วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

พระทรงเหนื่อยยาก แต่ไทยจมปลักลงทุกที4


นายทุนใหม่ พันธมิตรใหม่ของวัง


ความเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจได้ทำให้มีนายทุนใหม่ๆที่มาจากสามัญชน กษัตริย์ในอดีตมักจะทรงสร้างความผูกพันธ์ความจงรักภักดีกับบรรดามหาเศรษฐีโดยใช้การแต่งงานและการลงทุนร่วมกัน แต่รัชกาลที่
9 ทรงขาดแคลนพระโอรสและพระธิดา วังจึงต้องสร้างพันธมิตรกับพวกเศรษฐีใหม่ โดยการส่งตัวแทนเข้าไปร่วมบริหาร เช่น มหาเศรษฐีใหม่สองคนคือ นายเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าพ่อน้ำเมา และนายธนินทร์ เจียรวนนท์แห่งเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือซีพีที่มีทั้งธุรกิจการเกษตร


การค้าปลีกและธุรกิจโทรคมนาคม มหาเศรษฐีทั้งทั้งสองคนจ่ายเงินให้นักการเมือง

นายทหารและข้าราชการ สร้างความร่ำรวยหลายหมื่นล้านบาท ได้เชิญตัวแทนของพระเจ้าอยู่หัวเข้าไปเป็นผู้บริหารเพื่อแสดงว่ามีผลประโยชน์ร่วมกัน คือ พลเอกเปรม และพล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลาเป็นกรรมการของบริษัทในเครือซีพี มีเงินเดือนสูง พลเอกเปรมเป็นประธานกิตติมศักดิ์ของเครือโรงแรมอิมพีเรียลหรือ พลาซ่าเอทินี ของเสี่ยเจริญ มรว.สฤษดิคุณ กิติยากรลูกพี่ลูกน้องของพระราชินีก็ได้เป็นประธานบริหารโรงแรม มรว. อดุลกิติ์ กิติยากรพี่ชายของพระราชินีและเป็นองคมนตรีได้เป็นประธานบริษัทเบียร์ช้างที่ตั้งขึ้นใหม่ เสี่ยเจริญกับภรรยาคือคุณวรรณาได้รับเครื่องราชฯชั้นสูงได้เป็นคุณหญิงในช่วงนั้นเอง


เสี่ยเจริญเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคารมหานคร
First Bangkok City Bank สำนักงานทรัพย์สินได้รับอนุญาตให้ซื้อหุ้นคราวเดียวถึง 15 เปอร์เซ็นต์ในปี 2539

วังได้สร้างสายสัมพันธ์กับธุรกิจขนาดใหญ่ โดยให้พลเอกเปรมซึ่งเป็นตัวแทนพระเจ้าอยู่หัวไปเป็นประธานที่ปรึกษาธนาคารกรุงเทพ เป็นประธานกิตติมศักดิ์ของบริษัทกฤษดามหานครที่ทำหมู่บ้านจัดสรรค์ เป็นประธานสายการบินพีบีแอร์ ที่ก่อตั้งโดยดร. ปิยะ ภิรมย์ภักดี ประธานบริหาร บริษัทบุญรอด บริวเวอรี่เจ้าของเบียร์สิงห์ โดยมีองคมนตรีอื่นๆนั่งเป็นกรรมการตามบริษัทต่างๆ ซึ่งมีรายได้ดี และทำให้มีความอุ่นใจได้ว่าธุรกิจพวกนั้นจะต้องเชื่อฟังวังและสนับสนุนพระราชกรณียกิจของวังอย่างเต็มที่ตลอดไป


สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ระดมเอาบรรดามหาเศรษฐีใหม่เข้าเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ

