วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สำนักงาน ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์6

จัดให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอยู่ ในลำดับแรก

ของพระมหากษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดนั้น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้ชี้แจงว่า บทความดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง เนื่องจากว่า ทรัพย์สินที่บทความนำมาประเมินนั้น ในความเป็นจริง มิใช่ทรัพย์สินส่วนพระองค์ แต่เป็นของแผ่นดิน ซึ่งเป็นไปในทำนองเดียวกันกับพระมหากษัตริย์ในประเทศอื่น ที่บทความเดียวกันนี้ไม่ได้จัดอันดับฐานะความร่ำรวย เพราะทรัพย์สินต่างๆ ไม่ใช่ของกษัตริย์ หากแต่เป็นของคนทั้งชาติ

สำนักงานทรัพย์สินฯ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า "ที่ดิน" ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ส่วนใหญ่หน่วยงานราชการ องค์กรสาธารณะกุศลเป็นผู้ใช้ประโยชน์ และจัดให้ประชาชน ที่ไม่ได้มีฐานะร่ำรวย รวมทั้งชุมชนอีกกว่าหนึ่งร้อยแห่ง เช่าในอัตราที่ต่ำ มีเพียงส่วนน้อยประมาณ 7% ของที่ดิน ที่จัดให้เอกชนเช่าและจัดเก็บในอัตราเชิงพาณิชย์

ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้ชี้แจงไปยังนิตยสาร Forbes แล้ว

อย่างไรก็ดีแม้กระทรวงต่างประเทศชี้แจงไปในปีที่แล้ว แต่มาในปีนี้ฟอร์บสยังคงจัดอันดับให้ในหลวงเป็นกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดของโลกต่อเนื่องเป็นปีที่2 โดยฟอร์บสอ้างว่า เพราะในหลวงมีพระราชอำนาจในการจัดการในสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

4.พสกนิกรสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จัดสรรเงินภาษีให้สำนักพระราชวังปีหน้า3พันล้านบาท

เวบไซต์ของสำนักงบประมาณ
http://www.bb.go.th/...00/00000038.PDF

เปิดเผยว่า งบประมาณ ของสำนักพระราชวัง ที่ประกาศใน "งบประมาณโดยสังเขป" ประจำปี 53 อยู่ที่ 2,364.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนนี้ 13.3% โดยเมื่อปีที่แล้ว งบนี้อยู่ที่ 2,086.3 ล้านบาท

งบประมาณของสำนักพระราชวัง

ปี 2502--------32,836,049 บาท
ปี 2522-------126,185,900 บาท
ปี 2523-------141,151,100 บาท
ปี 2524-------165,683,100 บาท
ปี 2525-------184,922,000 บาท
ปี 2526-------235,286,000 บาท
ปี 2527-------312,911,700 บาท
ปี 2528-------281,435,000 บาท
ปี 2529-------340,980,000 บาท
ปี 2530-------387,734,790 บาท
ปี 2531-------358,685,300 บาท

ปี 2533-------450,372,100 บาท
ปี 2534-------517,515,900 บาท
ปี 2535-------623,176,400 บาท
ปี 2536-------829,365,200 บาท
ปี 2537-------815,711,600 บาท
ปี 2538-------933,229,700 บาท
ปี 2539-------907,461,000 บาท
ปี 2540-------944,400,000 บาท
ปี 2541-------987,516,500 บาท
ปี 2542-------961,575,400 บาท
ปี 2543------1,028,315,500 บาท
ปี 2544------1,058,540,000 บาท
ปี 2545------1,136,536,600 บาท
ปี 2546------1,209,861,700 บาท
ปี 2547------1,275,948,400 บาท
ปี 2548------1,501,472,900 บาท
ปี 2549------1,676,888,800 บาท
ปี 2550------1,945,122,400 บาท
ปี 2551------2,086,310,000 บาท
ปี 2552-------2,086,310,000 บาท
ปี2553-------2,364.610,000 บาท
ปี2554----ประมาณการณ์เพิ่มขึ้นเป็น3,303 ล้านบาทเศษ*

http://www.sameskybo...showtopic=35415

ทั้งนี้งบประมาณที่พสกนิกรน้อมถวายด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณนี้ก็เพื่อ
: ความสะดวกแด่พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ เช่น

4. งบเงินอุดหนุน 835,519,200 บาท

4.1 เงินอุดหนุนทั่วไป 835,519,200 บาท
1) เงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในพระราชฐานที่ประทับ 308,000,000 บาท

2) เงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในพระราชฐานที่ประทับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ

**สยามมกุฏราชกุมาร 198,000,000 บาท**

3) เงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในพระองค์ 65,625,000 บาท
4) เงินอุดหนุนเพื่อเป็นเงินปีพระบรมวงศานุวงศ์ 57,856,000 บาท
5) เงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าใช้ายในพระราชฐานต่างจังหวัด 110,000,000 บาท
6) เงินอุดหนุนเพื่อเป็นเงินเบี้ยหวัดข้าราชการฝ่ายใน 8,908,200 บาท
7) เงินอุดหนุนเพื่อเป็นเงินพระราชกุศลตามพระราชอัธาศัย 9,900,000 บาท
8) เงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายประสานงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี 19,380,000 บาท

9) เงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 25,350,000 บาท

10) เงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงพระราชฐานและซ่อมเครื่องตกแต่ง 11,000,000 บาท

11) เงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงพระตําหนักจิตรลดารโหฐานพร้อมจัดหาซ่อม ทําเครื่องใช้เครื่องตกแต่ง 16,500,000 บาท

12) เงินอุดหนุนโครงการบูรณาการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต 5,000,000 บาท

5. งบรายจ่ายอื่น 3,500,000 บาท
1) ค่าใช้จ่ายที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ข้าราชการสํานักพระราชวังเดินทางไปต่างประเทศ
2,000,000
บาท

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สำนักงาน ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์5

ประชาชนชาวไทย

ตรงกันข้าม ราชวัง Buckingham และเครื่องเพชรของราชวงศ์ถือว่าเป็นสมบัติของชนชาติอังกฤษ ไม่ใช่ของพระราชินี Elizabeth เพราะฉะนั้นมันไม่ถูกนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินของพระองค์ แต่ทรัพย์สมบัติของพระองค์มาจากอสังหาริมทรัพย์ในอังกฤษและสก๊อตแลนด์ ภาพศิลปะ อัญมนี และแสตมป์สะสมโดยพระอัยกา

3.ในหลวงเป็นกษัตริย์เหนือกษัตริย์ ทรงเป็นพระราชวงศ์ที่มั่งคั่งที่สุดของโลก2ปีซ้อนจัโดยForbes

1.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช, ราชณาจักรไทยพระราชทรัพย์: 30 พันล้านดอลลาร์ (ลดลงจากปีก่อน 5 พันล้านดอลลาร์) พระชนมายุ:81

2.Sultan Haji Hassanal Bolkiah, บรูไนพระราชทรัพย์: 20 พันล้านดอลลาร์ (ไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน)
พระชนมายุ: 62

3.Sheikh Khalifa Bin Zayed Al Nahayan, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์พระราชทรัพย์: 18 พันล้านดอลลาร์ (ลดลง 5 พันล้านดอลลาร์) พระชนมายุ: 61

4.King Abdullah bin Abul Aziz, ซาอุดิอาระเบียพระราชทรัพย์: 17 พันล้านดอลลาร์ (ลดลง 4 พันล้าดอลลาร์) พระชนมายุ: 85

5.Sheikh Mohammed Bin Rashid Al Maktoum, ดูไบพระราชทรัพย์: 12 พันล้านดอลลาร์ (ลดลง6 พันล้านดอลลาร์) พระชนมายุ: 59

6.เจ้าชายฮานส์-อาดัมที่ 2 แห่งลิกเตนสไตน์พระราชทรัพย์: ๑๒๒,๕๐๐ ล้านบาท (ลดลงจากปีที่แล้ว ๕๒,๕๐๐ ล้านบาท) พระชนมายุ: 64 พรรษา

7.King Mohammed VI, โมร็อคโคพระราชทรัพย์: 2.5 พันล้านดอลลาร์ (เพิ่ม1 พันล้านดอลลาร์) พระชนมายุ: 45

8.Sheikh Hamad bin Khalifa Al Thani, การ์ตาร์พระราชทรัพย์: 2 พันล้านดอลลาร์ (ไม่เปลี่ยนแปลง) พระชนมายุ: 57

9.Prince Albert II, โมนาโคพระราชทรัพย์: 1 พันล้านดอลลาร์ (ลดลง400ล้านดอลลาร์) พระชนมายุ: 51

10.Prince Karim Al Husseini, Aga Khanพระราชทรัพย์: 800 ล้านดอลลาร์ (ลดลง 200 ล้านดอลลาร์)
พระชนมายุ: 72

11.Sultan Qaboos bin Said, โอมานพระราชทรัพย์: 700 ล้านดอลลาร์(ลดลง400ล้านดอลลาร์) พระชนมายุ: 68

12.Queen Elizabeth II, สหราชอาณาจักรพระราชทรัพย์: 450 ล้านดอลลาร์ (ลดลง200 ดอลลาร์) พระชนมายุ: 83

13.Sheikh Sabah Al-Ahmad Al-Jaber Al Sabah, คูเวตพระราชทรัพย์: 400 ล้านดอลลาร์ (ลดลง 100 ล้านดอลลาร์) พระชนมายุ: 80

14.Queen Beatrix Wilhelmina Armgard,เนเธอร์แลนด์พระราชทรัพย์: 200 ล้านดอลลาร์ (ลดลง100 ล้านดอลลาร์) พระชนมายุ: 71

15.King Mswati III, สวาซิแลนด์พระราชทรัพย์:100 ล้านดอลลาร์(ลดลง 100 ล้านดอลลาร์) พระชนมายุ: 41


กระทรวงการต่างประเทศชี้แจง กรณีบทความพิเศษของนิตยสาร Forbes เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุด

เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ฟอร์บสได้จัดอันดับให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทยเป็นกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก โดยอ้างว่าก่อนหน้านั้นนับเฉพาะทรัพย์สินส่วนพระองค์มีอยู่ราว 5 พันล้านดอลลาร์ เป็นอันดับที่ 5 ของโลก แต่ฟอร์บส์เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯมีพระราชอำนาจในการจัดการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ด้วย จึงนำทรัพย์สินดังกล่าวมารวมเป็น 35 พันล้านเหรียญฯจึงถือว่าร่ำรวยที่สุดในโลก

อย่างไรก็ตามกระทรวงการต่างประเทศได้ชี้แจงว่า กรณีที่นิตยสาร Forbes ได้เผยแพร่บทความพิเศษเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ประจำปี พ.ศ. 2551 และได้

วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์4

http://www.set.or.th...e=th&country=TH

***ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2537 เป็นบริษัทโฮลดิ้ง ซึ่งสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือหุ้น 100% ดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลและตรวจสอบของคณะกำกับดูแลของสำนักงาน ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานทรัพย์สินฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547 มีทุนจดทะเบียน 11,621.57 ล้านบาท ทุนชำระแล้ว 11,240.95 ล้านบาท สินทรัพย์รวม 24,601.92 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้นจำนวน 14,183.56 ล้านบาท

ทำหน้าที่บริหารการลงทุนในหุ้นอื่น ๆ นอกจาก ปูนซิเมนต์ไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และ เทเวศประกันภัย

2.พสกนิกรน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ สำนักงานทรัพย์สินฯจึงยกเว้นการเสียภาษีเข้ารัฐ http://www.crownprop....th/th/main.php

ข้อมูลจากเวบไซต์ของสำนักงานทรัพย์สินฯระบุว่า

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้รับการยกเว้นภาษีอากร
ทรัพย์สินส่วนพระองค์ จะต้องเสียภาษีอากร

ส่วนว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของแผ่นดินหรือของพระมหากษัตริย์ กฎหมายฉบับปีพ.ศ.2491ระบุไว้ว่า

*มาตรา 6 รายได้จากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่กล่าวในมาตรา 5 วรรคสองนั้นจะจ่ายได้ก็แต่เฉพาะในประเภทรายจ่ายที่ต้องจ่ายตามข้อผูกพัน รายจ่ายที่จ่ายเป็นเงินเดือนบำเหน็จ บำนาญ เงินรางวัล เงินค่าใช้สอย เงินการจร เงินลงทุน และรายจ่ายในการพระราชกุศลเหล่านี้ เฉพาะที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว เท่านั้น

”รายได้ซึ่งได้หักรายจ่ายตามความในวรรคก่อนแล้ว จะจำหน่ายให้สอยได้ก็แต่โดยพระมหากษัตริย์ ตามพระราชอัธยาศัย”

ดังนั้นนิตยสารต่างประเทศคือFORBES และFORTUNE จึงเห็นว่า ในหลวงมีพระราชอำนาจเต็มในการจัดการทรัพย์สินของสำนักงานฯ จึงได้จัดให้พระองค์ท่านเป็นกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก

อย่างไรก็ดีกระทรวงต่างประเทศของไทยเคยชี้แจงว่า เป็นความเข้าใจผิดของนิตยสารต่างประเทศ เพราะสำนักงานทรัพย์สินฯเป็นสมบัติของชาติ

อย่างไรก็ตามหากพิจารณาตามแง่กฎหมายแล้ว ก็มักตีความกันว่า การชี้แจงว่าเป็นทรัพย์สินเป็นของแผ่นดินจึงตกไปตามนัยกฎหมายนี้

