อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ในการก่อสร้าง (ท่อ PVC) หลังคาใยแก้วแผ่นปูกระเบื้องเซรามิก และแผ่นยิบซั่ม ส่วนอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง อาทิ เช่น อุตสาหกรรมกระดาษ และเยื่อยานยนต์ บริษัทการค้าระหว่างประเทศ ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และปิโตรเคมี ตามลำดับ
การขยายอาณาจักรทางธุรกิจของบริษัทปูนซีเมนต์ไทยถือว่าเป็นแบบฉบับ “ตำนาน” ทางธุรกิจของไทยในการครอบงำธุรกิจอื่น ๆ โดยแท้ หรือที่เรียกว่า การเทคโอเวอร์ โดยเฉพาะกิจการที่ไม่ใช่ Core Business นั่นเอง ด้วยการเป็นธุรกิจของสำนักงานทรัพย์สินฯ ที่ทรงพลังทั้งทางด้านเงินทุนและธุรกิจขนาดใหญ่ รวมทั้งมีทุนขนาดใหญ่จากธนาคารไทยพาณิชย์ และเครือข่ายสัมพันธ์ทางธุรกิจที่แน่นหนา บริษัทปูนซีเมนต์จึงสามารถขยายอาณาจักรของธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องโดยการเทคโอเวอร์ (Takeover) หรือการเข้าซื้อหุ้นบริษัทอื่น ๆ ในสัดส่วนข้างมากโดยควบคุมการบริหารงานด้วย ในระหว่างปี 2519 – 2518 ซึ่งอยู่ในช่วงที่นายสมหมาย ฮุนตระกูล และนายจรัส ชูโต เป็นผู้จัดการใหญ่ ได้มีการเข้าเทคโอเวอร์เป็นจำนวนมาก
การเติบโตอย่างขนานใหญ่ทางธุรกิจจะอยู่ในช่วงกว่าครึ่งทศวรรษของทศวรรษที่ 2530 เป็นสำคัญในกรณีของเครือปูนซีเมนต์ไทยในช่วงปี 2535 - 2539 มียอดขายเฉลี่ยประมาณกว่า
100,000 ล้านบาทต่อปี โดยในปี 2539 มียอดขายสูงถึง 182,725 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าที่สูงกว่าในปี 2535 เท่ากับกว่า 2 เท่า ส่วนผลกำไรในปี 2536 เท่ากับ 18,609 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขเกือบ 2 เท่า
ในปี 2535 (รายงานประจำปีเครือซีเมนต์ไทย 2539) การขยายตัวอย่างรวดเร็วในแง่ของยอดขายและกำไรส่งผลให้สินทรัพย์ของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นสูงถึง 350,831 ล้านบาท ในปี 2540 ในช่วง 2535 -2540 บจม.ปูนซีเมนต์ไทยหรือเครือปูนซีเมนต์มีบริษัทร่วมลงทุนต่าง ๆ มากกว่า 130 บริษัท โดยมีการจ้างงานสูงกว่า 35,000 คน โดยที่ในช่วงเวลาดังกล่าวเครือปูนซีเมนต์ก็มีการกระจายการผลิต
ไปสู่ธุรกิจอื่น ๆ (diversification) อย่างมากมาย
ปัจจัยที่มีผลต่อการขยายตัวของธุรกิจในเครือซีเมนต์นับแต่อดีตถึงปัจจุบันคือ ธุรกิจในเครือซีเมนต์เกือบทุกธุรกิจได้รับความคุ้มครองจากรัฐบาลมาเนิ่นนานทั้งจากนโยบายคุ้มครอง อุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้าและการส่งเสริมการลงทุนด้านอื่น ๆ หากไม่มีมาตรการคุ้มครองการนำเข้า เช่น การยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีเครื่องจักร อุปกรณ์ และวัสดุที่จำเป็นต่อการผลิต
ประสิทธิภาพการผลิต จะเป็นอย่างไร หากใช้ระดับราคาที่เป็นจริงในการคำนวณหามูลค่าเพิ่ม งานศึกษาเกี่ยวกับอัตราการคุ้มครองที่แท้จริงในประเทศ (effective protective rates) ในระยะเวลาต่างๆ กัน หลายชิ้นได้ให้ความคุ้มครองอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้าในอัตราที่สูง (ในขณะที่สินค้าส่งออกหลายประเภทมีอัตราคุ้มครองที่แท้จริงติดลบ)
อัตราการคุ้มครองสูงย่อมส่งผลให้ อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และอุตสาหกรรมที่ได้รับการคุ้มครองไม่สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเท่าที่ควร รวมทั้งไม่กระตือรือร้นที่จะส่งออกเพราะขายในประเทศได้กำไรดีกว่า โดยที่คุณภาพของสินค้าก็ไม่จำเป็นต้องดีนัก การผลิตปูนซีเมนต์จึงเป็นการผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศเป็นสำคัญ การส่งออกของบริษัทปูนซีเมนต์ก็เป็นไปอย่างเชื่องช้า
ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการขยายตัวทางธุรกิจของเครือปูนซีเมนต์ไทยคือ “ด้วยความสัมพันธ์อันแนบแน่นกับสำนักงานทรัพย์สินฯ (ในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ดว้ ย – ผู้เขียน) ทำให้บริษัทได้รับการสนองตอบที่ดีจากข้าราชการระดับสูงและรัฐบาลเสมอมา ในปี 2523 เป็นช่วงที่กลุ่มสถาบันที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางหรือกลุ่มนักวิชาการต่าง ๆ มีบทบาทต่อการจัดการเศรษฐกิจระดับมหภาคของประเทศเป็นอย่างมาก มีการจัดตั้งสภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเครือซีเมนต์ไทยล้วนเข้าไปมีบทบาทสำคัญในกลุ่มสถาบันเหล่านี้”
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่มีผลต่อการขยายตัวของธุรกิจในเครือซีเมนต์คือ ความได้เปรียบจากการเป็นผู้มาก่อน (First Mover Advantage) ในอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง ทักษะทางเทคโนโลยี จุดแข็งด้านการตลาดและการจัดจำหน่าย ความสัมพันธ์กับสถาบันการเงินทั้งภายในและต่างประเทศ การเติบโตของบริษัทปูนซีเมนต์ไทยนอกจากจะมาจากการคุ้มครองของภาครัฐในรูปการคุ้มครองด้านภาษีอากรและโครงสร้างการผลิตที่เป็นผู้ผูกขาดน้อยรายแล้ว และครองสัดส่วนของตลาดรายใหญ่ประมาณร้อยละ 60 – 65 ในทศวรรษ 2520 และลดลงเท่ากับร้อยละ 40 – 50 ใน ทศวรรษ 2530
บริษัทฯ ยังได้ประโยชน์จากการเป็นผู้ได้รับแหล่งเงินกู้จากธนาคารไทยพาณิชย์และแหล่งเงินทุนจากสำนักงานทรัพย์สินฯ และด้วยการเป็นบริษัทที่มีฐานะทางการเงิน ประวัติความน่าเชื่อถือมีสูง จึงสามารถกู้เงินทั้งภายในและต่างประเทศเพื่อขยายกิจการการลงทุนของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง กิจการของบริษัทปูนซีเมนต์จึงเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง และได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วทั้งในแง่สินทรัพย์ ยอดขาย ปริมาณสินค้าที่ขาย การเป็นบริษัทขนาดใหญ่มีทุนขนาดใหญ่จึงสามารถเข้าควบรวมกิจการบริษัทอื่น ๆ ตลอดจนเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ ๆ และมีการกระจายมากขึ้น (diversification) อาทิเช่น อุตสาหกรรมกระดาษ เซรามิค ปิโตรเคมี ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการก่อสร้าง อีเลคโทรนิคส์ และยานยนต์ เป็นต้น
ปัจจัยที่มีผลต่อการขยายตัวขนานใหญ่ของเครือซีเมนต์ไทย คือ การกู้หนี้ยืมสินจากต่างประเทศ เช่นในปี 2539 บริษัทมีหนี้สินทั้งสิ้น 137,517 ล้านบาท โดยเป็นหนี้สินระยะยาวทั้งสิ้น 63,312.8 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นหนี้สินกู้ยืมจากต่างประเทศถึง 61,523.3 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 97.2 ของหนี้สินระยะยาวทั้งหมด (รายงานประจำปี 2539 เครือซีเมนต์ไทย) ซึ่งอาจจะนับได้ว่าเป็นธุรกิจไทยที่มีการกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อขยายกิจการอย่างขนานใหญ่ รวมทั้งแสดงถึงการเป็นธุรกิจที่มีความเชื่อถือในต่างประเทศ ดังจะเห็นได้จากรายงานฉบับหนึ่งแสดงว่า “ธนาคารพาณิชย์กลุ่มหนึ่งในประเทศและสถาบันการเงินหลายแห่งในต่างประเทศได้ค้ำประกันการชำระคืนหนี้สินซึ่งเกิดจากการซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์และกู้เงินจากต่างประเทศจำนวนวงเงินประมาณ6,980 ล้านบาท
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น