ด้วยเงินทุนมากมายและที่ดินอีกมหาศาลที่มีอยู่ รวมทั้งให้ธนาคารไทยพาณิชย์ของสำนักงานทรัพย์สินฯเข้ามาร่วมด้วย โครงการต่างๆ เช่น โรงแรมหรูย่านราชประสงค์ เพรสิเด้นท์โกลเด้นแลนด์กรุ๊ป
President-Golden Land group ของครอบครัวศรีวิกรม์ ร่วมกับนายปิ่น จักกะพาก พ่อมดทางการเงินแห่งบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอกธนกิจ Finance One จับมือกับเครือแสนสิริพร็อพเพอร์ตี้กรุ๊ปทำโครงการหมู่บ้านจัดสรรค์ของตระกูลล่ำซำกับจูตระกูล นายอนันต์ อัศวโภคินเจ้าของบริษัทค้าบ้านและที่ดินแลนด์แอนด์เฮ้าส์ลงทุนกับสยามสินธรซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง ธนาคารไทยพาณิชย์ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ และสำนักงานทรัพย์สิน

มีการลงทุนในธุรกิจด้านการศึกษาโดยสถาบันการศึกษาเอกชนร่วมกับโรงเรียน

ที่มีชื่อเสียงของต่างประเทศ เช่น โรงเรียนมัธยมแฮโรว์
Harrow ของอังกฤษ วิทยาลัยดัลวิค Dulwich College ของลอนดอน และ โรงเรียนภาษาจีลอง Geelong Grammar School ที่ดอยตุง โรงเรียนเหล่านี้เป็นทั้งธุรกิจที่จะสร้างผลกำไรและเป็นหลักประกันว่าลูกหลานของพวกเขาเหล่านั้นจะได้รับการอบรมสั่งสอนในกรอบความคิดของวังและมีความยึดมั่นจงรักภักดีต่อพระราชวงศ์จักรี

มีการโหมโฆษณาสถาบันพระมหากษัตริย์ทางสื่อมวลชนอย่างมโหฬารตลอดเวลา

โดยใช้เงินหลายพันล้านบาทยกย่องสรรเสริญสดุดีราชวงศ์จักรี ให้เข้ากับบรรยากาศของสื่อยุคใหม่ โดยใช้ทีมงานที่มีประสบการณ์ที่นำโดยนายปีย์ มาลากุล เจ้าของบริษัทแปซิฟิค คอมมิวนิเคชั่นมีเดียกรุ๊ป
Pacific Communications media groupที่ผลิตนิตยสารดิฉัน ของผู้หญิงชั้นนำ

รวมทั้งสถานีวิทยุข่าวสารจราจร จส
.100 และผลิตรายการให้สถานีโทรทัศน์โดยเฉพาะช่อง 5 ของทหาร ซึ่งมีพล..แป้ง มาลากุล น้องชายของนายปีย์เป็นผู้อำนวยการสถานีช่วงปี 2538-2542 โดยได้รับการสนับสนุนจากทีมงานและมีเงินสนับสนุนมากมายจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและการบินไทยรวมทั้งพวกคลั่งเจ้ารุ่นใหม่ เช่น อาจารย์ธงทอง จันทรางศุ ที่เป็นโฆษกบรรยายงานพระราชพิธีต่างๆ

ทีมงานของวังได้ปรับโฉมงานสดุดีพระมหากษัตริย์ให้โดดเด่นด้วยรูปแบบการนำเสนอที่ทันสมัยขึ้นให้เป็นภาพที่มีสีสันแบบฮอลลีวูดพร้อมดนตรีที่หรูหราทันสมัยกว่าเดิม

ภาพยนตร์สารคดีพระราชกรณียกิจถูกนำออกอากาศเป็นชุดทางโทรทัศน์ ภาพยนต์การทรงดนตรีขององค์คีตะราชันเข้าฉายในโรงภาพยนต์และเกณฑ์ให้เด็กนักเรียนมาดูกันเป็นคันรถบัส ให้พวกศิลปินเรียบเรียงเสียงประสานระดมกันปรับแต่งเพลงพระราชนิพนธ์ให้เป็นงานออเคสตราที่ยิ่งใหญ่อลังการ มีการจัดการแสดงละครหลากหลายรูปแบบเทิดพระเกียรติพระราชวงศ์ อาจารย์ธงทองบรรจงแต่งละครเรื่องแผ่นดินนี้มีกำลัง แสดงโดยกองทัพเรือ เทิดทูนกษัตริย์ยุคต้นรัตนโกสินทร์