ส่วนเรื่องการยกเว้นภาษีให้สำนักงานทรัพย์สินฯนั้น ก็เนื่องจากพสกนิกรชาวไทยต่างน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น

3.FORBES เทิดพระเกียรติในหลวงของเรารวยที่สุดเหนือกษัตริย์ทั่วโลก นับเป็นบุญของพสกนิกรชาวไทยที่ได้เกิดใต้ร่มพระบารมีกษัตริย์เหนือกษัตริย์

http://www.forbes.co...est-royals.html

นิตยสารฟอร์บส์ยังจัดอันดับให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นพระราชวงศ์ที่มั่งคั่งที่สุดของโลก ในบรรดาพระราชวงศ์ที่ทรงมั่งคั่งที่สุดในโลก 15 พระราชวงศ์ประจำปี 2552 อันเป็นการรักษาอันดับที่ 1 ไว้ได้ต่อเนื่องจากปีก่อนนี้

โดยฟอร์บส์ระบุว่าทรงมีพระราชทรัพย์รวม 30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ(ราว1,020,000ล้านบาท)ลดลงจากปีก่อนราว 5 พันล้านเหรียญ(ราว170,000ล้านบาท)ทั้งนี้เนื่องจากการลดลงของมูลค่าสินทรัพย์ประเภทอสังหาริมทรัพย์และราคาหุ้นที่ถือโดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสำนักงานที่พระองค์ท่านมีพระราชอำนาจในการจัดการ

วิกฤตการณ์ทางการเมืองที่เพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศได้มีผลกระทบต่อพระราชทรัพย์ให้ลดลงไปด้วย

ฟอร์บส์รายงานว่า พระเจ้าอยู่หัวของไทยทรงครองสิริราชย์สมบัติยาวนานที่สุดในโลก พระองค์ได้รับการเคารพสักการะเยี่ยงพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ทรงพระราชสมภพในสหรัฐอเมริกา ได้รับการศึกษาในสวิตเซอร์แลนด์ ทรงพระราชอำนาจในราชณาจักรที่แบ่งแยกคนในชาติออกเป็นชนชั้นสูง ชนชั้นกลาง และประชาชนในชนบท

วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกสร้างผลกระทบให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในราชอาณาจักรไทย พระราชวงศ์ไทยมีอำนาจจัดการทรัพย์สินในสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ รวมทั้งการลงทุนภาคเอกชน เช่น เครือซิเมนต์ไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และการเป็นเจ้าของที่ดินมหาศาล รวมทั้งที่ดินกว่า3,500 เอเคอร์ในเขตกรุงเทพฯที่จัดการดูแลโดยสำนักงานทรัพย์สินฯ

อย่างไรก็ตามรัฐบาลไทยย้ำว่าทรัพย์สินดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์สินส่วนพระองค์ แต่ถูกจัดการเพื่อประเทศชาติ

ฟอร์บส์ระบุด้วยว่า ความมั่งคั่งของราชวงศ์มาจากมรดกตกทอดหรือตำแหน่งทางอำนาจ มักจะถูกแบ่งปันกันในเครือญาติ และหลายๆครั้งที่มันหมายถึงเงินที่ถูกควบคุมโดยราชวงศ์ในรูปของกองมรดก (trust) สำหรับประเทศหรืออาณาเขต และด้วยเหตุผลนี้ ราชวงศ์ทั้ง 15 ราชวงศ์ในรายชื่อนี้ขาดคุณสมบัติที่จะถูกจัดอันดับประจำปีของเราในบุคคลที่ร่ำรวยที่สุด ไม่ว่าเขาจะมีสินทรัพย์เท่าไร

ยกตัวอย่างเช่น กษัตริย์ Mswati ที่ 3 ของ Swaziland เป็นผู้รับผลประโยชน์ของ 2 กองทุนที่จัดตั้งขึ้นโดยบิดาของเขาใน trust ของประเทศ Swaziland ในช่วงที่ครองราชย์เขามีอำนาจตัดสินใจเบ็ดเสร็จในการใช้เงินที่เป็นรายได้จาก trust นั้น ซึ่งทำให้เขาสามารถสร้างราชวังให้กับมเหสี 13 พระองค์และพำนักอยู่ในโรงแรมระดับ 5 ดาวเมื่ออยู่ต่างประเทศ

เช่นเดียวกัน เรารวมทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ของไทยในส่วนของทัรพย์สินของกษัตริย์ภูมิพลเพราะพระองค์เป็นผู้มีอำนาจเต็มในกองมรดก (trustee) อย่างไรก็ตามรัฐบาลไทยไม่เห็นด้วยและออกมาประกาศว่าทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สมบัติส่วนพระองค์ของกษัตริย์ แต่สำนักงานทรัพย์สินครอบครองและบริหารทรัพย์สินของสถาบันกษัตริย์ในนามของ

วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์3

จึงน้อมใจถวายพระเกียรติยศให้ทั้ง3โลกรับรู้พระราชบุญญาบารมี และพระมหากรุณาธิคุณให้แผ่ไพศาล ดังต่อไปนี้

1. ต่างชาติเทิดพระเกียรติให้ในหลวงทรงเป็นนักลงทุนที่ร่ำรวยมั่งคั่งเป็นอันดับ1ในตลาดหุ้นไทย

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก สำนักข่าวอันดับ1ในโลกเศรษฐกิจการเงินการลงทุนของโลก เทิดพระเกียรติยกย่องให้ในหลวงของปวงชนชาวไทย เป็นนักลงทุนที่มั่งคั่งที่สุดในตลาดหุ้นไทย
http://www.bloomberg...r=world_indices

โดยทรงถือครองหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้

*1.1 SAMCO เจ้าของหมู่บ้านสัมมากร บ้านระดับเศรษฐีอยู่
1. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 197,414,850 43.87

2. ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม 45,847,050 10.19

3. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 25,000,000 5.56

http://www.set.or.th...e=th&country=TH

*1.2 TIC-ไทยประกันภัย
1. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 3,526,567 18.56
16. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 214,755 1.13

http://www.set.or.th...e=th&country=TH

*1.3 APRINT นิตยสารแพรว ร้านหนังสือนายอินทร์

10. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช 3,157,895 1.58

15. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 1,263,158 0.63

http://www.set.or.th...e=th&country=TH

*1.4 MINT-พิซซ่าฮัท ไอศกรีมสเวนเซ่นส์

12. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 72,470,861 2.24

http://www.set.or.th...e=th&country=TH

*1.5SINGER-จักรเย็บผ้าซิงเกอร์

16. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 1,383,770 0.51

http://www.set.or.th...e=th&country=TH

*1.6 DVS-เทเวศร์ประกันภัย
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 27,600 0.23%
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 11,787,261 98.227%
ผู้ถือหุ้นอื่นๆ 185,139 1.543%
รวม 12,000,000 100.00%

http://www.deves.co....areholder04.asp
เพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์เมื่อเร็วๆนี้

*1.7 SCC-ปูนซิเมนต์ไทย นอกจากขายปูนแล้ว ก็ยังถือหุ้นโตโยต้าประเทศไทย 10% คูโบต้าประเทศไทย 10%

1. สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์* 360,000,000 30.00
6. บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด 23,220,000 1.94
*นิตยสารFORBES และFORTUNEถือกันว่าสำนักงานฯมีในหลวงมีพระราชอำนาจในการจัดการเต็มที่ จึงนับเป็นพระราชทรัพย์ อย่างไรก็ตามกระทรวงต่างประเทศของไทยชี้แจงว่า สำนักงานฯเป็นสมบัติของชาติ

http://www.set.or.th...e=th&country=TH

1.8SCB-ธนาคารไทยพาณิชย์
1. สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 511,107,666 19.65

2. สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 211,834,292 8.14
9. บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด** 81,410,200 3.13
**เป็นบริษัทโฮลดิ้งสำหรับการลงทุนของสำนักงานทรัพย์สินฯ
http://www.set.or.th...e=th&country=TH

1.9CNT คริสเตียนี่&นีลเซ่น บริษัทรับเหมาก่อสร้าง
1. บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด*** 339,353,981 84.59

1.10 TPC ไทยพลาสติกเคมีภัณฑ์

1. บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) 393,789,820 45.00

2. บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด 197,781,250 22.60

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์2

เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการสินทรัพย์ต่าง ๆ สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้มีการจัดตั้งบริษัทในเครือขึ้น 2 บริษัท คือ

• บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด ทำหน้าที่บริหารการลงทุนในหุ้นอื่น ๆ นอกจาก ปูนซิเมนต์ไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และ เทเวศประกันภัย

• บริษัท วังสินทรัพย์ จำกัด ทำหน้าที่ดูแลการลงทุนอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่

ทั้งสองบริษัทเสียภาษีอากรเช่นเดียวกับบริษัททั่วไป
[แก้] หลักทรัพย์ลงทุน
หลักทรัพย์ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ส่วนใหญ่เป็นหุ้นใน 3 บริษัทหลักคือ ปูนซิเมนต์ไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และ เทเวศประกันภัย บริษัทเหล่านี้เสียภาษีอากรเช่นเดียวกับบริษัททั่วไป มีข้อมูลปัจจุบันดังนี้

• SCC : บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 1,200 ล้านบาท ราคาตลาดประมาณหุ้นละ 200 บาท
o สนง.ทรัพย์สินฯ ถือหุ้นประมาณ 30% จำนวนประมาณ 360 ล้านหุ้น มูลค่ารวมประมาณ 72,000 ล้านบาท
o ทุนลดาวัลย์ ถือหุ้นประมาณ 2% จำนวนประมาณ 23 ล้านหุ้น มูลค่ารวมประมาณ 4,600 ล้านบาท
• SCB : ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ทุนจดทะเบียนชำระแล้วประมาณ 15,000 ล้านบาท ราคาตลาดประมาณหุ้นละ 100 บาท
o สนง.ทรัพย์สินฯ ถือหุ้นประมาณ 8% จำนวนประมาณ 150 ล้านหุ้น มูลค่ารวมประมาณ 15,000 ล้านบาท
o ทุนลดาวัลย์ ถือหุ้นประมาณ 4% จำนวนประมาณ 80 ล้านหุ้น มูลค่ารวมประมาณ 8,000 ล้านบาท
• บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด เป็นบริษัทขนาดกลาง ทุนจดทะเบียน 120 ล้านบาท
o สนง.ทรัพย์สินฯ ถือหุ้นประมาณ 87% จำนวนประมาณ 10 ล้านหุ้น มูลค่ารวมประมาณ 87 ล้านบาท

[แก้] ผลการดำเนินงาน
บทความนี้ต้องการแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม เพื่อให้บทความน่าเชื่อถือและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
คุณสามารถช่วยพัฒนาวิกิพีเดีย โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงที่เหมาะสม ไม่ควรปล่อยให้งานเขียนของคุณปราศจากแหล่งอ้างอิง
รายละเอียดเพิ่มเติม การอ้างอิงแหล่งที่มา - การพิสูจน์ยืนยันได้ - วิธีการเขียน - ป้ายนี้มีไว้เพื่ออะไร

ภายหลังจากมีฐานะเป็นนิติบุคคลในปี พ.ศ. 2491 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีการบริหารงานเช่นเดียวองค์กรทั่วไป จนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ในปี พ.ศ. 2540 ซึ่งบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่สำนักงานทรัพย์สินฯ ถือหุ้นอยู่ได้รับความเสียหายอย่างหนัก จึงได้มีการปรับปรุงการบริหารงาน โดยยึดหลัก เศรษฐกิจพอเพียง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 และกิจการต่าง ๆ ที่ลงทุนเริ่มฟื้นตัวได้ในปี พ.ศ. 2546 ซึ่งทำให้สำนักงานทรัพย์สินฯ มีรายได้ในปี พ.ศ. 2546 ประมาณ 3,800 ล้านบาท

จากการแถลงข่าวประจำปี พ.ศ. 2548 ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดย นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้แจ้งว่าในปี พ.ศ. 2547 สำนักงานทรัพย์สินฯ มีรายได้ประมาณ 5 พันล้านบาท โดยประมาณ 90% เป็นรายได้จากเงินปันผลของหุ้นใน บริษัทปูนซิเมนต์ไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และเทเวศประกันภัย ที่เหลืออีกประมาณ 8% หรือประมาณ 400 ล้านบาท เป็นรายได้จากค่าเช่า ที่ได้รับจากประชาชน และหน่วยงานของราชการ ที่เช่าที่ดินของ สำนักงานทรัพย์สินฯ

[แก้] อ้างอิง
• พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479
• พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2484
• พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2491

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
• เว็บไซต์ สำนักงานทรัพย์ส่วนพระมหากษัตริย์
• แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
o ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย หรือ กูเกิลแมป
o แผนที่ จาก มัลติแมป หรือ โกลบอลไกด์

ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์






ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลัพระบาท ปกเกล้าปกกระหม่อม

ด้วยปวงข้าพระพุทธเจ้า รู้สึกน้อมสำนึกในพระมหากรุณาเป็นล้นพ้น จึงใคร่ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตนำเสนอพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ และพระราชบุญญาธิการอันเกริกไกรของพระองค์ท่านผู้เป็นกษัตริย์เหนือกษัตริย์ทั่วสากลโลก น้อมถวายพระเกียรติให้ปรากฎไปทั้งสากลจักรวาล

