี 2478 ภายใต้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรม (แก้ไขเพิ่มเติม เดือนสิงหาคม 2478) กระทรวงวังได้ถูกลดสถานภาพลงเป็น “สำนักงานพระคลังข้างที่” ซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดสำนักพระราชวังซึ่งเป็นทบวงการเมือง ภายใต้การดูแลของนายกรัฐมนตรี ดังนั้น ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่เคยถูกจัดการและอยู่ในมือของราชสำนักจึงถูกโอนย้ายถ่ายเทมาสู่การกำกับของนายกรัฐมนตรีในที่สุด
นอกจากจะมีการแบ่งและนิยามที่มาของทรัพย์สินของราชสำ นักหรือสถาบันพระมหากษัตริย์คือ (1) ทรัพย์สินส่วนพระองค์ และ (2) ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์แล้ว อำนาจของราชสำนักยังได้ถูกลดทอนต่อไปอีก ซึ่งรัฐบาลในขณะนั้นได้แยกทรัพย์สินของราชสำนักเพิ่มเติมไปอีก คือเป็น “ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติ”
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น