การผลิตสื่อเพื่อโฆษณาสถาบันพระมหากษัตริย์นี้ต้องใช้เงินมหาศาล นอกจากใช้งบประมาณของรัฐบาลแล้ว บริษัทใหญ่ๆของพวกเศรษฐีใหม่ที่เพิ่งเข้าไปใกล้ชิดรั้ววังก็เต็มใจที่จะจ่ายให้ คีตะราชันที่รวบรวมศิลปินชั้นนำทั่วประเทศได้ทำเป็นอัลบั้มสองชุดมีการจัดคอนเสิร์ตหารายได้ทูลเกล้าถวายฯโดยได้เงินสนับสนุนจากเสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี

บริษัทสหศินิม่าUnited Cinemaของสำนักงานทรัพย์สินผู้ผลิตภาพยนต์และเป็นเจ้าของโรงภาพยนต์

ได้ซื้อสำนักพิมพ์สยามเพรสและร่วมธุรกิจกับสื่อใหญ่อื่นๆ ซื้อกิจการหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ที่เคยเป็นของมรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ในปี
2537 ในช่วงเดียวกันได้เปิดหนังสือพิมพ์การเงินชื่อ สื่อธุรกิจ กับหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษชื่อบิวสิเนสเดย์ Business Day หม่อมหลวงตรีทศยุทธ เทวกุล(ลูกชายคนโตของมรว.เทพฤทธิ์ เทวกุลผู้เป็นเจ้าของโครงการควายเหล็กและฝนเทียม) ลูกน้องใกล้ชิดของพลเอกเปรมได้ซื้อหนังสือพิมพ์สยามโพสต์ โดยนายปีย์ มาลากุลมารับช่วงต่อ


วังได้ลงทุนอย่างเปิดเผยในกิจการโทรทัศน์โดยชนะการประมูลไอทีวี ได้รับใบอนุญาตในเดือนเมษายน
2538 สมัยรัฐบาลนายชวน

จากกลุ่มที่นำโดยธนาคารไทยพาณิชย์และสำนักงานทรัพย์สิน พร้อมด้วยบริษัทแปซิฟิคคอมมิวนิเคชั่น ของนายปีย์และเครือเนชัน โดยวังได้วางเส้นสายเข้าควบคุมทั้งระบบ รวมทั้งการแต่งตั้งคณะกรรมการ อสมท.ชุดใหม่โดยรัฐบาลนายบรรหารในเดือนพฤษภาคม
2539 ที่ดูแลสถานีโทรทัศน์สองแห่งกับคลื่นวิทยุอีกเป็นจำนวนมาก รวมทั้งสำนักข่าวของรัฐบาล โดยมีประธานคือพล..มงคล อัมพรพิสิษฐ์ ลูกน้องเก่าของพลเอกเปรม และมีกรรมการอีกคนหนึ่งคือ นายธงทอง จันทรางศุ

ผลงานชิ้นเอกของการโฆษณา คือการเฉลิมฉลองที่ยาวนานถึง 24เดือน

ในวโรกาสครองราชย์
50 ปีในปี 2539 เพิ่มความยิ่งใหญ่มโหฬารของกิจกรรมต่างๆ ส่งเสริมพระบารมีให้สูงขึ้นไปอีก ระดมทำกันตั้งแต่งานกิจกรรมจำนวนมากที่ไม่ต้องวางแผนไว้ก่อน ครั้งแรกเมื่อพระราชชนนีเสด็จเข้ารักษาอาการประชวรที่โรงพยาบาลศิริราชในเดือนธันวาคม 2537

พระราชชนนีทรงมีปัญหาที่พระหทัยและพระนาภี(หัวใจและท้องไส้)ไม่มากนัก แต่ในวัย 94 ชันษาก็ถือว่าวางใจไม่ได้ องค์กรทั้งเอกชนและรัฐบาลต่างจัดการสวดมนต์และทำบุญถวายเป็นพระราชกุศล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น