ด้วยว่าพระราชบุญญาธิการ และพระราชกรณียกิจดังกล่าว หน่วยงานราชการ และภาคเอกชนต่างทราบกันดี เพราะมีบันทึกไว้ทั้งเอกสารราชการและเอกสารชั้นต้นต่างๆ แต่จะหาใครถวายความจงรักภักดีถวายพระเกียรตินั้น หาไม่ได้เลย ปวงข้าพระพุทธเจ้า

วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (Crown Property Bureau หรือย่อว่า CPB) เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามความใน พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479 เดิมมีฐานะเป็นหน่วยงานราชการ สังกัดกระทรวงการคลัง และได้ยกฐานะขึ้นเป็นนิติบุคคลเมื่อปี พ.ศ. 2491 มีหน้าที่ดูแลรักษาและบริหารทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่กำหนดให้แยกต่างหากจากทรัพย์สินส่วนพระองค์ (เช่น วังสระปทุม ที่ทรงได้รับสืบทอดมาจากพระราชบิดา) ซึ่งดูแลโดยสำนักงานจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน (เช่น พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน) ซึ่งอยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวัง

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กล่าวโดยสรุปแล้วก็คือพระราชทรัพย์ของราชวงศ์จักรีที่แยกต่างหากจากทรัพย์สินของราชการ เช่น เงินจากการแต่งสำเภาค้าขายต่างประเทศของรัชกาลที่ 3 หรือที่เรียกว่า "เงินถุงแดง" ซึ่งตกทอดมาถึงรัชกาลที่ 5 และใช้จ่ายค่าปฏิกรรมสงครามแก่ประเทศฝรั่งเศส หลังเหตุการณ์สงคราม ร.ศ. 112 ซึ่งมีส่วนช่วยให้ประเทศสยามรักษาเอกราชไว้ได้ หรือ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย ที่ก่อตั้งโดยรัชกาลที่ 6

ต่อมาภายหลังการปฏิวัติปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 เนื่องจากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นพระราชทรัพย์ของราชวงศ์จักรีที่แยกต่างหากจากทรัพย์สินของราชการ เพื่อความเหมาะสมจึงมีการออกกฎหมายกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบบริหารจัดการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ คือ พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479 และมีการแก้ไขปรับปรุงมาจนถึงปัจจุบัน

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้รับการยกเว้นภาษีอากรเช่นเดียวกับทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479 ในขณะที่ทรัพย์สินส่วนพระองค์ในความดูแลของสำนักงานจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีอากร
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีทรัพย์สินในความดูแลเป็นที่ดินกว่า 54 ตร.กม.ในกรุงเทพมหานคร และ 160 ตร.กม.ในจังหวัดอื่น โดยทำสัญญาให้เช่าแก่หน่วยงานราชการ องค์กรธุรกิจและบุคคลทั่วไปรวมประมาณ 36,000 สัญญา นอกจากนี้ยังมีหลักทรัพย์ลงทุนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยส่วนใหญ่เป็นหุ้นใน 3 บริษัทหลักคือ ปูนซิเมนต์ไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และเทเวศประกันภัย

เนื้อหา
[ซ่อน]
• 1 ที่ตั้ง
• 2 การบริหาร
• 3 บริษัทในเครือ
• 4 หลักทรัพย์ลงทุน
• 5 ผลการดำเนินงาน
• 6 อ้างอิง
• 7 แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้] ที่ตั้ง
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้ย้ายที่ทำการมาแล้วสี่ครั้ง ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2489 มาอยู่ที่ "วังลดาวัลย์" หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "วังแดง" ตั้งอยู่เลขที่ 173 ถนนราชสีมา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร อาคารสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์แห่งนี้ได้รับรางวัล อาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2525 จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

[แก้] การบริหาร
พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479 กำหนดให้มี คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่า 4 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์จะได้ทรงแต่งตั้ง และในจำนวนนี้จะได้ทรงแต่งตั้งให้เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หนึ่งคน

ปัจจุบัน คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ประกอบด้วย

• รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง
• นายเชาวน์ ณ ศีลวันต์ เป็นกรรมการ
• นายสุธี สิงห์เสน่ห์ เป็นกรรมการ
• เรืออากาศโทศุลี มหาสันทนะ เป็นกรรมการ
• นายพนัส สิมะเสถียร เป็นกรรมการ
• นายเสนาะ อูนากูล เป็นกรรมการ
• นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นกรรมการ และ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ผู้บริหารอีกคนหนึ่งที่มีบทบาทในสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์คือ ม.ร.ว. ยงสวาสดิ์ กฤดากร ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็น รองผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
[แก้] บริษัทในเครือ

วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ค่าจงรัก ภักดี 6,000 ล้านบาท8

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ในการก่อสร้าง (ท่อ PVC) หลังคาใยแก้วแผ่นปูกระเบื้องเซรามิก และแผ่นยิบซั่ม ส่วนอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง อาทิ เช่น อุตสาหกรรมกระดาษ และเยื่อยานยนต์ บริษัทการค้าระหว่างประเทศ ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และปิโตรเคมี ตามลำดับ

การขยายอาณาจักรทางธุรกิจของบริษัทปูนซีเมนต์ไทยถือว่าเป็นแบบฉบับ “ตำนาน” ทางธุรกิจของไทยในการครอบงำธุรกิจอื่น ๆ โดยแท้ หรือที่เรียกว่า การเทคโอเวอร์ โดยเฉพาะกิจการที่ไม่ใช่ Core Business นั่นเอง ด้วยการเป็นธุรกิจของสำนักงานทรัพย์สินฯ ที่ทรงพลังทั้งทางด้านเงินทุนและธุรกิจขนาดใหญ่ รวมทั้งมีทุนขนาดใหญ่จากธนาคารไทยพาณิชย์ และเครือข่ายสัมพันธ์ทางธุรกิจที่แน่นหนา บริษัทปูนซีเมนต์จึงสามารถขยายอาณาจักรของธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องโดยการเทคโอเวอร์ (Takeover) หรือการเข้าซื้อหุ้นบริษัทอื่น ๆ ในสัดส่วนข้างมากโดยควบคุมการบริหารงานด้วย ในระหว่างปี 2519 – 2518 ซึ่งอยู่ในช่วงที่นายสมหมาย ฮุนตระกูล และนายจรัส ชูโต เป็นผู้จัดการใหญ่ ได้มีการเข้าเทคโอเวอร์เป็นจำนวนมาก

การเติบโตอย่างขนานใหญ่ทางธุรกิจจะอยู่ในช่วงกว่าครึ่งทศวรรษของทศวรรษที่ 2530 เป็นสำคัญในกรณีของเครือปูนซีเมนต์ไทยในช่วงปี 2535 - 2539 มียอดขายเฉลี่ยประมาณกว่า

100,000 ล้านบาทต่อปี โดยในปี 2539 มียอดขายสูงถึง 182,725 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าที่สูงกว่าในปี 2535 เท่ากับกว่า 2 เท่า ส่วนผลกำไรในปี 2536 เท่ากับ 18,609 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขเกือบ 2 เท่า

ในปี 2535 (รายงานประจำปีเครือซีเมนต์ไทย 2539) การขยายตัวอย่างรวดเร็วในแง่ของยอดขายและกำไรส่งผลให้สินทรัพย์ของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นสูงถึง 350,831 ล้านบาท ในปี 2540 ในช่วง 2535 -2540 บจม.ปูนซีเมนต์ไทยหรือเครือปูนซีเมนต์มีบริษัทร่วมลงทุนต่าง ๆ มากกว่า 130 บริษัท โดยมีการจ้างงานสูงกว่า 35,000 คน โดยที่ในช่วงเวลาดังกล่าวเครือปูนซีเมนต์ก็มีการกระจายการผลิต
ไปสู่ธุรกิจอื่น ๆ (diversification) อย่างมากมาย

ปัจจัยที่มีผลต่อการขยายตัวของธุรกิจในเครือซีเมนต์นับแต่อดีตถึงปัจจุบันคือ ธุรกิจในเครือซีเมนต์เกือบทุกธุรกิจได้รับความคุ้มครองจากรัฐบาลมาเนิ่นนานทั้งจากนโยบายคุ้มครอง อุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้าและการส่งเสริมการลงทุนด้านอื่น ๆ หากไม่มีมาตรการคุ้มครองการนำเข้า เช่น การยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีเครื่องจักร อุปกรณ์ และวัสดุที่จำเป็นต่อการผลิต
ประสิทธิภาพการผลิต จะเป็นอย่างไร หากใช้ระดับราคาที่เป็นจริงในการคำนวณหามูลค่าเพิ่ม งานศึกษาเกี่ยวกับอัตราการคุ้มครองที่แท้จริงในประเทศ (effective protective rates) ในระยะเวลาต่างๆ กัน หลายชิ้นได้ให้ความคุ้มครองอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้าในอัตราที่สูง (ในขณะที่สินค้าส่งออกหลายประเภทมีอัตราคุ้มครองที่แท้จริงติดลบ)

อัตราการคุ้มครองสูงย่อมส่งผลให้ อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และอุตสาหกรรมที่ได้รับการคุ้มครองไม่สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเท่าที่ควร รวมทั้งไม่กระตือรือร้นที่จะส่งออกเพราะขายในประเทศได้กำไรดีกว่า โดยที่คุณภาพของสินค้าก็ไม่จำเป็นต้องดีนัก การผลิตปูนซีเมนต์จึงเป็นการผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศเป็นสำคัญ การส่งออกของบริษัทปูนซีเมนต์ก็เป็นไปอย่างเชื่องช้า

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการขยายตัวทางธุรกิจของเครือปูนซีเมนต์ไทยคือ “ด้วยความสัมพันธ์อันแนบแน่นกับสำนักงานทรัพย์สินฯ (ในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ดว้ ย – ผู้เขียน) ทำให้บริษัทได้รับการสนองตอบที่ดีจากข้าราชการระดับสูงและรัฐบาลเสมอมา ในปี 2523 เป็นช่วงที่กลุ่มสถาบันที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางหรือกลุ่มนักวิชาการต่าง ๆ มีบทบาทต่อการจัดการเศรษฐกิจระดับมหภาคของประเทศเป็นอย่างมาก มีการจัดตั้งสภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเครือซีเมนต์ไทยล้วนเข้าไปมีบทบาทสำคัญในกลุ่มสถาบันเหล่านี้”

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่มีผลต่อการขยายตัวของธุรกิจในเครือซีเมนต์คือ ความได้เปรียบจากการเป็นผู้มาก่อน (First Mover Advantage) ในอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง ทักษะทางเทคโนโลยี จุดแข็งด้านการตลาดและการจัดจำหน่าย ความสัมพันธ์กับสถาบันการเงินทั้งภายในและต่างประเทศ การเติบโตของบริษัทปูนซีเมนต์ไทยนอกจากจะมาจากการคุ้มครองของภาครัฐในรูปการคุ้มครองด้านภาษีอากรและโครงสร้างการผลิตที่เป็นผู้ผูกขาดน้อยรายแล้ว และครองสัดส่วนของตลาดรายใหญ่ประมาณร้อยละ 60 – 65 ในทศวรรษ 2520 และลดลงเท่ากับร้อยละ 40 – 50 ใน ทศวรรษ 2530

บริษัทฯ ยังได้ประโยชน์จากการเป็นผู้ได้รับแหล่งเงินกู้จากธนาคารไทยพาณิชย์และแหล่งเงินทุนจากสำนักงานทรัพย์สินฯ และด้วยการเป็นบริษัทที่มีฐานะทางการเงิน ประวัติความน่าเชื่อถือมีสูง จึงสามารถกู้เงินทั้งภายในและต่างประเทศเพื่อขยายกิจการการลงทุนของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง กิจการของบริษัทปูนซีเมนต์จึงเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง และได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วทั้งในแง่สินทรัพย์ ยอดขาย ปริมาณสินค้าที่ขาย การเป็นบริษัทขนาดใหญ่มีทุนขนาดใหญ่จึงสามารถเข้าควบรวมกิจการบริษัทอื่น ๆ ตลอดจนเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ ๆ และมีการกระจายมากขึ้น (diversification) อาทิเช่น อุตสาหกรรมกระดาษ เซรามิค ปิโตรเคมี ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการก่อสร้าง อีเลคโทรนิคส์ และยานยนต์ เป็นต้น

ปัจจัยที่มีผลต่อการขยายตัวขนานใหญ่ของเครือซีเมนต์ไทย คือ การกู้หนี้ยืมสินจากต่างประเทศ เช่นในปี 2539 บริษัทมีหนี้สินทั้งสิ้น 137,517 ล้านบาท โดยเป็นหนี้สินระยะยาวทั้งสิ้น 63,312.8 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นหนี้สินกู้ยืมจากต่างประเทศถึง 61,523.3 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 97.2 ของหนี้สินระยะยาวทั้งหมด (รายงานประจำปี 2539 เครือซีเมนต์ไทย) ซึ่งอาจจะนับได้ว่าเป็นธุรกิจไทยที่มีการกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อขยายกิจการอย่างขนานใหญ่ รวมทั้งแสดงถึงการเป็นธุรกิจที่มีความเชื่อถือในต่างประเทศ ดังจะเห็นได้จากรายงานฉบับหนึ่งแสดงว่า “ธนาคารพาณิชย์กลุ่มหนึ่งในประเทศและสถาบันการเงินหลายแห่งในต่างประเทศได้ค้ำประกันการชำระคืนหนี้สินซึ่งเกิดจากการซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์และกู้เงินจากต่างประเทศจำนวนวงเงินประมาณ6,980 ล้านบาท

วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ค่าจงรัก ภักดี 6,000 ล้านบาท7

ของสำนักงานทรัพย์สินมาจาก 2 แหล่งใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ

(1) รายได้จากการจัดประโยชน์ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ อันประกอบไปด้วย ตึกแถว อาคาร และที่ดิน ซึ่งมีอยู่ทั้งพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด โดยได้รายได้
หรือผลตอบแทนเป็นค่าเช่าและค่าธรรมเนียมจากการเช่า และ

(2) รายได้จากเงินปันผลรายปีจากการเป็นผู้ถือหุ้น หุ้นสามัญจำนวนหนึ่งของบริษัทต่าง ๆ

(3) รายได้จากดอกเบี้ย จากการบริหารการเงินโดยนำเงินคงคลังซึ่งเป็นเงินหมุนเวียนที่เคยฝากบัญชีกระแสรายวันไปซื้อตั๋วลงทุน(พันธบัตร หุ้นกู้ ตราสารหนี้ระยะปานกลางและระยะยาวของสถาบันการเงิน)

ที่ดินกับการลงทุนทางธุรกิจ

“ในฐานะเป็นเจ้าของที่ดินที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ซึ่งประมาณว่า 1 ใน 3 ของที่ดินในกรุงเทพฯ เป็นของสำนักงานทรัพย์สินในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 สำนักงานทรัพย์สินมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในภาคเศรษฐกิจการก่อสร้าง โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการเช่าซื้อระยะยาว ยกตัวอย่างเช่น ในปลายทศวรรษ 1960 ในพื้นที่ย่านสะพานขาวได้มีการทุบทิ้งและทำลายตึกห้องแถวที่เก่าแก่และผุพัง เพื่อสร้างเป็นศูนย์การค้าเชิงพาณิชย์ และที่พักอาศัยที่หนาแน่นต่อพื้นที่เป็นจำนวนมากด้วยการสร้างตึกสำนักงานสูง 20 ชั้น ห้องแถว 356 คูหา แฟลตจำนวน 1,156หน่วย รวมทั้ง 2 โรงภาพยนตร์....ในย่านเฉลิมโลกซึ่งตรงข้ามกับศูนย์การค้าราชประสงค์ก็มีการสร้างตึกอีกมากมาย และได้กลายเป็นศูนย์การค้าชั้นนำด้วย” (Investor, February 1971 : 124)

ในช่วงทศวรรษ 2490 สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้กระจายการลงทุนไปในกิจกรรมที่หลากหลายทางเศรษฐกิจมากขึ้นที่สำคัญคือ กิจการประกันภัย ได้มีการเข้าไปก่อตั้งบริษัทประกันภัยได้ก่อตั้งบริษัทเทเวศประกันภัย ในปี พ.ศ. 2490 ด้วยการเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และมีทุนจดทะเบียนเท่ากับ 40 ล้านบาท นอกจากการประกันอัคคีภัยทรัพย์ส่วนพระมหากษัตริย์ในระยะแรกๆ แล้ว ในระยะต่อมาบริษัทยังได้ขยายกิจการรับประกันอัคคีภัยทั่วไป รับประกันภัยทางทะเลและขนส่ง ประกันภัยรถยนต์ และรับประกันภัยเบ็ดเตล็ด สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่มาอย่างต่อเนื่องและกิจการเทเวศประกันภัยก็ได้ขยายตัวมาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากธุรกิจประกันภัยเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันน้อยราย สำนักงานทรัพย์สินฯ

ได้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่มาโดยตลอดจนกระทั่งปัจจุบัน นอกจากบริษัทเทเวศประกันภัยแล้ว สำนักงานทรัพย์สินฯ ยังได้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทไทยเศรษฐกิจประกันภัย ซึ่งก่อตั้งในปี 2485 อีกด้วย สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้มีบทบาทสำคัญเป็นผู้ก่อตั้งและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในภาคธุรกิจการผลิตอื่น ๆ ที่สำคัญคือ อุตสาหกรรมการผลิตและการค้า ได้แก่ บริษัทศรีมหาราชา (ก่อตั้งในปี 2490) ซึ่งเป็นธุรกิจควบคุมการผลิตและค้าไม้รายใหญ่ของไทย บริษัทอุตสาหกรรมทำเครื่องแก้ว (2456) ซึ่งเป็นบริษัททำธุรกิจเกี่ยวกับโรงงานผลิตแก้ว บริษัทหินอ่อน (2499)

ดำเนินธุรกิจเป็นผู้ขายหินอ่อน เป็นต้นแม้ว่าสำนักงานทรัพย์สินฯ จะได้เข้าไปเพิ่มทุนและขยายกิจการการลงทุนของธุรกิจดั้งเดิมอาทิเช่น ปูนซีเมนต์ไทย และไทยพาณิชย์ และได้ก่อตั้งรวมทั้งเข้าไปลงทุนถือหุ้นในกิจการต่าง ๆดังได้กล่าวมาแล้ว แต่ทว่าการขยายตัวในกิจการดังกล่าวยังอยู่ในขอบเขตที่จำกัด เพราะว่าเศรษฐกิจไทยก่อนทศวรรษ 2500 ยังคงเป็นลักษณะเศรษฐกิจที่พึ่งพาภาคการเกษตร ทั้งการผลิตและการส่งออกและตลาดคับแคบ

นับแต่ปี 2503 การลงทุนของธุรกิจของสำนักงานฯ ได้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องทั้งในแง่การลงทุนโดยตรงและโดยอ้อม ทั้งในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่มีอำนาจควบคุมการบริหารและจัดการ และผู้ถือหุ้นรายย่อยในฐานะเป็นผู้ลงทุนรายย่อยและบริษัทในเครือหรืออื่น ๆ มูลค่าของการลงทุนได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งส่งผลให้รายได้จากการประกอบการเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวในระดับสูงโดยเฉพาะช่วงปี 2503 – 2540 สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้กระจายการลงทุนไปอย่างกว้างขวางตามสาขาเศรษฐกิจต่าง ๆ ในปี 2540 ประมาณว่าสำนักงานทรัพย์สินฯ

ได้เข้าไปถือหุ้นโดยตรงของบริษัทต่าง ๆ มากกว่า 70 บริษัท ซึ่งครอบคลุมในกิจการต่าง ๆ ที่สำคัญคือปูนซีเมนต์ ธนาคารพาณิชย์ โรงแรม พลังงาน เหมืองแร่ อสังหาริมทรัพย์ ประกันภัย/ประกันชีวิต ชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นต้น นอกจากการลงทุนโดยตรงในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัทต่าง ๆ แล้วสำนักงานทรัพย์สินฯ ยังได้ลงทุนโดยอ้อมในรูปของบริษัทในเครือบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมทุน
ด้วย ในปี พ.ศ. 2539/40 สำนักงานทรัพย์สินฯ มีการลงทุนในบริษัทต่าง ๆ ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมทั้งสิ้นเกือบ 300 บริษัท และในจำนวนนี้ 43 บริษัท ได้เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ในช่วงก่อนปี 2540 ในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวอยู่ในระดับสูง ทศวรรษ 2530 รายได้และผลกำไรจากบริษัทปูนซีเมนต์อยู่ในระดับที่สูงมาก ในปี 2538 รายได้ของบริษัทปูนซีเมนต์และบริษัทในเครือสูงขึ้นถึง 114,144 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายได้ที่แตะหลักแสนล้านบาทเป็นครั้งแรก นับแต่ต้นทศวรรษ 2520 (โดยที่บริษัทปูนซีเมนต์และบริษัทในเครือใช้เงินลงทุนปีหนึ่ง ๆ ราว 20,000 ล้านบาท และทะลุขึ้นไป 30,000 ล้านบาท ในบางปี โดยเงินทุนที่ใช้ส่วนใหญ่ถูกนำเข้าจากต่างประเทศ และประมาณว่าในระหว่างปี พ.ศ. 2538 – 2539 เครือซีเมนต์มีหนี้ต่างประเทศประมาณร้อยละ 80 ของยอดหนี้รวม) ส่งผลให้กำไรจากการประกอบการอยู่ในระดับสูงมากประมาณ 5,000 – 6,000 ล้านต่อปี ในช่วงปี พ.ศ. 2533 – 2539 ระดับกำไรอยู่ในระดับสูงส่งผลให้รายได้จากเงินปันผลของบริษัทปูนซีเมนต์อยู่ในระดับสูงประมาณ 600 – 700 ล้านต่อปี ช่วง พ.ศ. 2533 – 2539

กรณีศึกษาปูนซิเมนต์ไทยกับการคอร์รัปชั่นในเชิงนโยบาย

สถานการณ์การเมืองในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ในทศวรรษ 2500 มีส่วนสนับสนุนการเจริญเติบโตของบริษัทปูนซีเมนต์ไทยอย่างไม่หยุดยั้ง ในช่วงสงครามเวียตนาม (2503 – 2518)นอกจากจะมีการขยายตัวในการก่อสร้างอย่างขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯ ดังที่กล่าวมาแล้ว ยังมีการสร้างถนนทางหลวงเชื่อมกรุงเทพฯ กับภูมิภาคอื่น ๆ อย่างขนานใหญ่ และเงินก่อสร้างเกือบทั้งหมดมาจากเงินกู้และความช่วยเหลือจากต่างประเทศโดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกาเป็นสำคัญ ถนนทางหลวงแผ่นดินที่ลาดยางแล้วเพิ่มขึ้นจาก 8,466 กิโลเมตร ในปี 2503 เพิ่มเป็น 12,658 กิโลเมตร ในปี 2513

และการขยายตัวอย่างขนานใหญ่ของทางหลวงแผ่นดินรวมทั้งการก่อสร้าง เช่น ท่าเรือและการลงทุนพื้นฐานทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ในช่วงการเร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในแผนพัฒนาที่ 1 และที่ 2 ได้มีผลต่อ “การสะสมทุน” และการขยายการผลิตของการผลิตปูนซีเมนต์อย่างขนานใหญ่ สินทรัพย์ของบริษัทเพิ่มขึ้นจาก 444 ล้านบาท ในปี 2503 และเพิ่มเป็น 3,018 ล้านบาท ในปี 2513 และ 5,813 ล้านบาท ในปี 2518 โดยยอดขายเพิ่มจาก 1,421 ล้านบาท ใน ปี 2513 เป็น 4,620 ล้านบาท ในปี 2518

ภายหลังปี 2513 เป็นต้นมา บริษัทฯ ได้ขยายการผลิตไปยังธุรกิจหลายประเภท(Diversification) ทั้งในส่วนของผลิตภัณฑ์ก่อสร้างที่ไม่ใช้ปูนซีเมนต์เป็นวัตถุดิบในการผลิต เช่น

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ค่าจงรัก ภักดี 6,000 ล้านบาท6

นอกจากนั้นผู้อำนวยการสำนักงานฯ ยังมีหน้าที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ซึ่งคณะกรรมการของสำนักงานฯ ก็ได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์เช่นเดียวกัน ในขณะที่ พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ฉบับ พ.ศ. 2479

ในสมัยคณะราษฎรเรืองอำนาจนั้นได้ใช้คำว่า “พระบรมราชานุมัติ” คณะกรรมการที่ปรึกษาจัดระเบียบทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เท่านั้น (พ.ร.บ. ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ 2479)การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกประการหนึ่งของพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2491 ซึ่งมีผลต่อการเพิ่มอำนาจทางเศรษฐกิจของสถาบันพระมหากษัตริย์ คือการโอนทรัพย์สินต่าง ๆ จากกระทรวงการคลังมาอยู่ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การโอนเปลี่ยนชื่อโฉนดที่ดินจากสำนักงานพระคลังข้างที่มาเป็นสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ในมาตราที่ 3 ของพ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2491 ได้มีการแก้ไขและเปลี่ยนคำจำกัดความของ “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” โดยให้มีความหมายและขอบเขตกว้างขวางขึ้น เมื่อเทียบกับในพ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2491 ดังจะเป็นว่า “ทรัพย์สินส่วนพระองค์”นั้นหมายรวมถึง “ทรัพย์สินที่รัฐบาลทูลเกล้าถวาย” ด้วย นอกจากนั้นทรัพย์สินที่ได้มานอกจากที่ได้มาในฐานะที่เป็นพระมหากษัตริย์ก็มีการเปลี่ยนแปลงให้เป็น “ทรัพย์สินนั้นเป็นส่วนของพระองค์” ซึ่งทรงได้มาไม่ว่าในทางใดและเวลาใด

นอกจากนั้นตามมาตราที่ 6 และที่ 7 ของพระราชบัญญัติฉบับนี้ยังกล่าวว่าการดูแลผลประโยชน์ของ “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” ให้เป็นไปตามเห็นชอบโดยอิสระของพระมหากษัตริย์ (พ.ร.บ. ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ 2491) และเพื่อให้มีการบริหารจัดการทรัพย์สินส่วนนี้ยังได้มีการจัดตั้ง “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์”ขึ้นมาเพื่อควบคุมทรัพย์สินส่วนนี้อีกด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานนี้แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ผู้อำนวยการคนปัจจุบัน คือ พลตรี หม่อมหลวงอัสนี ปราโมช

การเพิ่มขึ้นของอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์มิเพียงแต่กระทำโดยผ่านการแต่งตั้งผู้อำนวยการและคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เพื่อให้ปฏิบัติภารกิจในอันที่จะสนองนโยบายการลงทุนและเพิ่มรายได้ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในฐานะนิติบุคคลแล้ว ในทางกฎหมายพระมหากษัตริย์สามารถจะใช้พระราชอำนาจในการใช้รายได้หรือทรัพยากรอื่น ๆ ของสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ตามพระราชอัธยาศัย เพราะจากการแก้ไข พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479 นั้น ในมาตราที่ 6 ของ พ.ร.บ. ฉบับแก้ไข พ.ศ.2491 (ฉบับที่ 3) ระบุว่า “รายได้จากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่กล่าวในมาตรา 5

วรรค 2 นั้นจะจ่ายได้ก็แต่เฉพาะในประเภทที่ต้องจ่ายตามข้อผูกพัน รายจ่ายที่จ่ายเป็นเงินเดือน บำเหน็จ บำนาญเงินรางวัล เงินค่าใช้สอย เงินการจร เงินลงทุน และรายการในพระราชกุศล เหล่านี้เฉพาะที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้วเท่านั้น รายได้ซึ่งได้หักรายจ่ายตามความในวรรคก่อนแล้ว จะจำหน่ายใช้สอยได้ก็แต่เฉพาะพระมหากษัตริย์ตามพระราชอัธยาศัย ไม่ว่ากรณีใด ๆ หรือโดยคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เฉพาะในกรณีเกี่ยวกับพระราชกุศลอันเป็นการสาธารณะหรือในทางศาสนาหรือราชประเพณีบรรดาที่เป็นพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์เท่านั้นการเปลี่ยนแปลง

พ.ร.บ. ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นมิเพียงแต่ได้ส่งผลต่อการคล่องตัวและการบริหารจัดการสินทรัพย์และการลงทุนของสำนักงานทรัพย์สินฯ ที่เพิ่มขึ้นเป็นอันมาก แต่ทว่ายังเป็นการได้มีการถ่ายเทการบริหารจัดการทรัพยากร ซึ่งในอดีตทรัพย์สินเกือบทั้งหมดของสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ในความดูแลของกรมพระคลังข้างที่ (ทั้งทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และส่วนพระองค์) ไปสู่การบริหารจัดการของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์ ตามลำดับ ซึ่งมีฐานะเป็นอิสระและคล่องตัวมากกว่าการดูแลรักษา และจัดผลประโยชน์ของกรมพระคลังข้างที่ (และต่อมาคือ สำนักงานพระคลังข้างที่) ซึ่งมีฐานะเป็นหน่วยราชการและมีข้อจำกัดในการดูแลรักษาและจัดการผลประโยชน์ของทรัพย์สินที่เป็นของสถาบันพระมหากษัตริย์และส่วนพระองค์ อันเทียบเท่ากับทรัพย์สินของเอกชนนั่นเอง

กล่าวโดยสรุปนับแต่ปี พ.ศ. 2491 เป็นต้นมาจึงถือว่าเป็นการเติบโตอย่างแท้จริงของการเพิ่มขึ้นของอำนาจทางเศรษฐกิจของพระมหากษัตริย์เพราะมีการปรับปรุงกฎหมายเพื่อสร้างอำนาจและผลประโยชน์ให้แก่สถาบันพระมหากษัตริย์ โดยผ่านการบริหารสำนักงานทรัพย์สินฯ (และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์)โดยผ่านการใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ รวมทั้งการโอนทรัพย์สินของสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในความดูแลของรัฐบาลและหน่วยงานราชการ (โดยเฉพาะในช่วงที่พระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ได้ลดลงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ถึงปีพ.ศ. 2490) สำนักงานทรัพย์สินฯ (และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์)

จึงสามารถใช้ประโยชน์เปลี่ยนสภาพเป็นสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในฐานะนิติบุคคล ในปี พ.ศ. 2491 ย่อมมีผลต่อการระดมทุนของกษัตริย์ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ จากกลุ่มทุนที่มีขอบเขตการลงทุนจำกัดในเฉพาะข้าราชบริพาร ผู้ประกอบการชาวจีนฯลฯ มาสู่การประกอบการที่เป็นมหาชน และใช้การจัดการบริหารแบบเอกชนและสากลทั่วไปรวมทั้งมีทิศทางการบริหารที่เน้นผลกำไรจากการลงทุนมากขึ้น และในฐานะที่สำนักงานทรัพย์สินฯ มีการสะสมทุนและสะสมความมั่งคั่งนับแต่ทศวรรษ 2430 เป็นต้นมา จึงได้เปรียบกว่ากลุ่มทุนอื่น ๆ ในประเทศไทย ดังนั้นเมื่อเศรษฐกิจไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลงจึงเปิดโอกาสให้ “ทุน” ของพระมหากษัตริย์เจริญเติบโตเพิ่มขึ้นตามลำดับ

การลงทุนทางธุรกิจของสำนักงานทรัพย์สินฯ พ.ศ. 2491 – 2540

ในช่วง พ.ศ. 2491 – 2540 การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากภาคเกษตรกรรมมาสู่อุตสาหกรรมและบริการ การเติบโตของเมืองกรุงเทพฯ การหันเหแนวทางการพัฒนาประเทศตามแนวทางเสรีนิยมของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์(ภายหลังปี 2502) บทบาทของสังคมเวียตนามต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย (ปี 2503 - 2515) การเพิ่มขึ้นของพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ ตลอดจนลักษณะพิเศษของการบริหารจัดการของสำนักงานทรัพย์สินฯ ภายใต้พระราชบัญญัติการจัดระเบียบของสำนักงานทรัพย์สินฯ(พ.ศ. 2491)

เป็นปัจจัยสำคัญต่อ “การสะสมทุน” ของสำนักงานทรัพย์สินฯ และ “ทุน” ของสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้กลายเป็น “ทุน” ที่ทรงอิทธิพลและชั้นแนวหน้าต่อการเศรษฐกิจและสังคมไทย นิตยสารฟอร์บส์ ได้ระบุว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 มีทรัพย์สินมากถึง 2,000 ล้านดอลลาร์ โดยประเมินจากที่ดินในเขตกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด อีกทั้งหลักทรัพย์ในบริษัทต่าง ๆการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมและบริการรวมทั้งการเจริญเติบโตของเมืองกรุงเทพฯ มีผลต่อการขยายตัวของตลาดและโอกาสในการลงทุนของสำนักงานทรัพย์สินฯ เพื่อแสวงหารายได้ โดยที่รายได้

วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ค่าจงรัก ภักดี 6,000 ล้านบาท5

ซึ่งหมายถึง สินทรัพย์ที่ใช้เพื่อผลประโยชน์ส่วนของแผ่นดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวังต่าง ๆ (นิยามของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทรัพย์สินส่วนพระองค์ และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติ

คอร์รัปชั่นของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างคณะรัฐบาลกับราชสำนักได้เพิ่มขึ้นตามลำดับ นอกจากจะพยายามริดรอนอำนาจทางการเมืองและการบริหารประเทศจากพระมหากษัตริย์ รัฐบาลในขณะนั้นได้ตั้งคนเข้าไปควบคุมการเงินและการใช้จ่ายของสำนักงานทรัพย์สินอีกด้วย อาทิเช่น การแต่งตั้งนายชุณห์ บินณทานนท์ นาวาเอก หลวงกาจสงคราม พันตรีเผ่า ศรียานนท์ ไปเป็นผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ ซึ่งในบางกรณีได้นำสำนักงานทรัพย์สินฯ

ไปร่วมลงทุนในกิจการรัฐวิสาหกิจของคณะราษฎร์และเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นฐานทางเศรษฐกิจแก่คณะราษฎรด้วยอำนาจทางเศรษฐกิจของสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ลดลงต่อไปอีกเมื่อรัฐบาลได้ตรวจสอบทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และพบว่าเงินจำนวนถึง 4.19 ล้านบาทในบัญชีของกรมพระคลังข้างที่ได้ถูกสั่งจ่ายไปโดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก่อนที่จะสละราชสมบัติในปี พ.ศ. 2475– 2477

เมื่อการตรวจสอบเสร็จสิ้นลงในปี พ.ศ. 2482 กระทรวงการคลังก็ได้มอบเรื่องราวให้อัยการเป็นโจทย์ยื่นฟ้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าได้ทรงโอนทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ไปเป็นของส่วนพระองค์ โดย “ไม่มีอำนาจที่จะทำได้โดยชอบด้วยกฎหมายและโดยไม่มีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ” คดีนี้ใช้เวลา 2 ปีเศษ และในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2484 ศาลก็ได้ตัดสินให้พระองค์ทรงแพ้คดี พระองค์จะต้องคืนเงิน 4.19 ล้านบาท รวมทั้งดอกเบี้ยซึ่งเป็นเงินทั้งสิ้นเท่ากับ 6.2 ล้านบาท ให้กับรัฐบาล

สรุปสำนักงานทรัพย์สินฯ ในยุคคณะราษฎร

กล่าวโดยสรุป รัฐบาลคณะราษฎรได้ออกพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479 ซึ่งเป็นการแบ่งแยกทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

1. ทรัพย์สินส่วนพระองค์ ซึ่งหมายความว่า “ทรัพย์สินหรือสิทธิอันติดอยู่กับทรัพย์สินซึ่งมีอยู่หรือเกิดขึ้นในส่วนใดๆ แห่งราชอาณาจักร ถ้า
(ก) ทรัพย์สินหรือสิทธิเช่นว่านั้น เป็นของพระมหากษัตริย์อยู่แล้วในเมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ และพระองค์ทรงมีสิทธิที่จะจำหน่ายสิ่งเหล่านั้นได้ก่อนครองราชสมบัติ
(ข) ทรัพย์สินหรือสิทธิเช่นว่านั้น ได้ตกมาเป็นของพระองค์ในเมื่อหรือภายหลังแต่เวลาที่ครองราชสมบัติโดยทางใดๆ จากบรรดาพระราชบุพการีใดๆ หรือจากบุคคลใดๆ ซึ่งไม่ได้เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรนี้
(ค) ทรัพย์สินหรือสิทธิเช่นว่านั้น ได้มาหรือได้ซื้อมาจากเงินส่วนพระองค์”

2. ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งหมายความว่า “ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ ซึ่งใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่าพระราชวัง”

3. ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งหมายความว่า “ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์นอกจากทรัพย์สินส่วนพระองค์และทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังกล่าว”

นัยสำคัญของการแบ่งทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ออกเป็น 3 ส่วนดังกล่าว ก็คือ ได้มีการแบ่งแยกทรัพย์สินที่พระมหากษัตริย์ทรงถือครองในฐานะ “บุคคล” (ทรัพย์สินส่วนพระองค์) และทรัพย์สินที่พระมหากษัตริย์ทรงถือครองในฐานะที่ดำรงตำแหน่ง “ประมุข” ของประเทศ (ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์) “

ขณะเดียวกัน พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479 ได้มีการกำหนดให้ “ทรัพย์สินส่วนพระองค์ ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บรรดาที่เป็นเครื่องอุปโภคบริโภคนั้น ให้อยู่ในความดูแลรักษาของสำนักพระราชวัง” ส่วน “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นอกจากที่กล่าวไว้ในวรรคก่อน (บรรดาที่เป็นเครื่องอุปโภคบริโภค) ให้อยู่ในความดูแลรักษาของกระทรวงการคลัง

นอกจากนี้ ใจความสำคัญของพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479 ...... และการกำหนดให้ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และทรัพย์สินส่วนพระองค์ได้รับการยกเว้นการเก็บภาษีอากร

รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 กับการกลับมาคืนอำนาจทางเศรษฐกิจให้กษัตริย์

ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2490 – เมษายน 2491 เป็นระยะเวลาที่ฝ่ายอนุรักษ์ – กษัตริย์ ซึ่งมีแกนกลางอยู่ที่พรรคประชาธิปัตย์ได้กลับขึ้นมามีอำนาจอีกครั้งได้มีการเสนอแก้ไข

“พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479” และต่อมาได้กลายเป็น
พระราชบัญญัติจัดระเบียบฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2491 ซึ่งได้มีการแก้ไข พ.ร.บ.ฉบับเก่าหลายมาตราซึ่งส่งเสริมและสนับสนุนให้อำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์เข้มแข็งขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขให้สำนักงานทรัพย์สินมีสภาพเป็นนิติบุคคลที่เป็นอิสระจากรัฐบาล

การที่องค์กรเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย จึงมีอำนาจกระทำนิติกรรมต่าง ๆ ด้วยตัวเองได้ และอำนาจในการกระทำนิติกรรมต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กระทำได้โดยผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มอบอำนาจสมบูรณ์ผูกพันสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ นอกจากนี้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ยังสามารถเป็นโจทย์ฟ้องคดีเอง หรือถูกฟ้องในคดีต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่ดิน ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากที่มีทั้งเป็นโจทย์และเป็นจำเลยได้

ในขณะเดียวกันการเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายย่อมมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการและลงทุนในกิจการทางเศรษฐกิจต่างๆ เพื่อนำมาซึ่งการแสวงหารายได้และผลประโยชน์อื่น ๆ อาทิเช่น โดยการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์(ที่ดิน และ/หรืออาคาร) และการลงทุนซื้อหุ้นต่าง ๆ เช่น บริษัทปูนซีเมนต์ไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นต้น

ลักษณะของความเป็นนิติบุคคลและความคล่องตัว ตลอดจนเป็นการคืนอำนาจให้กับกษัตริย์ ดังจะเห็นได้จากในมาตราที่ 4 ที่ให้ “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นนิติบุคคลและเป็นอิสระจากรัฐบาล โดยตั้ง “คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” ทำหน้าที่บริหารกิจการ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการคลังเป็นประธาน โดยตำแหน่ง และกรรมการอีกไม่น้อยกว่า 4 คน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์”

วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ค่าจงรัก ภักดี 6,000 ล้านบาท4

เมื่อการขยายตัวการก่อสร้างในกรุงเทพฯ กำลังขยายตัว เพราะการขยายตัวทางเศรษฐกิจในกรุงเทพฯ กรมพระคลังข้างที่นอกจากจะได้ลงทุนสร้างห้องแถวและตลาดขึ้นในย่านที่มีเศรษฐกิจใหม่และกำลังเจริญแล้วซึ่งมีผลต่อการขยายตัวของความต้องการปูนซีเมนต์สูงขึ้น กรมพระคลังข้างที่ได้ก่อตั้งบริษัทปูนซีเมนต์ไทย ในปี พ.ศ. 2456 โดยลงทุนเป็นจำนวนเงินห้าแสนบาทจากจำนวนเงิน 1 ล้านที่ต้องการใช้ในการก่อตั้ง (ผาสุก 2542 : 178) อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทยซึ่งดำเนินการโดยกรมพระคลังข้างที่เป็น

อุตสาหกรรมที่ผูกขาดรายเดียวมาเนิ่นนานจนกระทั่งทศวรรษ 2490 และมีบทบาทต่อการก่อสร้างและการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยจนถึงปัจจุบันด้วยลักษณะพิเศษที่กรมพระคลังข้างที่ที่เป็นทุนของราชสำนัก รวมทั้งเป็นหน่วยราชการที่เป็นอิสระไม่ได้ขึ้นอยู่กับเสนาบดีโดยตรง หากแต่ขึ้นอยู่กับพระมหากษัตริย์ รวมทั้งการได้รับเงินรายได้ของแผ่นดินในสัดส่วนค่อนข้างสูง

การลงทุนของกรมพระคลังข้างที่จึงขยายตัวอย่างรวดเร็วและนำมาซึ่งความมั่งคั่งของราชสำนัก ในช่วงปี 2430 - 2466 กรมพระคลังข้างที่ได้ใช้เงิน 11.5 ล้านบาท จากเงินลงทุนทั้งหมด 33.6 ล้านบาท ลงทุนในโครงการเอกชนถึง 13 โครงการ โดยเป็นการร่วมทุนกับชาวยุโรปและชาวจีน ในกิจการรถไฟ 13 โครงการ โดยเป็นการร่วมทุนกับชาวยุโรปและชาวจีน ในกิจการรถไฟ รถราง ธนาคาร ปูนซีเมนต์ การค้าสินค้านำเข้า การทำเหมืองแร่ และธุรกิจ เรือกลไฟ

บทบาทของการลงทุนของกรมพระคลังข้างที่มิเพียงจำกัดอยู่ในกรุงเทพฯ ดังได้กล่าวมาแล้ว แต่ทว่ามีบทบาทสำคัญในการลงทุนในภูมิภาคต่างจังหวัดด้วย โดยเฉพาะกิจการทางด้าน
อสังหาริมทรัพย์ คือ การตึกแถว ตลาด รวมทั้งที่ดินให้เช่าจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พระคลังข้างที่ได้จัดหาผลประโยชน์ดังกล่าวจากท้องที่ต่าง ๆ คือ ภูเก็ต สระบุรี นครศรีธรรมราช ราชบุรีปัตตานี กาญจนบุรี อุบลราชธานี นครปฐม เพชรบุรี พิษณุโลก นครสวรรค์ สงขลา

วิกฤติเศรษฐกิจและอวสานสมบูรณาญาสิทธิราชย์

เมื่อเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจ ที่เริ่มตั้งแต่รัชกาลที่ 6 การใช้จ่ายอย่างเกินตัวโดยเฉพาะของราชสำนักตลอดรัชกาล ภาวะฟ้าฝนแล้งส่งผลต่อวิกฤติการณ์การผลิตและส่งออกในปี 2458 (และก่อนหน้านั้น) วิกฤติการณ์ด้านการเงินและการคลัง (ในปี 2463- 2468) ปัญหาวิกฤติเงินคงคลัง การขาดทุนในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 (2457 – 2461) รวมทั้งการขาดทุนของธนาคารจีนสยาม (ในปี 2454-2455)และการขาดทุนของบริษัทเดินเรือสยาม (Siam Steamship Company) ในปี 2462 – 2467

ปัญหาดังกล่าวส่งผลซึ่งกันและกัน ภาวะวิกฤติการณ์ดังกล่าวข้างต้นส่งผลต่อการขยายตัวของรายได้และการลงทุนของกรมพระคลังข้างที่เป็นอันมากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจที่ถือว่าบั่นทอนอำนาจและความเข้มแข็งของพระคลังข้างที่มาก ที่สุด คือ การล้มละลายของธนาคารจีนสยาม (Chino – Bank) ซึ่งเป็นพันธมิตรของธนาคารสยามกัมมาจล และการขาดทุนของบริษัทพาณิชย์นาวีสยามเกิดจากการยักยอกเงินของ นายฉลอง ไนยนารถหรือ นาย ซ. ยุเสง (ซึ่งเป็นผู้บริหารของธนาคารสยามกัมมาจลและธนาคารจีนสยาม) รวมทั้งปัญหานี้เสียและตั๋วปลอมของธนาคารดังกล่าวได้ส่งผลต่อความเสียหายของธนาคารสยามกัมมาจล โดยคิดเป็นมูลค่าถึง 5,747,000 บาท ในปี 2454/55

เมื่อรัชกาลที่ 6 เสด็จสวรรคตในเดือนพฤศจิกายน 2468 หนี้สินส่วนพระองค์เท่ากับ 5.5 ล้านบาท นอกเหนือจาก 4.6 ล้านบาทจากที่เคยกู้จากพระคลังมหาสมบัติ ความอ่อนแอฐานะทางการเศรษฐกิจและการเงินของพระคลังข้างที่ยังคงดำรงอยู่แม้จะล่วงเข้าสู่รัชสมัยรัชกาลที่ 7 เนื่องจากภาวการณ์เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ได้ส่งผลต่อการขยายตัวของรายได้จากงบประมาณแผ่นดินและการลงทุนของพระคลังข้างที่ ดังจะเห็นว่า รายได้ของพระคลังข้างที่ที่ได้รับจากการจัดสรรจากงบประมาณแผ่นดินประมาณ 7 ล้านบาท ในช่วงปี 2468 – 2473 (ในขณะที่ในปี 2467 กรมพระคลังข้างที่ได้รับการจัดสรรสูงถึง 11 ล้านบาท) และลดลงประมาณ 4 ล้านบาท ในปี 2474 (Batson 1984 : 92) ภายหลังการเปลี่ยนการปกครองในปี 2475 จนถึงปี 2480 กรมพระคลังข้างที่ได้รับการจัดสรรเฉลี่ยเพียงปีละ 440,000 บาทเท่านั้น

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 – 2491

หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 รัฐบาลคณะราษฎรได้เข้าไปจัดการทรัพย์สินของกรมพระคลังข้างที่ โดยในเบื้องต้นการแบ่งทรัพย์สินของกรมพระคลังข้างที่ออกเป็น 2 ส่วน คือ ทรัพย์สินส่วนพระองค์ และทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยที่ทรัพย์สินส่วนพระองค์ต้องเสียภาษี ส่วนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้นให้มีการยกเว้นภาษีอากร

คณะรัฐมนตรีได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งโดยมีพระยานิติศาสตร์ไพศาลย์เป็นประธานกรรมการเพื่อพิจารณาเรื่องทรัพย์สินอะไรบ้างที่เป็นของพระมหากษัตริย์รัฐบาลในขณะนั้นพยายามที่จะลดบทบาทและอำนาจของกรมพระคลังข้างที่ โดยที่สำคัญ

คือ ในปี 2476 รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติการจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม โดยมีจุดมุ่งหมายประการสำคัญเพื่อการยุบรวมกรมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถาบันพระมหากษัตริย์หรือราชสำนักเข้าด้วยกันภายใต้ชื่อใหม่ว่า “ศาลาว่าการพระราชวัง” ซึ่งกรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชสำนักมีทั้งสิ้น 10 กรม คือ (1) กรมพระคลังข้างที่ (2) กรมราชเลขานุการในพระองค์(3) กรมปลัด (4) กรมวัง (5) กรมพระราชพิธี (6) กรมโขลน (7) กรมวังนอก (8) กรมมหาดเล็กหลวง (9) กรมราชพาหนะ และ (10) กรมทหารรักษาวัง

อย่างไรก็ตาม ในเดือนธันวาคมปีเดียวกันนั้นได้มีการตั้งกระทรวงวังขึ้นมาใหม่ (หลังจากยุบเลิกไปเดือนมิถุนายน 2475) กรมพระคลังข้างที่จึงได้ย้ายมาสังกัดกระทรวงวัง และในปี 2478 ภายใต้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรม (แก้ไขเพิ่มเติม เดือนสิงหาคม 2478) กระทรวงวังได้ถูกลดสถานภาพลงเป็น “สำนักงานพระคลังข้างที่” ซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดสำนักพระราชวังซึ่งเป็นทบวงการเมือง ภายใต้การดูแลของนายกรัฐมนตรี ดังนั้น ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่เคยถูกจัดการและอยู่ในมือของราชสำนักจึงถูกโอนย้ายถ่ายเทมาสู่การกำกับของนายกรัฐมนตรีในที่สุด

นอกจากจะมีการแบ่งและนิยามที่มาของทรัพย์สินของราชสำ นักหรือสถาบันพระมหากษัตริย์คือ (1) ทรัพย์สินส่วนพระองค์ และ (2) ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์แล้ว อำนาจของราชสำนักยังได้ถูกลดทอนต่อไปอีก ซึ่งรัฐบาลในขณะนั้นได้แยกทรัพย์สินของราชสำนักเพิ่มเติมไปอีก คือเป็น “ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติ”

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ค่าจงรัก ภักดี 6,000 ล้านบาท3

ศาสตราจารย์Suehiro Akira มีความเห็นว่า “กรมพระคลังข้างที่เปรียบเสมือนธนาคารเพื่อการลงทุน (protoinvestment bank) ซึ่งเป็นองค์กรหลักในการดำเนินธุรกิจในนามของพระมหากษัตริย์”

รายได้ของกรมพระคลังข้างที่ที่ได้รับจากงบประมาณแผ่นดินโดยผ่านกระทรวงพระคลังมหาสมบัติเพิ่มขึ้นจาก 1.49 ล้านบาทในปี 2435 และเพิ่มเป็นเท่ากับ 6.1 ล้านบาทในปี 2445 และเพิ่มเป็นเท่ากับ 9.0 ล้านบาทในปี 2465 ในบางปี เช่นในปี 2434-2435 รายได้ของกรมพระคลังข้างที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20 ของภาษีอากรของประเทศที่จัดเก็บได้ทั้งหมด

รายได้ของกรมพระคลังข้างที่ที่ได้รับการจัดสรรจากกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ พ.ศ. 2435-2478
ปี รายได้ (ล้านบาท)
2435 1.49
2445 6.1
2455 8.7
2465 9.0
2475 0.479
2478 0.409

นอกจากรายได้ที่ได้รับการจัดสรรจากงบประมาณแผ่นดินในแต่ละปีแล้ว รายได้ส่วนสำคัญของกรมพระคลังข้างที่มาจาก ค่าเช่าห้องแถว ตลาดสด กำไรและเงินผลตอบแทนจากการลงทุนในกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ รายได้ส่วนนี้น่าจะเป็นส่วนสำคัญของกรมพระคลังข้างที่ นับแต่ปี 2433 เป็นต้นมา เพราะมีการขยายตัวอย่างขนานใหญ่ของการลงทุนใหม่ ๆ ของกรุงเทพฯ ทั้งเป็นการลงทุนโดยตรงของกรมพระคลังข้างที่ เช่น การก่อสร้างตึกแถวและตลาดสด หรือการร่วมลงทุนในกิจการการผลิตการค้าและอุตสาหกรรมของชาวจีน ชาวยุโรป และชาวตะวันตกอื่น ๆ


กรมพระคลังข้างที่กับบทบาท “เจ้าที่ดิน” รายใหญ่ที่สุดของประเทศ

การเติบโตของเศรษฐกิจกรุงเทพฯ ส่งผลให้การเพิ่มขึ้นของราคาที่ดินกรมพระคลังข้างที่ได้เข้าครอบครองที่ดินย่านที่สำคัญในกรุงเทพฯ อย่างขนานใหญ่ในปลายทศวรรษ 2440 พระคลังข้างที่ได้กลายเป็นผู้ถือครองที่ดินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ และที่ดินได้กลายเป็น “ทุน” ทางเศรษฐกิจที่สำคัญเพื่อการลงทุนทางธุรกิจของกรมพระคลังข้างที่และสำหรับเชื้อพระวงศ์ในการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์และกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่น ๆ กรมพระคลังข้างที่สามารถจับจองหรือครอบครองที่ดินได้หลายวิธี อาทิเช่น ครอบครอง ที่ดินสาธารณะอันประกอบไปด้วย ที่ว่างเปล่าหรือที่ที่เป็นของกระทรวงต่าง ๆ หรือที่ที่เป็นที่ตั้งของวังและพระราชวัง

นอกจากนั้นกรมพระคลังข้างที่สามารถรับจำนองจากเอกชน โดยที่กรมพระคลังข้างที่ให้เงินกู้แก่ผู้เอาอสังหาริมทรัพย์มาจำนอง ลูกค้าส่วนใหญ่ ได้แก่ พ่อค้าชาวจีน เจ้าภาษีนายอากร ขุนนาง และเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ถ้าหากว่าลูกค้าส่วนใหญ่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดเวลา ทรัพย์สินย่อมตกอยู่แก่กรมพระคลังข้างที่ นอกจากนี้กรมพระคลังข้างที่ได้ซื้อที่ดินจากราษฎรทั่วไปโดยตรง

ข้อมูลวงใน ผลประโยชน์ทับซ้อนของพระคลังข้างที่ :กรณีการตัดถนน

ด้วยเหตุที่กรมพระคลังข้างที่มีข้อมูลเกี่ยวกับการตัดถนน ราคาที่ดิน และข้อได้เปรียบในเรื่องแหล่งที่ตั้งและทำเลการค้า ส่งผลให้กรมพระคลังข้างที่ได้สะสมซื้อที่ดินในเขตพื้นที่เขตธุรกิจที่เหมาะแก่การลงทุนและค้าขาย ผลที่ตามมาก็คือ กรมพระคลังข้างที่ได้ครอบครองพื้นที่ที่เหมาะแก่การพาณิชยกรรมในกรุงเทพฯ นับแต่ทศวรรษ 2440 เป็นต้นมากรมพระคลังข้างที่ได้สะสมที่ดินเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะกรุงเทพฯ เขตชั้นใน ในปี2445 กรมพระคลังข้างที่ได้ครอบครองพื้นที่ธุรกิจที่สำคัญในกรุงเทพฯ เท่ากับ 4,083 ไร่ โดยกระจายอยู่ที่ย่านธุรกิจในสำเพ็ง 1,831 ไร่) บางรัก (458 ไร่) ดุสิต (4,083 ไร่) และภายในประตูเมือง หรือย่านวัดชนะสงคราม ย่านพระราชวัง ยานสำราญราษฎร์ และย่านพาหุรัด (86 ไร่) อำเภอดุสิต (1,708 ไร่) (กจช. ร.5 กระทรวงเกษตรฯ 6/6153 (2456))

ในขณะที่เอกสาร “ร.5 นครบาล 41.1/221 (2442 – 2444)” ระบุว่า กรมพระคลังข้างที่มีที่ดินรวมกันเท่ากับ 1,850 ไร่ ในช่วง พ.ศ.2442 - 2444 หรือเท่ากับร้อยละ 22.2 ของพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งหมดในช่วงเวลาเดียวกัน โดยที่การกระจายตัวของการถือครองที่ดินในย่านที่สำคัญของกรุงเทพฯ คือ อำเภอดุสิต(กระจุกตัวย่านสามเสน – บางขุนพรม) 1,615.5 ไร่ อำเภอสำเพ็ง (กระจุกตัวย่านสามแยก – ตลาด น้อย) 63.57 ไร่ อำเภอบางรัก (กระจุกตัวยานถนนสี่พระยา) 172.97 ไร่ ตามลำดับ

ที่ดินจึงกลายเป็นแหล่งที่มาของรายได้ที่สำคัญของกรมพระคลังข้างที่ เพราะกรมพระคลังข้างที่ได้สร้างตึกแถวและตลาดสดเป็นจำนวนหลายร้อยห้องเพื่อเก็บค่าเช่า โดยเฉพาะริมถนนสาย
สำคัญตามย่านที่สำคัญทางธุรกิจ เช่น เจริญกรุง จักรวรรดิ เยาวราช ราชวงศ์ หัวลำโพง สี่พระยาสามเสน ซางฮี้นอก ดวงเดือนนอก ดาวข่าง เป็นต้น ตึกแถวนั้นใช้สำหรับเป็นที่อยู่อาศัยหรือใช้
ดำเนินธุรกิจค้าขาย ตลอดจนเป็นที่ตั้งของสำนักงาน บริษัท ห้างร้านต่าง ๆ อัตราค่าเช่าของห้องแถวจะแตกต่างกันตามชนิดของห้องแถว และย่านธุรกิจ

กลุ่มทุน “พระคลังข้างที่” กับการลงทุนด้านเศรษฐกิจ

ในฐานะเป็นกลุ่มทุนของคนไทยกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด กรมพระคลังข้างที่มีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจการเงินและการธนาคาร รวมทั้งกิจการการผลิตทางเศรษฐกิจอื่น ๆ กรมพระคลังข้างที่ได้ก่อตั้งธนาคารสยามกัมมาจลหรือธนาคารไทยพาณิชย์ ในปี พ.ศ.2449ซึ่งถือว่าเป็นธนาคารของคนไทยแห่งแรก โดยกรมพระคลังข้างที่ได้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ธนาคารไทยพาณิชย์มิเพียงแต่มีบทบาทที่สำคัญต่อการเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับกรมพระคลังข้างที่เพื่อใช้ในการลงทุนทางธุรกิจ แต่ทว่ามีบทบาทสำคัญต่อการเป็นแหล่งเงินกู้ และหรือร่วมลงทุนกับธุรกิจอื่น ๆทั้งชาวไทย ชาวจีน และชาวตะวันตกอื่น ๆ ในแง่นี้จึงกล่าวได้ว่า กรมพระคลังข้างที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาธุรกิจและมีผลต่อการเจริญเติบโตของกลุ่มทุนทางเศรษฐกิจ เพราะบทบาทที่สำคัญของธนาคารซึ่งก่อตั้งโดยกรมพระคลังข้างที่คือ นำมาซึ่งเงินทุนเพื่อการประกอบการทางธุรกิจนั่นเอง

ปูนซีเมนต์ไทยกับการผูกขาดทางเศรษฐกิจ

บทบาทของพระคลังข้างที่ยังเป็นผู้บุกเบิกและพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตในภาคอุตสาหกรรมคือ ปูนซีเมนต์

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ค่าจงรักภักดี 6,000 ล้านบาท2


(ราชวงศ์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก)


สะท้อนความจงรักภักดีและเสียสละของปวงชนชาวไทยที่มีต่อราชวงศ์ไทย
ได้เป็นอย่างดี

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ : กำเนิด ความหมาย และอภิสิทธิ์ในทางเศรษฐกิจ

กำเนิด : สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ที่สถาปนาแนวคิด อำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรทั้งหลายนั้น พระมหากษัตริย์นั้นถือว่าเป็นทั้ง เจ้าชีวิต/เจ้าทรัพย์สินดังคำกล่าวที่ว่ารัฐคือข้าพเจ้าต่อมาเมื่อมีการก่อร่างสร้างรัฐสมบูรณาญาสิทธิ์สยามขึ้นมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็มีแนวคิดในการจัดการทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์ขึ้นมาใหม่ขึ้น นั้นจึงเป็นที่มาของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ดังที่เรารับรู้ในปัจจุบัน

พระมหากษัตริย์ได้มีพระราชอำนาจเพิ่มขึ้น (ส่วนหนึ่งขุนนางตระกูลบุนนาคเริ่มมีอำนาจน้อยลง) ในฐานะเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในทางการบริหาร มีการปฏิรูประบบราชการโดยแบ่งส่วนราชการเป็นแบบกระทรวง ทบวง กรม รวมทั้งมีบริหารส่วนภูมิภาค/จังหวัดตามแบบประเทศตะวันตก

จากต้นทศวรรษ
2410 อำนาจของกษัตริย์และส่วนราชการได้เพิ่มขึ้นแทนที่อำนาจของเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ ในภูมิภาคต่างจังหวัด การก่อตั้งหอรัษฎากรในปี พ.ศ.2416ได้ส่งผลให้อำนาจการจัดเก็บภาษีมีความเป็นเอกภาพและรวมศูนย์อยู่ที่เมืองหลวง (ซึ่งก่อนหน้านั้นขึ้นอยู่กับเจ้าภาษีนายอากรและกระจัดกระจายอยู่ตามหน่วยงานต่าง ๆ) และส่งผลกษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์สามารถควบคุมอำนาจทางการคลังได้เพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ในทศวรรษ 2410 รัชกาลที่ 5 ได้พยายามบั่นทอนอำนาจการปกครองของภูมิภาคอื่น ๆ ซึ่งขึ้นตรงต่อเจ้าผู้ครองนคร โดยแต่งตั้งเจ้าเมืองหรือผู้ว่าราชการจังหวัดไปปกครองเมืองเชียงใหม่ ซึ่งส่งผลให้อำนาจการปกครองของกรุงเทพฯ ได้เพิ่มขึ้นและขยายตัวสู่ภูมิภาคอื่น ๆ

ในปีพ.ศ.2430 ได้มีการแต่งตั้งเจ้าเมืองจากกรุงเทพฯ หรือในบางกรณีได้ส่งเจ้าเมืองจากรัฐบาลกลางในกรุงเทพฯ เพื่อปกครองและบริหารเมืองต่าง ๆ คือเชียงใหม่ ภูเก็ต พระตะบอง หนองคาย การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่คือการปฏิรูปการปกครองและระบบราชการในปี พ.ศ.2435 ซึ่งมีการจัดรูปแบบการบริหารประเทศในรูปของเสนาบดี (หรือคณะรัฐมนตรี) ซึ่งมีหน้าที่การบริหารกระทรวงต่าง ๆ และแบ่งหน้าที่โดยชัดเจน ซึ่ง ณ ขณะนั้นมีกระทรวงทั้งสิ้น 12 กระทรวง ด้วยลักษณะการบริหารประเทศดังกล่าว

จึงมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของการรวมศูนย์อำนาจสู่ส่วนกลางนอกจากนี้ในทศวรรษ
2430 ได้มีการปฏิรูประบบการปกครองส่วนท้องถิ่นและการปกครองส่วนภูมิภาคโดยการควบคุมจากกรุงเทพฯ ภายใต้การนำของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย การสร้างทางรถไฟเชื่อมกรุงเทพฯ และภูมิภาคอื่น ๆ จากปี 2433 ก็มีผลต่อการสร้างการเติบโตของกรุงเทพฯ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง

พร้อมกันนั้นกรมพระคลังข้างที่ (The Privy Purse Bureau) ( ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์) ได้ก่อตั้งอย่างเป็นทางการในฐานะเป็นกรมอิสระในสังกัดกระทรวงพระมหาสมบัติ ในปี 2433 โดยกรมพระคลังข้างที่ทำหน้าที่ในการบริหารตลอดจนการลงทุนพระราชทรัพย์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยได้รับงบประมาณเท่ากับ
ร้อยละ 15 ของรายได้แผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 5

จุดมุ่งหมายที่สำคัญของการก่อตั้งกรมพระคลังข้างที่

นอกจากเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่
5 การรวมศูนย์อำนาจสู่ส่วนกลาง การปฏิรูปการคลังโดยการดึงอำนาจควบคุมบริหารงบประมาณแผ่นดินและพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จากกลุ่มบุนนาค แต่ทว่ามีบทบาทสำคัญหรือเป็นหน่วยงานที่สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจการเงินของ
สถาบันพระมหากษัตริย์ (The Principal arm of the monarchy’s financial strength)

บุคคลที่ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพระคลังข้างที่คนแรก คือ พระเจ้าน้องยาเธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงษ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งในช่วงปี 2433 – 2435 หลังจากนั้นก็มีผู้ดำรงตำแหน่งอีกหลายคน แต่ผู้ที่มีบทบาทในแง่การสร้างรายได้โดยผ่านการลงทุนต่าง ๆ ให้แก่กรมพระคลังข้างที่ที่สำคัญที่สุดคือ พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นสมมตอมรพันธ์ซึ่งดำรงตำแหน่งในช่วงปี 2435 – 2454

ก้าวกระโดดและการเติบโตในยุคต้น

ขอบเขตงานของการจัดการลงทุนและจัดหาผลประโยชน์ได้เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย มีผลให้การบริหารงานของกรมพระคลังข้างที่ได้มีข้าราชการเพิ่มขึ้นจากเพียง 3 คน ในปี 2435 และเพิ่มขึ้นเป็นทั้งหมด 26 คน ในปี 2438 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 กรมพระคลังข้างที่ได้ขยายหน่วยงานรับผิดชอบออกไปอีก โดยมี ฝ่ายเวรบัญชาการ กรมการผลประโยชน์ กรมการโยธากรมการบัญชี กรมการคลัง และหุ้นส่วน โดยมีข้าราชการและพนักงานกว่า 200 คน และในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้เพิ่มหน่วยงานในสังกัดกรมการผลประโยชน์ในเขตต่างจังหวัด คือ คือ จังหวัดฉะเชิงเทรา นครปฐม และราชบุรี

การก่อตั้งกรมพระคลังข้างที่ภายใต้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีหลักการที่สำคัญคือ

การพยายามแบ่งแยกฐานะทางการคลังหรือรายได้รวมทั้งผลประโยชน์อื่น ๆ ระหว่างพระมหากษัตริย์กับรัฐโดยเด็ดขาด (แม้ในทางปฏิบัติอาจจะไม่สามารถแบ่งแยกโดยเด็ดขาดก็ตาม)
อำนาจ งบประมาณ และความเป็นอิสระของกรมพระคลังข้างที่ได้เริ่มปรากฏอย่างจริงจัง จากทศวรรษ 2430 พร้อม ๆ กับการขยายตัวของเศรษฐกิจในกรุงเทพฯ ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของกรมพระคลังข้างที่หรือแหล่งที่มาของรายได้หรือพระราชทรัพย์มาจาก 2 แหล่งใหญ่คือ

(1)
รายได้จากการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีจากรัฐบาล และ
(2)
รายได้จากค่าเช่า กำไร และผลประโยชน์จากการลงทุนในกิจการต่าง ๆ ของกรมพระคลังข้างที่ เช่น ที่ดิน ค่าเช่าห้องแถว ตลาดสด โรงสีข้าว ธนาคาร สายการเดินเรือ โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ รถราง เป็นต้น


วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ค่าจงรักภักดี 6,000 ล้านบาท1


ตัวเลขใหม่ปี
2551 อยู่ที่ 6000 กว่าล้าน

หากยกเว้นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบ absolute monarchy แล้ว
ประเทศไทยปัจจุบันครองตำแหน่ง World's most expensive royal family

สะท้อนความจงรักภักดีและเสียสละของปวงชนชาวไทย
ที่มีต่อราชวงศ์ไทยได้เป็นอย่างดี

งบอำนวยความสะดวกราชวงศ์ไทย on Mon Mar 03, 2008 8:06 am

งบประมาณประจำปี 2551 ที่ใช้เพื่อการอำนวยความสะดวก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์

ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนิน และต้อนรับประมุขต่างประเทศ
500,000,000
บาท (ปี 51)

สำนักพระราชวัง 2,086,310,000 บาท (ปี 51)

รวมงบถวายการอารักขา (ปี 51 )

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
ผลผลิต : การถวายความปลอดภัย การถวายพระเกียรติและปฏิบัติตามพระราชประสงค์
1.
งบรายจ่ายอื่น 2,782,400 บาท

กองทัพบก
ผลผลิต : การถวายความปลอดภัย การถวายพระเกียรติและปฏิบัติตามพระราชประสงค์
รายละเอียดงบประมาณจําแนกตามงบรายจ่าย
1.
งบรายจ่ายอื่น 185,000,000 บาท

กรมราชองครักษ์
ผลผลิต : การถวายความปลอดภัย ถวายพระเกียรติและปฏิบัติตามพระราชประสงค์
รวมงบทั้งหมดของกรม 465,842,600 บาท

กรม : สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
ผลผลิต : การถวายความปลอดภัยพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์
รวมงบเฉพาะการถวายความปลอดภัย 349,117,700 บาท

กองบัญชาการทหารสูงสุด
รายละเอียดงบประมาณจําแนกตามงบรายจ่าย
1.
งบรายจ่ายอื่น
1.
งบหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ 120,000,000 บาท
2.
ค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์
120,000,000
บาท

ค่าราชพาหนะและโรงเก็บ (ปี 51)

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

1. งบลงทุน
(1)
เครื่องบินพระราชพาหนะขนาดกลาง และเครื่องบินรับ - ส่งบุคคลสำคัญ
จำนวน 4 เครื่อง รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็น พร้อมโรงเก็บเครื่องบินมาตรฐาน
จำนวน 2 โรง 381,450,000 บาท

(2)
เฮลิคอปเตอร์พระราชพาหนะ จำนวน 3 เครื่อง รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็น
และโรงจอดอากาศยาน 1,220,000,000 บาท

3.
งบรายจ่ายอื่น
1)
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง 601,594,700 บาท

รวมข้างต้น ได้ประมาณ 6032 ล้านบาท (ยังตกหล่นที่แฝงอยู่ในกระทรวงต่างๆ อีก
เช่น ค่าใช้จ่ายการจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ค่ารับรอง เป็นต้น)

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบราชวงศ์อังกฤษ 74 ล้านเหรียญต่อปี
(~2200 ล้านบาท) ก็มากกว่ามาก โดยเฉพาะเมื่ออังกฤษมี GDP สูงกว่า
ไทย ถึง 4 เท่าตัว
---------------------------------------------------------------------------

หมายเหตุ - ข้อมูลทั้งหมดเป็นข้อมูลที่เปิดเผยแก่สาธารณชนได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
งบอำนวยความสะดวกราชวงศ์ไทย

---------------------------------------------------------------------------
หากยกเว้นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบ absolute monarchy แล้ว
ประเทศไทยปัจจุบันครองตำแหน่ง

World's most expensive royal family


วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

พระทรง เหนื่อยยาก แต่ไทยจมปลักลงทุกที8

พระบรมราโชวาท ธันวาคมปี 2538 ตลอดสองชั่วโมงกว่า

ทรงบรรยายพระอัจฉริยภาพในการจัดการเรื่องน้ำ การพัฒนาเศรษฐกิจ ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรชั้นยอด เป็นนักบริหารที่อุทิศพระองค์และมีประสิทธิภาพ เป็นธรรมราชาผู้ปราดเปรื่องสารพัดเรื่อง
หลังจากรับถวายพระราชสดุดีอย่างท่วมท้นพร้อมรับการถวายพระพุทธรูปทองคำจากนายกบรรหาร ทรงเริ่มพระราชทานพระบรมราโชวาทว่าคนควรจะเห็นคุณค่าของน้ำ

ทรงยกโครงการสุริโยทัยที่อยุธยา ทรงร่ายยาวตัวเลขต่างๆ


ปริมาณน้ำ ระดับน้ำ อัตราการไหล ซึ่งฟังดูเหมือนว่าทรงเชี่ยวชาญมาก จากนั้นทรงโยงเข้าเรื่องทฤษฎีใหม่ หรือเกษตรยั่งยืน ระบบจัดการไร่นาสวนผสม พึ่งตนเองขนาดเล็ก
15 ไร่ต่อครอบครัวจะมีผลิตผลที่พอเพียง มีชีวิตเป็นอิสระจากตลาด ทรงสถาปนาทฤษฎีใหม่ให้เป็นนโยบายแห่งชาติโดยบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปี 2538 มีการแจกจ่ายหนังสืออธิบายทฤษฎีใหม่แก่ผู้ฟัง

ทรงมีโครงการพระราชดำริสร้างแหล่งเก็บน้ำย่อยๆ

เรียกว่า แก้มลิง จากที่ได้ทอดพระเนตรลิงเก็บกล้วยไว้ในกระพุ้งแก้มก่อนจะกินเข้าไป ทรงอ้างสถิติตัวเลขเรื่องน้ำปริมาณน้ำในแม่น้ำ อัตราการเกิดฝนและระดับน้ำท่วม ทรงใช้ตัวเลขเหล่านี้เพื่อพิสูจน์ว่าเขื่อนป่าสักมีความจำเป็น และน่าจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนได้ เพราะจะมีน้ำ
800 ล้านลูกบาศก์เมตรเก็บไว้ ทรงบรรยายแผนที่ แผนภูมิและสถิติต่างๆ แสดงให้เห็นว่าทรงรอบรู้ มีรายละเอียดน่าประทับใจ

ทรงเน้นถึงคุณค่าของโครงการแก้มลิง

รับสั่งสารพัดให้ทำอย่างโน้นอย่างนี้ ทรงมีวิธีการเสนอที่ค่อนข้างวกวนและมักจะทรงสอดแทรกอารมณ์ขันนอกเรื่องนอกราวอยู่เรื่อยๆ
มีทั้งวิทยาศาสตร์และไสยศาสตร์ พสกนิกรต้องเชื่อต้องศรัทธาในพระองค์ ข้าราชการก็ต้องรีบเร่งทำโครงการทฤษฎีใหม่ หรือติดป้ายทฤษฎีใหม่ให้กับโครงการที่มีอยู่แล้ว แม้แต่โครงการที่ริเริ่มและสนับสนุนโดยหน่วยงานพัฒนาของต่างประเทศ

พระเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให้จัดพิมพ์หนังสือเล่มที่สามที่ทรงใช้นิทานชาดกเรื่องพระมหาชนก

เปรียบเทียบเชื่อมโยงกับแผ่นดินของพระองค์ โดยทรงปรับปรุงใหม่ในรูปนิทานสำหรับเด็ก วาดภาพประกอบโดยศิลปินชั้นนำของประเทศ เป็นเรื่องของเจ้าชายที่ราชบัลลังก์มิถิลาของพระราชบิดาได้ถูกพระเจ้าอาผู้ชั่วร้ายแย่งชิงไป พระมหาชนกได้ออกเดินทางค้าขายเพื่อระดมทุนสร้างกองทัพทวงราชบัลลังก์คืน เมื่อเรือของพระองค์อับปาง ทรงรอดพระชนม์ด้วยพละกำลังและสติปัญญา หลังลอยคออยู่ในทะเลเจ็ดวันก็ได้รับการช่วยเหลือจากนางมณีเมขลาที่อุ้มพระองค์ไปส่งยังสวนในเมืองมิถิลาขณะที่พระเจ้าอาสิ้นพระชนม์ไปแล้ว พระมหาชนกสมรสกับพระธิดาของพระเจ้าอาเป็นกษัตริย์ปกครองมิถิลานครเป็นเวลาเจ็ดพันปี

จนได้บรรลุการรู้แจ้ง ทรงพบต้นมะม่วงต้นหนึ่งไร้ผลแต่เขียวงาม

อีกต้นออกผลมีรสหวานอร่อย แต่ถูกดึงถูกโค่นโดยคนที่มารุมแย่งชิงผลมะม่วง ทำให้ทรงระลึกว่าการมั่งมีทรัพย์มีแต่จะนำมาซึ่งความทุกข์ และการไม่มีทรัพย์กลับนำมาซึ่งความสุข พระองค์จึงสละราชสมบัติและพระมเหสี ทรงปลงพระเกศาเป็นนักพรต เร้นกายหายลับเข้าป่า ในหลวงได้เน้นถึงความเพียรพยายามของพระมหาชนกขณะทรงลอยคออยู่ในทะเลโดยทรงถือเป็นการปฏิบัติธรรม
แต่ในหลวงทรงดัดแปลงเรื่องพระมหาชนกตอนที่ทรงเห็นต้นมะม่วง แทนที่พระมหาชนกจะออกบวชเป็นนักพรตตามต้นฉบับเดิม แต่พระมหาชนกฉบับในหลวงกลับทรงใช้เทคโนโลยีการเกษตรรักษาต้นมะม่วงเอาไว้และทรงเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนด้วยการให้การศึกษา

นับตั้งแต่อุปราชเสนาอำมาตย์ ถึงคนเลี้ยงช้างเลี้ยงม้า

มีมหาวิทยาลัยถ่ายทอดภูมิปัญญาของพระองค์ ทรงนำชีวิตและความเขียวขจีกลับคืนสู่ประเทศที่รกร้างถูกทำลาย ทำให้คนไทยต้องนึกถึงในหลวงในบทบาทของพระมหาชนก
ที่ทรงปฏิเสธที่จะเกษียณเพื่อแสวงหาความหลุดพ้นเนื่องจากพระองค์ยังไม่บรรลุเป้าหมายหรือจุดสูงสุด คือต้องทรงบรรลุภารกิจทางโลกย์โดยสมบูรณ์ก่อน วังสั่งพิมพ์หนังสือทั้งในภาษาไทยและอังกฤษ และจัดงานเปิดตัวหนังสือสำหรับนักข่าวทั้งไทยและเทศ ครั้งแรกเป็นฉบับนักสะสมปกแข็งเล่มใหญ่ ขายเอาเงินสมทบทุนการกุศลราคา 2,000 และ 200 เหรียญสหรัฐฯหรือเล่มละกว่าห้าหมื่นบาทและกว่าห้าพันบาท

โดยแถมเหรียญทองคำและเหรียญเงินที่ปลุกเสกโดยพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร

แต่พอทำยอดขายไม่ได้ ธนาคารแห่งชาติก็บีบให้ธนาคารของรัฐและเอกชน
15 แห่งขายทำยอดให้ได้ 15 ล้านบาท บางธนาคารต้องจ่ายเงินซื้อแจกลูกค้าชั้นดี ปีถัดมาก็ออกฉบับปกอ่อนสี่สีราคา
250 บาท และถัดไปอีกปีก็เป็นหนังสือการ์ตูนราคาย่อมเยาว์สำหรับเด็กเขียนภาพโดยชัย ราชวัตร (นายสมชัย กตัญญุตานันท์) บริษัทห้างร้านต่างๆ พากันเหมาซื้อไปแจก ได้ทั้งบุญได้ทั้งการลดหย่อนภาษี บางรายมอบให้วัดไปแจกต่อ กลายเป็นการทำบุญถวายเป็นพระราชกุศล

พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลทรงยกเรื่องพระมหาชนกเพื่อสะท้อนถึงพระวิริยะอุตสาหะของพระองค์ที่ได้ทรงปฏิบัติเพื่อพสกนิกรมาโดยตลอด แต่ก็ยังทรงเถลไถลมิได้สำนึกว่าทรงใช้เวลาปกครองประเทศไทยมานานเต็มทีจนได้รับการบันทึกว่านานที่สุดในโลก

ในหลวงทรงโอ้อวดมาตลอดถึงพระอัจฉริยภาพสารพัดขณะที่ประเทศไทยก็ไม่ได้เจริญก้าวหน้าไปถึงไหน แต่ทรงเชื่อว่าพระองค์ยังต้องปกครองประเทศไทยต่อไปเพื่อบรรลุพระราชภารกิจที่สมบูรณ์ ในขณะที่ประเทศชาติมีแต่จะจมปลักลงไปทุกที ไม่ได้ดีเลิศอย่างที่ทรงอวดอ้างแต่อย่างใด....